Category Archives: ธุรกิจร้านอาหาร

คุณรัศมิ์ลภัส กัลยาศิลปิน

คิด แล้วลงมือทำ ต้นทางของกาแฟสำหรับแอ้  อาจจะมาเริ่มต้นเมื่อมีครอบครัว เพราะพื้นฐานฝ่ายชายเป็นชาวอาข่า บนดอยช้าง เชียงราย  ดังนั้นวิถีที่เกี่ยวเนื่องกับกาแฟจึงแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นโนฮาวใหม่ๆ หรือภูมิปัญญาจากปราชญ์กาแฟก็มีมากมาย มีอัตตลักษณ์กาแฟในเรื่อง Full Body และ Fruity ที่อยากส่งต่อจากองค์ความรู้ของครอบครัวมีอยู่แล้ว น่าจะขยายไปพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียง ให้กาแฟไทยมีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ที่ชัดเจนในเวทีโลก กระบวนการมีส่วนร่วม  การสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนปลูกกาแฟเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Me Thai Coffee ขณะนี้กำลังทำงานร่วมกับดร.สุทัศน์ รงรอง โดยจะต้องเก็บข้อมูลในพื้นที่ของเกษตรกรไร่กาแฟ ดิน เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลส่งดร.สุทัศน์ทำคิวอาร์โค้ด   เพื่อจะได้ทราบว่ากาแฟมาจากที่ไหน เกษตรกรเป็นใคร สิ่งที่เราทำเป็นการร่วมมือทำงานกับเกษตรกรให้เขาทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งกาแฟที่ขายขายภายใต้แบรนด์ Me Thai Coffee เป็นความร่วมมือที่นำองค์ความรู้ และ Process ไปช่วยเกษตรกร แทนที่จะไปซื้อสินค้าอย่างเดียว คิดถึงแบรนด์ Me Thai Coffee อัตลักษณ์พิเศษของ Me Thai Coffee จะมีมากกว่าการคั่ว  ซึ่งปกติขั้นตอนนี้ก็ถือว่าเป็นที่สุดของกาแฟ  แต่ […]

คุณผกามาศ อินทับ

“สามีได้กินสลัดฝีมือคุณครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่” ประโยคด้านบนคือสิ่งที่เทรนเนอร์โครงการพอแล้วดี The Creator เอ่ยถามมิ้ม-ผกามาศ อินทับ เจ้าของแบรนด์ผักสลัด SALADD เป็นคำถามเรียบง่ายแต่พุ่งตรงจุดจนแม่บ้านผู้ลุกขึ้นมาสร้างธุรกิจร้านอาหารสุขภาพน้ำตาไหล เพราะมันทำให้เธอระลึกถึงความไม่พอดีที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางการทำสิ่งที่รัก “เรารู้สึกจุกมาที่อกเลยว่า เราลืมคนที่ร่วมทางกันมาไปได้ยังไง ทุกอย่างเริ่มตีกลับให้เรามาย้อนคิดว่า สรุปสิ่งที่ทำอยู่แล้วบอกว่าทำเพื่อครอบครัว ทำเพื่อลูก ที่จริงแล้วทุกคนไม่ได้ต้องการ พวกเขาต้องการเรา ต้องการเวลาจากเรา ซึ่งพอถามแฟนว่าสิ่งที่เราทำมันเกินไปมั้ย เขาก็บอกว่าถ้าอันไหนเป็นความสุขของเรา เขาก็ทำตาม แต่ว่าเราต้องโฟกัสที่ลูกด้วย ไม่อย่างนั้นลูกจะเติบโตไปอย่างไม่ได้รับการเติมเต็ม แล้วคนที่จะเสียใจที่สุดก็คือเรา” และนี่คือเรื่องราวแบรนด์ผักสลัดเล็กๆ ที่ฝ่าฟันสารพัดปัญหาเพื่อก้าวสู่จุดที่ ‘ดีพอ’ และ ‘พอดี’ สำหรับธุรกิจและทุกคนรอบตัว ตั้งใจดี แต่ยังประมาณตัวเองไม่พอดี ต้นกำเนิดของแบรนด์  SALADD มาจากจานผักสลัดที่มิ้มลงมือปรุงให้สามีกิน “พอเริ่มมีครอบครัว เราก็ฝึกทำกับข้าวจนรู้ว่าสามีชอบกินสลัดมาก เลยค้นดูว่ามันจะมีหลากหลายรสชาติให้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้มั้ย แล้วก็ทำจนมั่นใจว่าจะลองทำให้คนอื่นกินดูบ้าง เลยเกิดเป็นธุรกิจ เราตั้งใจอยากทำสลัดจากผักที่ดีสู่ผู้บริโภคเพราะเราทำสลัดให้คนในครอบครัวทาน ถ้าทำเป็นธุรกิจ ก็ต้องทำให้ดีเพราะมองว่าผู้บริโภคก็คือคนในครอบครัว” แต่เพราะมุ่งมั่นทุ่มเททำสิ่งที่รัก นานวันเข้า ธุรกิจเปี่ยมความตั้งใจดีนี้กลับพาให้มิ้มห่างจากความสมดุลในหลายด้านของชีวิต “เราเดินเยอะเพราะเป็นการทำร้านอาหารและอยากทำเองทุกอย่างเพราะคิดว่าตัวเองทำได้ดี เรามีปัญหาที่ข้อเท้า มันทำให้สุขภาพแย่ลง ส่วนเรื่องการพักผ่อน เราก็นอนหลับยาก กรดไหลย้อน มันสะท้อนกลับมาที่ร่างกายเราหมดว่าเธอทำเยอะไปแล้ว ร่างกายจะไม่ไหวแล้ว […]

คุณเอกกมล ธีปฏิกานนท์
คุณนวลวรรณ สุพฤฒิพานิชย์

ชื่อ: เอกกมล ธีปฏิกานนท์ และ นวลวรรณ สุพฤฒิพานิชย์ บริษัท: ร้านกาแฟละเลียด ประเภทธุรกิจ: ร้านกาแฟ จำหน่ายเมล็ดกาแฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการชงกาแฟ จังหวัด: กรุงเทพฯ Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: พวกเราปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตจากพนักงานเงินเดือนมาเริ่มธุรกิจตัวเองด้วยเหตุผลที่ว่าเราอยากมีความสุขและอิสระมากขึ้น ด้วยการเริ่มจากสิ่งที่เราถนัดและมีวัตถุดิบรวมถึงองค์ความรู้เพียงเล็กน้อยเป็นจุดเริ่มต้น เช่น เราชอบดื่มกาแฟ ได้มีโอกาสไปทำฟาร์มและชงกาแฟในคาเฟ่ที่ญี่ปุ่น และมีญาติที่ทำงานร่วมกับชาวเขาที่ปลูกกาแฟ เราเลยเริ่มต้นแบบทีละนิด ไม่เกินตัว ลงทุนเท่าที่เรามีและไม่สร้างหนี้ ลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ในช่วงแรกที่เริ่มเปิดได้คิดถึงแนวคิดเรื่องการนำเทรนด์ขอการทานกาแฟของต่างชาติสมัยใหม่ ที่กำลังนิยมทานกาแฟที่ระดับการคั่วไม่เข้ม เพื่อให้ได้รสชาติที่แท้จริงของกาแฟตามแหล่งปลูก จึงได้ลองใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการคั่วกาแฟให้ได้ตามแนวทางที่คิด และได้เริ่มออกแบบอุปกรณ์ขึ้นเองสำหรับใช้กับการชงกาแฟ   Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: สำหรับชุมชนที่อยู่อาศัยเราอาจไม่ได้ช่วยสนับสนุนและยกระดับแบบที่เห็นภาพชัด แต่เรามองว่าเราเหมือนคนกลางที่ช่วยทำให้คนรู้จักเมล็ดกาแฟไทยมากขึ้น ได้เห็นเรื่องราวการปลูกกาแฟของชาวบ้านทั้งชาวไทยและชาวเขา เป็นการช่วยสนับสนุนกาแฟที่ปลูกในป่าแบบไร้สารเคมีที่ชาวบ้านทำกันมากว่า […]

คุณอุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี

ชื่อ: อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี บริษัท: จันทรโภชนา ประเภทธุรกิจ: ร้านอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น จังหวัด: จันทบุรี Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: -นำคุณค่าของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าให้กับสินค้า โดยการใช้คุณประโยชน์ของวัตถุดิบในท้องถิ่นก่อนใช้วัตถุดิบต่างถิ่น -ขยายธุรกิจโดยมองถึงความสมดุยของศักยาภาพ ประสิทธิภาพและคุณภาพการทำงานมากกว่าปริมาณของเนื้องาน Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: นำวัตถุดิบและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาเดิมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่นการประยุกต์ผลไม้ในท้องถิ่นมารับประทานในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เหมือนเดิม Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการสามารถสร้างแรงดึงดูดให้คนมีความสนใจจังหวัดจันทบุรีมากขึ้น และให้ผู้ประกอบการในจังหวัดมีการตื่นตัวเรื่องอาหารพื้นเมืองมากขึ้น จาก 100 คะแนนเต็ม คุณให้สัดส่วนคะแนนธุรกิจ/แบรนด์ของคุณ เท่าใด? Sufficiency Economy (เศรษฐกิจพอเพียง) Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์) 70 80