หลายคนอาจมองว่าธุรกิจกวดวิชาคือสิ่งที่สร้างผลกำไรได้สูง และมีศักยภาพช่วยให้เด็กมีความรู้เพื่อแข่งขันขึ้นสู่ยอดพีระมิดการศึกษา แต่ Up Skill Center ของครูเช-สมพล มีพ่วง กลับต่างออกไป เพราะก่อตั้งขึ้นโดยมีหัวใจหลักคือการแบ่งปัน ทั้งในแง่ของการไม่หวังเพียงทำกำไรสูงสุด และในแง่ความตั้งใจที่อยากให้เด็กๆ ได้ส่งต่อความรู้เพื่อสร้างคุณค่าของตัวเอง อย่างไรก็ตาม การมุ่งมั่นทำธุรกิจโดยใช้เพียงความตั้งใจนำทางกลับทำให้เขาห่างไกลจากจุดสมดุล และหลายครั้งมีคำว่า ‘ขาดทุน’ เป็นบทสรุปการกระทำ “วิธีคิดของผมก่อนหน้านี้ที่เราคิดว่ามันถูกต้อง คือเราบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องรวย เราต้องช่วยคน เราต้องช่วยเด็ก จนถูกถามว่า สรุปครูเชทำธุรกิจหรือทำมูลนิธิ” การได้พบวิธีคิดแบบ ‘พอแล้วดี’ จึงเปรียบเหมือนการค้นพบเครื่องมือที่ช่วยให้ครูเชมองเห็นทางไปสู่โรงเรียนที่แบ่งปันได้อย่างยั่งยืน และด้านล่างนี้คือบันทึกการเดินทางสู่การค้นพบเครื่องมือสำคัญชิ้นดังกล่าว โรงเรียนที่ให้เกินพอดี อดีตบัณฑิตจบใหม่สายวิทยาศาสตร์ที่อกหักจากความฝันที่จะช่วยโลก เพราะการทำงานในฐานะนักวิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อมไม่มีพลังพอจะสู้กับกลุ่มทุนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ทุกวัน เขาจึงกำความฝันที่อยากทำเพื่อสังคมไปชิมลางเป็นครูติววิทยาศาสตร์ให้เด็กๆ ตามโรงเรียน ด้วยทักษะติดตัวด้านการพูดในที่สาธารณะ มีลูกเล่นและวิธีสนุกๆ ให้เด็กจดจำและเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น ทำให้เขาได้ใจเด็กๆ และถูกเรียกว่า ‘ครูเช’ ในที่สุด เมื่อผลตอบรับกลับมาค่อนข้างดี ทำให้เขาพบว่าการสอนคือการสร้างคน สร้างอนาคตของชาติ และน่าจะเป็นทางหนึ่งที่เขาสามารถจะให้สังคมได้ ครูเชจึงเริ่มต้นสร้าง Up Skill Center ในรูปของบริษัทรับติววิชาวิทยาศาสตร์ตามโรงเรียนต่างๆ รูปแบบคือการรับงานผ่านโรงเรียนและนำติวเตอร์เข้าไปสอน รวมทั้งเปิดโรงเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพฯ และอำเภอเล็กๆ ที่จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นบ้านเกิดของครูเชอีก 1 สาขา […]
Category Archives: ธุรกิจการศึกษาและพัฒนาทักษะ
เพราะสวนแห่งนี้ เกี่ยวข้องกับความรู้ และความรัก ‘สวนสามไท’ คือชื่อสวนในสุพรรณบุรีที่รับบทเป็นทั้งพื้นที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็ก ปลูก-ปั้นโดย แสน-พรชัย แสนชัยชนะ อดีตหนุ่มนักโฆษณามือรางวัลที่ผันตัวมาอยู่กับธรรมชาติเป็นงานหลัก ทดลองทำเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และชวนลูกเล่นและเรียนรู้ไปกับธรรมชาติ และเมื่อเห็นพัฒนาการของลูกๆ ที่เปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ เขาก็ริเริ่มความฝันที่จะสร้างสวนแห่งนี้เป็นที่เรียนรู้ให้กับเด็ก (ไปจนถึงผู้ใหญ่) คนอื่นๆ ด้วย แต่หลายบรรทัดก่อนหน้ายังไม่ใช่บทสรุปของสวนแห่งนี้ และการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการความฝันระหว่างทางของสวนสามไท มีหลายเรื่องที่น่าสนใจทั้งในวิธีคิดและวิธีทำ ซึ่งจะอยู่ในหลายบรรทัดถัดจากนี้ เพราะสวนแห่งนี้ เกี่ยวข้องกับความรู้ และความรัก สวนในฝันที่ยังฝันไม่สุด แสนคือหนุ่มนักโฆษณาที่มีความเชื่อส่วนตัวว่าคนเราควรทำอะไรอย่างจริงจังทีละอย่าง เขาจึงตั้งใจว่าเมื่อทุ่มเทให้งานโฆษณาถึงปีที่ 20 จะลาออกแม้ยังไม่แน่ชัดว่าจะทำอะไรต่อไป และในปีที่ 19 ของการทำงาน เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ก็ส่งคำตอบมาให้เขา “ในปีที่ 19 น้ำท่วมบ้านจนชั้นล่างหายไป เราเป็นคนกรุงเทพฯ ที่ถูกสอนมาว่าหาเงินเยอะๆ แล้วจะมั่นคง แต่เป็นครั้งแรกที่เราไปซูเปอร์มาร์เก็ตสาขาไหนก็ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีอาหาร เป็นครั้งแรกที่เราได้รู้ว่าการมีเงินก็อาจไม่มีกิน ผมเลยศึกษาใหม่ว่าความมั่นคงที่แท้จริงคืออะไร เสิร์ชไปเรื่อยๆ ก็เจอข้อความขององค์การสหประชาชาติและคำว่าความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นคำฝรั่งที่ไม่มีคำไทยแปล แต่เมื่อไล่อ่านตำราฝรั่งเสร็จ เชื่อมไปเชื่อมมา มันกลับมาที่พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 อ้าว! พระมหากษัตริย์เราตรัสมาก่อนตั้งกี่สิบปี […]