Category Archives: เศรษฐกิจพอเพียง

การตลาดแบบพอดี

การตลาดแบบพอดี หรือ พอดีมาร์เก็ตติ้ง คือการสร้างสรรค์กลยุทธ์ทางการตลาดแบบสมเหตุสมผล เพื่อการแข่งขันกันในการส่งมอบคุณค่าของสินค้าหรือบริการของตัวเอง ตอบสนองความต้องการกับกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่สร้างกิเลสหรือความต้องการให้กับกลุ่มเป้าหมายมากจนเกินไป เป็นการทำธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการใส่ใจต่อคนรอบข้าง สังคม และสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง การตลาดแบบพอดี ของธุรกิจแฟชั่น 31THANWA ของ เก๋-บุณยนุช วิทยสัมฤทธิ์ พอแล้วดี The Creator รุ่น 2 เป็นเรื่องปกติที่แบรนด์แฟชั่นเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ทุกฤดู ทำการตลาดโดยจัดอีเว้นท์ หรือแม้แต่จ้างบุคคลที่มีชื่อเสียงมาถือสินค้า แต่ไม่ใช่สำหรับธุรกิจเครื่องหนังแบรนด์ 31THANWA เพราะเก๋เชื่อว่า ของที่มีคุณค่า ย่อมขายตัวเองได้ สินค้าแฟชั่นของเก๋ ไม่ได้ทำเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อตามกระแส และไม่ใช่สินค้า “ฟุ่มเฟือย” แต่เป็นตัวกลางที่ส่งผ่านคุณค่างานคราฟท์ ของช่างฝีมือของครอบครัวที่สืบทอดมากว่า 60 ปี และคุณค่าของผ้าไหมไทยจากกลุ่มแม่บ้าน OTOP ศูนย์ศิลปาชีพไปสู่ผู้บริโภค การทำการตลาดของ 31THANWA คือทำให้ทุกคนเข้าใจใหม่ว่า แฟชั่นไม่ใช่แค่ “เปลือก” แต่เป็น “แก่น” แท้ของคุณค่า และนำเสนอออกมาในคอนเซ็ปต์ “One is Enough to Empower […]

การรู้จักตัวเองในการทำธุรกิจ

SWOT เป็นหลักการวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ในการประเมินสถานการณ์ และวางแผนกลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์ภายใน (Internal analysis) และ วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External analysis) โดยประกอบไปด้วย จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat)   ยกตัวอย่าง SWOT ผลิตภัณฑ์ ProEngy ของ คุณเบนซิน-ไกรยุทธ แสวงสุข พอแล้วดี The Creator รุ่น 2 ProEngy คือ อาหารพร้อมรับประทาน รูปแบบแท่ง (Energy Bar ) ที่มีคุณค่าโภชนาการสำหรับนักกีฬา  โดยใช้วัตถุดิบที่โดดเด่น และมีคุณภาพของไทย โดยมีส่วนผสมหลักจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ขึ้นชื่อของสุรินทร์ และผลไม้ไทยที่ให้พลังงานสูงจากหลากหลายจังหวัดทั่วประเทศ คุณเบนซินได้วิเคราะห์ SWOT ไว้ดังนี้ จุดแข็ง (Strength) -ใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศไทย เช่น ข้าวไทย ผลไม้ไทย – […]

Segmentation การแบ่งกลุ่มผู้บริโภค แบบรู้เขา รู้เรา

Segmentation คือ การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามลักษณะเฉพาะ เพราะเราไม่สามารถตอบโจทย์ทุกคน ทุกอย่างได้ จึงต้องเลือกว่าลูกค้ากลุ่มไหนที่เราจะตอบโจทย์เขาได้ดีมากๆ โดยการทำ Segmentation นั้นสามารถแบ่งตามคุณลักษณะ 4 ด้าน ดังนี้ Demographic Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาดด้วยหลักประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ รายได้ Geographic Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาดด้วยหลักภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง เช่น จังหวัด ประเทศ Behavioral Segmentation หรือ การแบ่งส่วนการตลาดด้วยหลักพฤติกรรมศาสตร์ เช่น รูปแบบการดำรงชีวิต (Lifestyles) Psychographic Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาดด้วยหลักจิตวิทยา เช่น ความชื่นชอบ   ยกตัวอย่าง Segmentation แบบรู้เขา รู้เรา ของธุรกิจ The Yard Hotel โดย คุณส้ม-อติพร สังข์เจริญ พอแล้วดี The […]

Business Model Canvas

Business Model Canvas คือ เครื่องมือการเริ่มต้นธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อให้รู้จักธุรกิจว่า กลุ่มลูกค้าคือใคร หรือทำ(ขาย)ให้ใคร (Customer Segments), สร้างสายสัมพันธ์แบบไหน (Customer Relationships), ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างไร (Key Activities), ทำที่(ช่องทาง)ไหน (Channels), ทรัพยากรคุ้มค่ากับรายได้หรือไม่ (Key Resource), พาร์ทเนอร์หลักเป็นใคร (Key Partners), ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร  (Cost Structure), รายได้มาจากไหนบ้าง  (Revenue Streams) แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจแบบพอแล้วดี  คือ ต้องคำนึงถึงคุณค่าของสินค้าหรือบริการที่เราส่งมอบให้ลูกค้า (Value Proposition) พร้อมๆ กับ การส่งมอบคุณค่าสู่สังคม (Social Value Proposition) ซึ่งต้องคิดตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำโมเดลธุรกิจ

ความพอเพียง สู่ เศรษฐกิจพอเพียง

การรู้จักตัวเอง สู่ การทำธุรกิจตามแนวปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง การทำธุรกิจตามแนวปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง  เริ่มต้นจากการค้นหาจนรู้จักตัวเอง รู้ว่าตนเองมีศักยภาพแค่ไหน ชื่นชอบหรือมี passion กับอะไร  และเมื่อรู้จักตนเองแล้ว จึงนำไปปรับใช้กับการทำธุรกิจอย่างมีเหตุมีผล และเพื่อให้เข้าใจเรื่องการรู้จักตัวเอง (ระดับบุคคล) ไปปรับใช้กับการทำธุรกิจ จนเกิดเป็นความพอเพียงระดับสังคม อย่างชัดเจน จึงขอยกตัวอย่าง   พอแล้วดี The Creator รุ่น 2  คุณตูน-ภาวลิน ลิมธงชัย มาสะกี เจ้าของธุรกิจ “หอม โฮสเทล แอนด์ คุ้กกิ้ง คลับ” ก่อนหน้านี้คุณตูน ทำงานเป็นวิศวกรปิโตรเลียม อยู่ที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน แม้วันที่ทำงานเหนื่อยแต่กลับมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำและสอนเพื่อนทำอาหาร นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณตูนพิจารณาตัวเอง และค้นพบว่า ตนเองเป็นคนชอบทำอาหาร และมีความสุข ที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้คน  (นี่คือการรู้จักตัวเองในระดับบุคคล) ระหว่างนั้น คุณตูนมีความคิดที่จะทำธุรกิจส่วนตัว จึงได้ใช้เวลา 1-2 ปี เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ลงเรียนคอร์สต่าง ๆ เช่น คอร์สทำอาหาร คอร์สพัฒนาตัวเอง และคอร์สเรียนการทำธุรกิจ จากนั้นจึงตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการเลือกทำธุรกิจโฮสเทลที่สอนทำอาหารไทย โดยก่อนออกจากงานมาเริ่มต้นธุรกิจ […]

ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ศาสตร์ของพระราชา เพื่อความมั่นคง และความสุขอย่างยั่งยืน

ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ศาสตร์ของพระราชา เพื่อความมั่นคง และความสุขอย่างยั่งยืน คือแนวความคิดที่พัฒนามาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขให้รอดพ้นจากปัญหาความยากจน และสามารถใช้ชีวิตในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ถ่ายทอดโดย คุณอภิวรรษ สุขพ่วง (พอต) ไร่สุขพ่วง พอแล้วดี The Creator รุ่น 1

เศรษฐกิจพอเพียงกับ Startup

Startup จะพอเพียงได้จริงหรือ… ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ เราเห็นธุรกิจ Startup ที่ประสบความสำเร็จมากมายทั้งในและต่างประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่มากมายที่ต้องการจะสร้างธุรกิจ Startup ที่มีเป้าหมายในการเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่ในขณะที่รัฐบาลมีการส่งเสริมธุรกิจ Startup ที่จะสามารถขับเคลื่นให้ประเทศเดินหน้าและพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เราจะสามารถนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงที่ดูเหมือนว่าจะเป็นหนังคนละเรื่องมาใช้ได้อย่างไรกัน เพราะธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งกำไรในการทำธุรกิจ ในขณะที่ความพอเพียงก็ดูเหมือนจะให้อยู่กับสิ่งที่มี …อย่างนั้นหรือ ก่อนอื่น เรามาดูสถิติที่น่าตกใจปนน่าสนใจจากการรายงานของเว็บไซต์ Fortune ที่บอกว่า “กว่า 90% ของ Startup ไม่ประสบความสำเร็จ” ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกถกขึ้นมาพูดคุยในแวดวงของผู้ประกอบการอยู่เสมอ และเหตุผลหลัก ๆ ของการทำ Startup แล้วไม่ประสบความสำเร็จก็คือ พวกเขาสร้างสินค้าที่ไม่มีใครต้องการขึ้นมา ทำให้ไม่เจอคนที่ต้องการสินค้าของพวกเขาในตลาด และทำให้ขาดรายได้ไปในที่สุด แล้วอีก 10% ที่เหลือ พวกเขาทำมันให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และความพอเพียงจะเข้ามามีบทบาทอย่างไรได้ เมื่อเรามองเห็นธุรกิจ Startup ที่ตั้งเป้าหมายสูง คิดใหญ่ และมุ่งการทำกำไรอย่างรวดเร็วเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีความพอเพียง แต่เมื่อเราพูดถึงความพอเพียง สิ่งสำคัญที่เราต้องเข้าใจก็คือ ความ “พอ” ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ หลายคนมองว่า […]

เศรษฐกิจพอเพียงในยุค Thailand 4.0

ถ้าหากย้อนมองดูเศรษฐกิจของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา เราจะพบว่าประเทศไทยได้ก้าวข้ามผ่านยุคของการเป็นประเทศเกษตรกรรมดั้งเดิม (ประเทศไทย 1.0) สู่อุตสาหกรรมแบบเบา (ประเทศไทย 2.0) และอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น (ประเทศไทย 3.0) ตามลำดับ และนั่นก็ทำให้ประเทศไทยพัฒนาจากประเทศรายได้ต่ำสู่ประเทศรายได้ปานกลางจนถึงทุกวันนี้ กลับมาในยุคปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อย่างที่ทุกคนรู้ อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสูง เราสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้มากมาย และผู้คนทั่วโลกก็สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างง่ายดาย เมื่อรูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป การลงมือทำในแบบเดิม ๆ จึงอาจไม่ได้ผลลัพธ์แบบเดิมอีกต่อไป ดังนั้น ประเทศจึงต้องปรับตัวและมุ่งหน้าสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” เพื่อขับเคลื่อนสู่ความก้าวหน้าใหม่ ๆ ที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในประเทศ แต่ “ประเทศไทย 4.0” ที่ว่านี้คืออะไร แล้วทำไมเราต้องมุ่งหน้ามาทางนี้ และปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงจะเข้ามามีบทบาทอย่างไร มาดูกันเลย   ในศตวรรษที่ 21 นี้ สินค้าหลากหลายมากถูกผลิตออกมาสู่ตลาด และผู้บริโภคก็สามารถที่จะเลือกซื้อได้ง่ายดายผ่านอินเตอร์เน็ต การแข่งขันทางด้านราคาจึงไม่ใช่ความยั่งยืนในการทำธุรกิจของยุคนี้อีกต่อไป เพราะการลดราคาของคุณก็ย่อมมีขีดจำกัด แต่การนำธุรกิจด้วย ความคิด ไอเดีย และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างคุณค่าแก่ผู้คน พัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อม ต่างหากที่จะช่วยให้ธุรกิจแตกต่างและโดดเด่นในตลาดได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การที่ประเทศจะมุ่งหน้าสู่ยุค […]

ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ตอน 5 ขั้นก้าวหน้า

ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ตอน  5 ขั้นก้าวหน้า ศาสตร์ของพระราชา เพื่อความมั่นคง และความสุขอย่างยั่งยืน           เมื่อได้รู้จักทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ใน 4 ขั้นแรกแล้ว ลำดับต่อมาจะเป็นการพัฒนาในบันไดขั้นที่ 5 – 9 ซึ่งเป็นขั้นต่อยอดขึ้นไป หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า กล่าวคือ เมื่อคนเราสามารถมีความพอ 4 ประการ ได้แก่ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็นตาม 4 ขั้นพื้นฐานแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน รักษา สร้างมูลค่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น   ขั้นที่ 5-6 บุญและทาน ขั้นที่ 5 คือบุญ ความเจริญก้าวหน้าที่ไม่ได้วัดที่เป็นตัวเงิน แต่เป็นการสร้าง บุญ ที่พึงปฏิบัติต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ […]

ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ตอน 4 ขั้นพื้นฐาน

ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ตอน 4 ขั้นพื้นฐาน ศาสตร์ของพระราชา เพื่อความมั่นคง และความสุขอย่างยั่งยืน           ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง คือแนวความคิดที่พัฒนามาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขให้รอดพ้นจากปัญหาความยากจน และสามารถใช้ชีวิตในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต 4 ขั้นแรกของทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง คือ 4 พื้นฐาน 4 ความพอ ได้แก่ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอมีอากาศหายใจร่มเย็นสบาย สภาพแวดล้อมน่าอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ขั้นที่ 1 พอกิน ขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในปัจจัย 4 ในการดำรงชีพ และประการสำคัญที่สุดของปัจจัย 4 คือ อาหาร ดังนั้นขั้นที่ 1 ของแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนคือ ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า “ทำอย่างไรจึงจะพอกิน” โดยให้ความสำคัญกับ ข้าวปลาอาหาร มากกว่าความสำคัญของมูลค่าตัวเงิน […]