ข้าวธรรมชาติ ที่ผ่านวิกฤติด้วยรากฐานความเข้าใจอย่างยั่งยืน สำหรับคนทำธุรกิจ วิกฤติโควิดที่เรากำลังรับมือกันอยู่นับเป็นมหันตภัยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งที่เคยรับมือมา เพราะไม่ใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคม แต่เป็นทุกองค์ประกอบที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเดียวกันหมด การล้มหายตายจากและขาดรายได้ของผู้คนกลายเป็นภาพชินตาที่เห็นได้ตั้งแต่บนหน้าจอ ไปจวบจนบนท้องถนนทุกหัวระแหง แต่สำหรับ “ข้าวธรรมชาติ” แบรนด์ข้าวจากชุมชน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมีที่เกิดจากความตั้งใจที่อยากให้คนไทยได้รู้จักกับข้าวปลอดภัย ปลอดภัยทั้งคนทานและชาวนา ที่มีหัวเรือใหญ่เป็นเจ้าของโรงสีอย่าง เฮียบิ๊ก ชินศรี พูลระออ โควิดในครั้งนี้ไม่ได้สร้างความล่มสลายให้กับชุมชนของที่นี่ “ถ้าธุรกิจจะยั่งยืนได้ สังคมแวดล้อมต้องยั่งยืนไปด้วยกัน ธุรกิจจะพัฒนาได้ สังคมแวดล้อมมันต้องพัฒนาไปด้วยกัน มันถึงจะไปในแนวทางเดียวกันในการพัฒนาที่ยั่งยืน” เฮียบิ๊ก เล่าให้เราฟังถึงแนวคิดต่อการทำแบรนด์ข้าวธรรมชาติ ที่กลายมาเป็นการรับมือกับโควิด 19 ที่ดีที่สุด จนผ่านพ้นวิกฤติไปได้ ไม่ใช่แค่ในเรื่องของแบรนด์ แต่เป็นการอยู่รอดของทั้งคนในชุมชนและชาวนา >>> ข้าวอร่อยได้เพราะคน สำหรับแบรนด์ ข้าวธรรมชาติ ความอยู่รอดในวิกฤติครั้งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วยหรือความบังเอิญ แต่เกิดจากการวางรากฐานตั้งแต่ความเข้าใจในทุกฝากฝั่งอย่างแท้จริงของธุรกิจ เริ่มตั้งแต่เรื่องของ “คน” “โรงสีพี่มีข้าวที่ดีสีอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าชาวนาอยู่ไม่ได้ โรงสีเองต้องไปวิ่งหาข้าวแต่ละพื้นที่เอามาสี ซึ่งความหมายต่างกันเลยและการทำงานก็ต่างกัน อย่างเราอยู่ในหมู่บ้าน เราส่งเสริมให้ชาวนาปลูกข้าว แล้วช่วยลงไปดูเขา ว่าเขาขาดอะไร ปัญหาเขามีอะไร” “อย่างเรื่องเมล็ดพันธุ์ ชาวนาบอกว่า เฮียบิ๊กเมล็ดพันธุ์ในท้องตลาดไม่ดีเลย ผมไม่รู้จะไปหาที่ไหน เราก็รับโจทย์มา […]
Category Archives: เรื่องเล่าพอแล้วดี
โควิดกับการคงอยู่ของ “๓๑ ธันวา” เพื่อรักษาช่างฝีมือไทย “จำได้ว่าอยู่ดีๆ ห้างสั่งปิด คือประกาศวันนั้น ก็เกิดความโกลาหลวุ่นวายมาก เราต้องจัดการเรื่องปิดหน้าร้าน น้องๆ จะไปอยู่ไหนยังไง เราจะเอาของออกมาจากห้างอย่างไร เป็นวันเดียวกันกับวันที่อาป๊าเข้า ICU เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด ทุกอย่างมันเกิดขึ้นเร็วมากในวันเดียวกัน” เก๋ – บุณยนุช วิทยสัมฤทธิ์ เล่าย้อนภาพเหตุการณ์โควิดระลอกแรก ซึ่งเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนสำคัญที่ตอกย้ำความสำคัญของการมีอยู่ของแบรนด์ ๓๑ ธันวา ได้แจ่มเจนมากยิ่งขึ้น >>> ตระกูลช่างทำรองเท้ากับแฟชั่นที่ พอดี “เราเกิดในครอบครัวช่างทำรองเท้าที่ทำมา 70 กว่าปี ตั้งแต่อากงที่เป็นรุ่นที่ 1 อาป๊ารุ่น 2 เราเองเป็นรุ่นที่ 3 เกิดมาในครอบครัวที่ลืมตาตื่นมา เขาก็ทำรองเท้าหนังกันทุกอณูในบ้าน เห็นอย่างนี้ตั้งแต่เด็กยันโต แต่เราไม่เคยลงไปคลุกคลี ใช้ชีวิตเหมือนเด็กคนหนึ่งที่สุขสบาย คือไม่ได้รวยล้นฟ้าแต่ก็ไม่เคยอดมื้อกินมื้อ จนกระทั่งเรียนจบมหาลัยได้ มันเหมือนกับว่าทุกคนในโรงงานทำให้เราได้โตมามีความเป็นอยู่ที่ดีแบบนี้” “พอถึงวันที่เราจะลุกขึ้นมาทำแบรนด์ เราก็อยากให้ความรักนี้มันทำให้โรงงานงอกเงยและไปต่อได้อย่างที่รุ่นก่อนทำมา เราก็เลยใช้ชื่อว่า ๓๑ ธันวา ซึ่งเป็นวันเกิดเรา เราเกิดวันที่ 31 ธันวาคม เกิดมาในครอบครัวช่างทำรองเท้า […]
ความพ่ายแพ้ที่ไม่พังทลายแบบ If you want Hostel Sukhothai ถ้าความพ่ายแพ้คือจุดจบ เราคงไม่ได้มีโอกาสเห็นหลายๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ If you want Hostel Sukhothai เป็นอีกแบรนด์ที่พยายามพิสูจน์ว่า เมื่อธุรกิจพังทลายลง คุณค่าที่เคยได้พยายามสร้างไว้ จะสามารถคงอยู่ต่อไปได้จริงๆ (หรือไม่) “ทุกแบรนด์ที่เราทำ เราไม่ได้ทำในนามนักธุรกิจ เราเพียงแต่สร้างธุรกิจเพื่อสื่อสารคุณค่าสู่ผู้คน” เราเชื่อในประโยคนี้มาตลอดการทำงานหลายปี เราสร้างธุรกิจหนึ่งๆ ขึ้นเพื่อสื่อสารบางอย่าง และเป็น “บางอย่าง” นั้นเองที่ช่วยหล่อเลี้ยงทั้งปากท้อง ชีวิต จิตวิญญาณและสร้างประโยชน์แบบที่เราทำได้ไปในเวลาเดียวกัน If you want Hostel Sukhothai เป็นธุรกิจโฮสเทลที่ตั้งอยู่ ณ จังหวัดสุโขทัย ดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมรดกโลก เมืองหลวงแห่งแรก “อารยธรรมแห่งความสุข” ก่อนที่จะมาเป็นประเทศไทยอย่างทุกวันนี้ เหมือนกับอีกหลายๆ ธุรกิจที่พักทั่วประเทศ วิกฤติการระบาดของโควิด 19 ทำให้ระบบการท่องเที่ยวทั้งโลกพังทลายลง โฮสเทลของเราก็เป็นหนึ่งในอีกร้อยพันธุรกิจที่ในที่สุดแล้วก็… ไม่ได้ไปต่อ >>> กลิ่นของดินก่อนพายุลูกใหญ่ ทุกครั้งก่อนที่พายุฝนจะกระหน่ำ เราจะได้กลิ่นของดินชุ่มฝนมาแต่ไกล เป็นสัญญาณเตือนให้เราเตรียมพร้อมรับมือ อาจเป็นเพียงฝนโปรยปราย […]
โควิด 19 กับประตูบานใหม่ที่เติมเต็มให้บุญบูรณ์…บริบูรณ์ ตั้งแต่ครั้งวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 “วัต” ชญาน์วัต สว่างแจ้ง ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานครั้งสำคัญ เปลี่ยนจากสถาปนิกหนุ่มเมืองกรุง มาลงหลักปักฐานเป็นเกษตรกร โดยเลือกลำปางเป็นบ้านหลังใหม่ ตั้งใจสร้างบ้านให้ครอบครัวด้วยความบริบูรณ์ จากทั้งผู้คน สภาพแวดล้อม และวิถีเกษตรที่มี “แพะ” เป็นกัลยาณมิตร จากเรื่องราวการทำเกษตรปศุสัตว์ที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม จนเป็นที่มาของคำว่า “แพะมีบุญ” คือมีบุญทั้ง “แพะ” ที่อยู่ในฟาร์ม มีบุญทั้ง “คน” ที่ได้ดื่มนม ได้ใช้สินค้าคุณภาพดีของบุญบูรณ์ กระทั่งสิบปีผ่านไป วิกฤติโควิดกลายเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่บุญบูรณ์ต้องเผชิญ เหมือนๆ กับอีกหลายๆ ธุรกิจ “โชคดีตรงที่ว่า ก่อนหน้านี้เราไม่ได้โตไปมากกว่านี้ เลยไม่ต้องแบกรับภาระอื่นๆ แค่จัดการตัวเองให้ได้ก็พอ แล้วอาจจะเป็นความโชคดีของเรา ที่หลังจากกลับจากพอแล้วดี เราเริ่มมีความคิดที่จะลดการออกไปนอกฟาร์ม มาขายของ มาเปิดคอร์ส อบรมที่ฟาร์ม มันทำให้คนที่เคยเสพของเราแล้ว ได้มารู้จักเรา ได้มาอยู่กับเรา มันก็เป็นประสบการณ์ที่ได้อยู่กับแพะมากขึ้นกว่าที่เคย” วัต เล่าให้เราฟังถึงช่วงเวลาแห่งการรับมือกับโควิดของบุญบูรณ์ฟาร์ม “เรื่องการรับมือกับโควิด บุญบูรณ์เราก็จะแบ่งเป็นสามช่วง อย่างโควิดระลอกแรกมันมาแบบไม่ทันได้ตั้งตัว แค่รู้ว่าจะมาแต่ไม่ได้คิดว่ามันจะใหญ่โตหรือว่ายาวนานขนาดนี้ เราคิดว่าแค่เดือนสองเดือนก็หาย […]
ถ้าพูดถึงผลไม้อบแห้งกับคนไทย ของกินธรรมดา ที่เราเห็นกันทั่วไป ไม่ว่าจะตามร้านของฝาก ปั้ม ซุ้มข้างทาง หรือแม้แต่ในร้านสะดวกซื้อทั่ว ความรู้สึก “ธรรมดา” นี้เองที่คอยเข้ามาบดบังรสชาติแท้จริงอันทรงคุณค่าของผลไม้ที่มอบให้กับเรา แต่เรื่องตลกร้ายที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผลไม้อบแห้งที่เราเห็นดาษดื่นทั่วไปอย่างที่กล่าวมา จริงๆ แล้วรสชาติ ก็ชวนพาให้นึกถึงความธรรมดาแสนสาหัสจนไม่เป็นที่น่าพิศมัยเท่าไรนักเสียด้วย เพราะความเจ็บช้ำตรงนี้เองที่ทำให้ แพร์ ธันยธร ชาติละออง พยายามพาผลไม้อันเลอค่าของบ้านเรา โจนทะยานด้วยการเล่าเรื่อง “ความธรรมดาที่อร่อยที่สุด” ในแบบฉบับของ Chew Green “หัวใจแรกของการทำ Chew Green เรารู้สึกว่าทำไมของในตลาดทั่วไป เราเดินเข้าไปในร้านสะดวกซื้อแล้วเรารู้สึกว่ากินไม่ได้เลยสักอย่าง ของมันไม่เห็นมีอะไรที่ดีเลย แล้วทำไมเขาถึงกล้ารับประกันว่ามันดี เรารู้สึกว่าบ้านเราอุตส่าห์เป็นเมืองที่ผลไม้อร่อย มันควรอร่อยตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วยืดอายุความอร่อยนั้นได้อีก ผลไม้อบแห้งไม่ควรเป็นผลไม้ที่เคลือบน้ำตาล หรือมีแต่วิญญาณ” แพร์เล่าให้เราฟังด้วยแววตาที่จริงจัง >>> ผลไม้ของจริงอบแห้ง “Chew Green เป็นผลไม้อบแห้ง Real and Natural Snack ซึ่งปกติผลไม้อบแห้งที่เราเห็นในตลาด จะเป็นผลไม้ที่แช่อิ่มน้ำตาลแล้วมาอบ ตัว Chew Green วางจุดยืนของแบรนด์ให้เป็น real and […]
บ้านหมากม่วงและกลยุทธ์ยามคับขันสุดสร้างสรรค์เพื่อรับมือโควิด 19 เขาใหญ่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมจากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เพราะทั้งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สะดวกสบาย ใกล้เมืองกรุง อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตผลผลิตทางการเกษตรแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่ง แน่นอนว่า การท่องเที่ยวกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ขับเคลื่อนพื้นที่นี้ นักท่องเที่ยวที่แห่แหน ผู้คนท้องถิ่นที่ใช้ชีวิตอย่างปกติด้วยเม็ดเงินที่ไหลเวียน เมื่อต้องพบกับวิกฤติโควิด 19 ทุกสิ่งทุกอย่างก็มอดไหม้ เหมือนไฟที่ ลุกลามแบบไม่มีวันดับ “ตอนที่ปีที่แล้ว จริงๆ เพราะเรายังไม่รู้จักว่าสถานการณ์มันจะเลวร้ายได้ขนาดไหน เรารู้ข่าวแรกๆ ช่วงกุมภา ยังไม่ได้รู้สึกว่าจะกระทบอะไรกับเรามากขนาดนั้น ไม่ได้มีการเตรียมตัว เพราะเราไม่รู้ว่าโลกที่เกิดจากโควิดมันจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ถึงจะรู้ก่อน อาชีพอย่างเราก็เตรียมตัวอะไรได้ไม่มากอยู่แล้ว เพราะผลผลิตมันถูกเตรียมล่วงหน้ามาก่อนหน้านั้น 6 – 7 เดือนอยู่แล้ว ดังนั้นมันก็เลยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็รับสภาพไป” แนน วราภรณ์ มงคลแพทย์ เจ้าของแบรนด์บ้านหมากม่วง ร้านที่เป็นเสมือนหนึ่งศูนย์วิจัยตลาด สำหรับสวนมะม่วงขนาด 250 ไร่ของครอบครัว ที่ทำธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี เล่าให้เราฟังถึงการเผชิญวิกฤติโรคระบาด “แต่แนนไม่ได้มีแค่ส่วนของฟาร์ม ยังมีธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นร้านค้าปลีกด้วย ซึ่งในตรงนั้นมันเห็นผลกระทบชัดเจน อย่างในฟาร์ม มะม่วงก็ยังอยู่บนต้น แต่หน้าร้านพอเริ่มมีการระบาดหนัก ช่วงปลายมีนา เริ่มมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการนั่งทานที่ร้าน ห้ามเดินทางไปมาระหว่างจังหวัด คือมันเห็นชัดเจนมากว่า ปกติหน้าร้านจะต้องมีลูกค้าเฉลี่ยประมาณ […]
Little Sunshine Café กับแรงดึงดูดเดียวกันที่ช่วยให้พ้นผ่านวิกฤติโควิด-19 ว่ากันว่ากฎของแรงดึงดูดจะพาเราให้มาเจอกับคนที่เหมือนๆ กับเรา ในทุกๆ ความคิด ทุกๆ การแสดงออก คนประเภทเดียวกัน เหมือนๆ กัน จะถูกแรงดึงดูดนี้เชื่อมต่อเข้าหากันในที่สุด แรงดึงดูดนี้เอง ที่ทำให้ Little Sunshine Café ร้านอาหารของนักกำหนดอาหารอย่าง ป๋วย อัจจิมา ศรีปรัชญาอนันต์ รับมือกับวิกฤติโควิดได้อย่างอิ่มเอม “Passion ของเราก็คือการทำอาหาร ส่วนคนที่ตามเราก็จะเป็นคนที่คล้ายๆ กัน เป็นคนที่ชอบทำอาหารและไม่ใช่อาหารทั่วไป แต่เป็นอาหารโฮมเมดที่ง่าย ดูอร่อย น่าทำตาม และก็น่าแปลกใจที่มีคนทำตามสูตรที่เรานำเสนอไปในคลิปวิดีโอ เพราะเขามีความชื่นชอบแบบเดียวกับเรา มี Passion แบบเดียวกับเรา ชอบเกษตรอินทรีย์เหมือนกัน ชอบใช้ของดีเหมือนกัน และรู้สึกว่าอาหารที่ทำมันดีกับเขาจริงๆ ทำได้ง่ายที่บ้าน เน้นการรักษาสมดุล” >>> Passion และความชอบแบบเดียวกัน ในวันธรรมดาปกติ เราจะได้เห็นหนุ่มสาวออฟฟิศหมุนเวียนกันมาทานอาหาร ทานของดี อร่อย ดีต่อสุขภาพ ในบรรยากาศอบอุ่น นี่คือสิ่งที่ผู้คนได้รับจากการมานั่งทานที่ Little Sunshine Café […]
ผ่านวิกฤติด้วยใจดวงฟู (ของลูกค้าและลูกน้อง)…ในแบบสาระดีดี จากจุดเริ่มต้นของการทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้สามีทาน มิ้ม – ผกามาศ อินทับ ขยายความตั้งใจออกไปสู้ผู้คน จนกลายมาเป็นร้านอาหารที่ ส่งเสริมให้คนหันมาทานผัก ซึ่งความตั้งใจนี้ก็สื่ออกมาอย่างแจ่มเจนบนชื่อร้านด้วยคำว่า “สาระดีดี SALAD D” ผักสลัดปลอดภัยจากเกษตรกรท้องถิ่น น้ำสลัดโฮมเมดดีต่อสุขภาพ ไปจนถึงจานอาหารธรรมดาๆ อย่างผัดกระเพราหรือสปาเก็ตตี ที่ความพิเศษจะอยู่ที่ผักเคียงจานอันอัดแน่น และข้าวไรซ์เบอร์รีปลูกเองแบบปลอดสารเคมีจากกาฬสินบ้านเกิด นี่คือความมีสาระ ในจานอาหารที่แสนธรรมดา แต่สุดพิเศษ ที่เราจะได้เจอทุกครั้งเมื่อไปเยือนสาระดีดี จังหวัดพิษณุโลก >>> ขวัญกำลังใจจากผู้นำในวิกฤต ในช่วงชีวิตปกติ เราจะเห็นทั้งนักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย หมอ พยาบาล วนเวียนมาใช้บริการอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง แน่นอนว่าโควิดได้พรากทุกภาพความทรงจำเหล่านี้ไปจนหมดสิ้น พร้อมการเข้าสู่สภาวะไม่ปกติ ที่ทำให้สาระดีดี เงียบเหงาไปอย่างฉับพลัน “ตั้งแต่ปีที่แล้วเราก็จะรับรู้ข่าวสารจากพี่ๆ น้องๆ ในกลุ่มคนทำธุรกิจร้านอาหารซึ่งจะอยู่ที่กรุงเทพ พอเขาตอบมาชัดเจนเลยว่าวันที่ จะมีการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉิน เราก็มาทบทวนกันก่อนที่เรื่องจะมาถึงพิษณุโลกเลยว่า เรื่องมันเป็นอย่างไร” “แต่ในส่วนของระบบร้านและลูกน้อง เราบอกกับทุกคนว่าไม่ต้องกลัว เราก็จะสู้ต่อ เดี๋ยวเราจะพาทำ ก็คือสร้างขวัญกำลังใจให้กับลูกน้อง ถ้าเขาให้ปิดหน้าร้าน เราก็จะขายแบบจัดส่งให้ลูกค้า ให้คนเข้าถึงเราให้ได้ ด้วยความที่เราเตรียมตัวมาก่อนหน้านั้นอยู่แล้วก็คือ เรามีบริการเดลิเวอรี มันก็ทำไปพร้อมๆ […]
จักรวาลใต้พิภพของไส้เดือนและผองเพื่อนแห่ง Uncle Ree Farm ไส้เดือน หนอน แมลง นม ผักอินทรีย์ สเต็ก ขนมหวาน ของใช้แบบรีฟิล คลาสเรียน เครื่องมือเกษตรแบบหมุนมือ ไปจนถึงเครื่องกำจัดขยะสุดไฮเทค ไม่ว่าจะกลับหัวตลบคิดมุมไหน ก็ยังเป็นเรื่องยากอยู่ดีที่จะเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มาอยู่รวมกันได้อย่างไร ในสถานการณ์วิกฤติอย่างทุกวันนี้ หากมีใครบอกว่าการขยายธุรกิจคือหนทางของความอยู่รอด หลายคนอาจคิดว่าคนที่พูด ไม่เพี้ยนก็ขาดสติ แต่สำหรับ Uncle Ree Farm การขยายธุรกิจให้กว้างขวางขึ้น มันคือรูปแบบหนึ่งของความประมาณตนในแบบลุงรีย์ที่นำมารับมือกับช่วงโควิดได้เป็นอย่างดี “ธุรกิจของ Uncle Ree Farm คือฟาร์มไส้เดือนที่เติบโตด้วยระบบ Party เติบโตด้วยระบบ Partner เติบโตด้วยระบบ Platform technology ไม่ใช่ว่าเราไม่เชื่อในคน แต่บางอย่างที่เป็นความผิดพลาดของมนุษย์ เราตัดออก เราทำงานกับเขาในแบบที่ มันจะเลี่ยงความเสียใจของตัวเองในเรื่องของการจากลา แต่ในขณะเดียวกันคุณค่าของเรากลับเลี้ยงคน” “หน้าฉากลุงรีย์เหมือนทำงานคนเดียว แต่มาดูหลังบ้านสิ แม่ น้อง ปั่นกิมจิกันทั้งวัน ทีมเค้กก็ทำงานอยู่ ลิน(ภรรยาของรีย์) ก็ปั้มของอยู่(เติมวัตถุดิบในขวดรีฟิลแบบปั้ม) ทีมแมลงสาบก็ทำบ้าอะไรไม่รู้ทั้งวัน ตอนนี้พอมีคนที่คิดใกล้ๆ […]
ความตั้งใจที่เจ็บปวดอันแสนงดงาม…ของภูครามกับโควิด 19 ธุรกิจเพื่อสังคมเป็นอีกความดีงามรูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจ เป็นการสร้างผลกำไรที่นอกจากตัวเงินจะแบ่งปันสู่สังคม ผลกำไรที่ได้ตอบแทนในอีกแง่มุมหนึ่ง มันคือความเจริญงอกงามอย่างมั่นคงของชุมชน ที่ค่อยๆ พัฒนาและรักษา วิถีท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน คนที่เลือกเดินบนเส้นทางนี้ นอกจากต้องมี “หัว” คิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ เพื่อนำพาแบรนด์ให้เจริญเติบโต พวกเขายังต้องมี “ใจ” ที่จะนำพาผู้คนให้เจริญงอกงามไปพร้อมๆ กัน สำหรับช่วงวิกฤติแบบทุกวันนี้ พูดกันตรงๆ แล้ว คนทำธุรกิจเอง แค่จะนำพาตัวเองให้ไปต่อได้ตลอดรอดฝั่งก็ว่ายากแล้ว แต่ในมุมของคนทำธุรกิจเพื่อสังคม พวกเขาต้องนำพาคนในชุมชนอีกไม่รู้กี่สิบ กี่ร้อยคน ที่ฝากความหวังไว้กับแบรนด์ มาโดยตลอดให้รอดไปด้วยกัน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย “ภูครามมีช่างทออยู่ในมือประมาณ 20 กว่าคน ทอผ้าคนละม้วนต่อเดือน ราคาอย่างต่ำม้วนละ 8,000 สูงหน่อยก็ 12,000 บาท ช่างทอส่งมาอย่างต่ำ 10 ม้วนต่อเดือน รายจ่ายก็แสนกว่า ดังนั้นแค่ค่าผ้าทอ มันก็โอเวอร์สต็อคตลอดอยู่แล้ว ระหว่างนี้ช่วงก็พูดคุยกับชาวบ้านว่าขอเป็นผ้าที่เราอยากได้จริงๆ” เหมี่ยว ปิลันธน์ ไทยสรวง เจ้าของแบนด์ภูคราม เล่าเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันให้เราฟัง ภูครามเป็นแบรนด์ผ้าที่เหมี่ยวตั้งใจทำขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะต้องการให้คนภูพาน รัก หวงแหน […]