Category Archives: รุ่น

คุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์

คิด แล้วลงมือทำ จากการที่รู้จักตัวเองตั้งแต่เรียนมัธยมว่าอยากเป็นศิลปิน เมื่อเข้าศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตามสิ่งที่รู้ตัวมาโดยตลอดว่า “ชอบการนำสิ่งที่เหลือใช้ หรือขยะมาสร้างงานศิลปะ” ส่วนหนึ่งเพราะต้องการให้ขยะหายไป และเอ๋จะเป็นคนทำให้หายไป  ซึ่งจากการเริ่มงานในยุคแรกๆประมาณ 5 ปีที่แล้วในวัย 21-22 ปี ลักษณะงานขยะสร้างศิลปะจัดวาง (Installation Art) จะมีขนาดเพียง 1 เมตรกว่าๆ  ไม่เกิน 2 เมตร แต่ปัจจุบันขนาดของงานใหญ่กว่า 2 เมตร สร้างสรรค์ผลงานให้แบรนด์แฟชั่น และห้างสรรพสินค้าชื่อดังโดยมีเอกลักษณ์เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น กระบวนการมีส่วนร่วม  แม้ว่าการทำงานดังกล่าวจะอยู่ท่ามกลางเสียงที่บอกว่า เป็นศิลปินจะต้องตกงาน ศิลปินมีอีโก้สูง จึงบอกกับตัวเองว่า เมื่อจบออกมาจะต้องอยู่ให้ได้กับอาชีพนี้ เพราะมองว่าเป็นธุรกิจส่วนตัว ไม่มีอีโก้สูง จะทำอย่างไรไม่ให้ธุรกิจตัวเองเจ๊ง จึงมองโครงการ พอแล้วดี เพราะต้องการเข้ามาเรียนรู้หลักธุรกิจ  “หลังจากที่เรียนจบมาแล้วก็เริ่มรู้จักคำว่า SDGs  และได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังช่วยสิ่งแวดล้อมในโลกของเราได้ และก็พยายามทำงานให้เข้ากับ SDGs มาโดยตลอด นอกจากนี้เรื่องขยะ เมื่อทำไประยะหนึ่งเอ๋เห็นว่าไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ในการจะเปลี่ยนแปลง เรามีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักคนต่างๆ ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เพื่อการรวมพลังร่วมกัน จึงสมัครเข้าโครงการพอแล้วแล้วดี ” […]

คุณปิลันธน์ ไทยสรวง

คิด แล้วลงมือทำ เป็นความตั้งใจที่จะต้องกลับบ้านเกิดอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และเมื่อเข้าสู่วัย 30 ปี ก็ได้เวลากลับบ้านพร้อมองค์ความรู้บางส่วนเกี่ยวกับเรื่องผ้าย้อมธรรมชาติตั้งแต่ปี 2557  และคิดว่าน่าจะอยู่บ้านได้ด้วยอาชีพเกี่ยวกับผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ซึ่งมีเสน่ห์ และคนใช้ผ้าจำนวนหนึ่งน่าจะชอบผ้าประเภทนี้ จึงปักหลักที่บ้านเกิดตั้งแต่ปี 2559  “เนื่องจากพื้นฐานของเหมี่ยวไม่ใช่คนค้าขายมาก่อน เพราะฉะนั้นการทำผ้าภูครามเหมี่ยวไม่ได้ศึกษาตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภคเลย และที่สกลนครเองเหมี่ยวก็ไม่ได้รู้จักใครเลย จะมารู้จักมากขึ้นเมื่อออกบูธงานแสดงสินค้า แต่ก็เป็นความตั้งใจที่จะนำเรื่อง มองโลกให้สมดุลย์ และถ่ายทอดสิ่งนี้ลงในผ้าภูคราม” กระบวนการมีส่วนร่วม ภูคราม เป็นเหมือนงานวิจัยต้องมีการลองผิดลองถูก และต้องมีเรื่องการสร้างคนของภูคราม  เราต้องสร้าง “คน” ที่รู้สึกเหมือนกับเราให้ได้มากที่สุด ภูครามจึงจะอยู่ได้ ไม่ใช่การขายสินค้าเท่านั้น  การทำงานของภูครามคือการดึงศักยภาพของคนออกมาแบบปรุงแต่งน้อยที่สุด  ทำให้สินค้าที่ทำงานกับชุมชนมีความ Unique ชัดเจนทั้งชุมชนและตัวเหมี่ยวเอง “สินค้าภูครามมีพลังของชุมชน มีแรงบันดาลใจจากภูพานและมีมุมมองของของเหมี่ยวที่เพียงแค่คอยนำทาง ผสมผสานกันอยู่ เพราะฉะนั้นจึงมีมากกว่า 1 ส่วนในเสื้อ 1 ตัว  รวมถึงมีสัญชาตญาณข้างในไม่ปรุงแต่งของคนทำอยู่ด้วย  ซึ่งในงาน 1 ชิ้นของภูครามจะมี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือหนึ่งเทือกเขาภูพานเป็นพลังสร้างแรงบันดาลใจ เพราะเราอยูที่นี่ เราอยากจะอนุรักษ์ที่นี่ทั้งสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม นอกจากนี้เราใช้คนภูพาน คนภูครามที่เราขัดเกลา ไม่ให้ลอกงาน […]

คุณรัศมิ์ลภัส กัลยาศิลปิน

คิด แล้วลงมือทำ ต้นทางของกาแฟสำหรับแอ้  อาจจะมาเริ่มต้นเมื่อมีครอบครัว เพราะพื้นฐานฝ่ายชายเป็นชาวอาข่า บนดอยช้าง เชียงราย  ดังนั้นวิถีที่เกี่ยวเนื่องกับกาแฟจึงแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นโนฮาวใหม่ๆ หรือภูมิปัญญาจากปราชญ์กาแฟก็มีมากมาย มีอัตตลักษณ์กาแฟในเรื่อง Full Body และ Fruity ที่อยากส่งต่อจากองค์ความรู้ของครอบครัวมีอยู่แล้ว น่าจะขยายไปพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียง ให้กาแฟไทยมีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ที่ชัดเจนในเวทีโลก กระบวนการมีส่วนร่วม  การสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนปลูกกาแฟเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Me Thai Coffee ขณะนี้กำลังทำงานร่วมกับดร.สุทัศน์ รงรอง โดยจะต้องเก็บข้อมูลในพื้นที่ของเกษตรกรไร่กาแฟ ดิน เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลส่งดร.สุทัศน์ทำคิวอาร์โค้ด   เพื่อจะได้ทราบว่ากาแฟมาจากที่ไหน เกษตรกรเป็นใคร สิ่งที่เราทำเป็นการร่วมมือทำงานกับเกษตรกรให้เขาทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งกาแฟที่ขายขายภายใต้แบรนด์ Me Thai Coffee เป็นความร่วมมือที่นำองค์ความรู้ และ Process ไปช่วยเกษตรกร แทนที่จะไปซื้อสินค้าอย่างเดียว คิดถึงแบรนด์ Me Thai Coffee อัตลักษณ์พิเศษของ Me Thai Coffee จะมีมากกว่าการคั่ว  ซึ่งปกติขั้นตอนนี้ก็ถือว่าเป็นที่สุดของกาแฟ  แต่ […]

คุณณัฎฐิมา วิชยภิญโญ

คิด แล้วลงมือทำ หลังทำงานโฆษณาอย่างหนักจนถึงอายุ 30 ปี ได้หยุด เดินทางท่องเที่ยวพร้อมคิดอยากจะทำอะไรดี และมีโอกาสลงไปพังงา พบว่ามีตึกของตัวเองที่เคยให้อาสาสมัครสึนามิอยู่ และเมื่อเขากลับไปหมดแล้วตึกว่าง น่าจะทำอะไรได้บ้าง ก็เกิดเป็น Bread & Breakfast 11 ห้อง เมื่อ 9 ปีที่แล้ว จากนั้นเมื่อปี 2014 ก็เกิด Nautical Home ก็กลายเจ้าของธุรกิจที่พักมาโดยตลอด ซึ่งเป็นที่พักที่รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้แขกไปเก็บขยะโดยพนักงานเป็นคนขับรถพาไป “แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจอยู่แล้ว รู้สึกว่าทำดีอยู่แล้ว แต่พอนึกถึงในหลวงรัชกาลทรงสอนว่าการทำความดีนั้นยาก แต่สิ่งที่เราทำนั้นง่ายมากเลย แสดงว่าไม่ใช่แล้ว ต้องทำได้มากกว่านี้ ก็เข้าสู่โครงการ พอ แล้ว ดี เพราะอยากนำสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สอนมาประยุกต์ใช้ แล้วเรื่องที่พักที่ยากกว่าก็เกิดขึ้น เมื่อเล่าให้พี่หนุ่ยฟังถึงบ้านพักที่น่าน ที่เป็นบ้านพ่อแม่ตั้งใจซื้อที่ดินเล็ก ๆ เกือบ 2 ไร่ และสร้างไว้เพราะอยากอยู่ที่น่าน อยากมาเป็นคนที่นี่ ซึ่งสร้างตามที่คิดแล้วกลายเป็นบ้านหลังใหญ่เกินไป จึงมีความคิดว่าจะทำอะไรให้คนในพื้นที่น่านได้บ้าง นอกเหนือจากการที่เป็นคนกรุงเทพฯ มาซื้อที่ดินและสร้างบ้านที่น่าน […]

คุณธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์

คิด แล้วลงมือทำ จากคนที่เรียนเรื่องการโรงแรมและทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาโดยตลอด โดยธนาวุฒิทำงานโรงแรม ภรรยาทำงานทัวร์ เมื่อถึงวัย 30 ปีก็เห็นว่า ประสบการณ์ และวัยที่สมควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจบริษัทท่องเที่ยวเล็กๆ ได้ แต่ต้องแตกต่างจากบริษัททัวร์เดิมๆ และอาจจะไม่ใช่จุดหมายปลายทางเดิมๆ ที่ลูกค้าต่างประเทศพูดติดปากคือ เที่ยวกรุงเทพฯ ภูเก็ต  เชียงใหม่ นั่นหมายถึงการท่องเที่ยวชุมชนใหม่ๆ ผู้คนในท้องถิ่น  นอนโฮมสเตย์  จึงเกิด Siam Rise Travel ขึ้นมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว  ซึ่งเป็นยุคแรกๆ ที่เกิดการท่องเที่ยวชุมชน ส่งผลให้ปัจจุบันการท่องเที่ยวแนวนี้ตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวในวงกว้าง และชุมชนเองก็พัฒนา เติบโตพร้อมกับการท่องเที่ยวแนวนี้ “เราทำงาน 2 แบบคือ ทัวร์แบบมีเส้นทางให้แล้ว กับท่องเที่ยวชุมชนที่เราจะต้องร่วมพัฒนากับชุมชน เลยมีคำถามว่าอยู่กลุ่มไหนแน่ Tech StartUp หรือไม่ Social Enterprise หรือไม่ บริษัททัวร์หรือไม่  นั่นคือคำถามแรก อีกคำถามหลังทำท่องเที่ยวชุมชนมา 3-4 ปีพบว่า มีชุมชนที่มีการพัฒนายั่งยืนจริงๆ ที่มองภาพรวมจะก้าวไปพร้อมกันน้อยมากคือไม่ถึง 5% เพราะอะไร ดังนั้น หากมาเรียนรู้เรื่องศาสตร์พระราชาจะเข้าใจตรงนี้ได้มากกว่า […]

คุณชวกิจ เก้าเอี้ยน

คิดแล้วลงมือทำ จากวิชาความรู้ร่ำเรียนมาทางกายภาพบำบัด ทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน ประจำในห้องไอซียู ซึ่งคนไข้ที่อยู่ในห้องนี้หลายคนเหมือนคนนอนหลับ นักกายภาพฯจะรู้ว่า คนไข้จะต้องถูกจัดท่านอนให้เพื่อป้องกันการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หรือป้องกันแผลกดทับ  ซึ่งหลังจากทำงานที่โรงพยาบาลก็ออกมาทำงานเองโดยทำหน้าที่เดิมในบ้านคนป่วย ซึ่งการจัดท่านอนแบบที่นักกายภาพทำจะต้องมีคนช่วย ซึ่งผู้นอนไม่สามารถจัดท่านอนด้วยตัวเองเพราะต้องใช้หมอนหลายใบ และก็เป็นที่ให้ชวกิจทำหมอนขึ้นมา 1 ใบ เรียกว่า “หมอนหมายเลข 9”  “หมอนหมายเลข 9”  จะช่วยให้ผู้นอนจัดท่านอนตัวเองได้ตามหลักขอตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาจัดให้ ก็สามารถจัดท่านอนของตัวเองได้ด้วยตัวเอง เลยเป็นที่มาของธุรกิจ Mr.Big เมื่อ 7 ปีที่แล้ว  กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเริ่มเป็นธุรกิจก็พบว่ามีคนต้องการใช้นักกายภาพฯมากมาย ทั้งที่มาจากเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการรักษาสุขภาพท่านอนที่ไม่ถูกต้อง  ซึ่งที่ผ่านมาในโรงพยาบาลทำงานกับคนไข้ 8 คน/วัน แต่เมื่อออกมาทำหมอนขายในฐานะนักกายภาพฯ เจอคนนับ 20-30 คน ถ้าออกงานแสดงสินค้าเจอคนเป็นร้อย  จึงคิดคิดว่าบทบาทนักกายภาพบำบัดควรมีกระการมีส่วนร่วม มีคนทำเยอะขึ้น เพราะคนไข้เราอยู่นอกโรงพยาบาลเต็มไปหมด เพราะเวลาเจอคนต่างๆ ก็จะบอกว่า ปวดตรงนั้น ปวดตรงนี้ ต้องนอนท่าไหน ซึ่งทุกคนกล้าคุยเพราะเราบอกว่า เป็นนักกายภาพบำบัด และแนะว่าควรจะทำอย่างไร  ถึงตรงนี้คิดว่าเราไม่ได้รักษาปลายทาง แต่ได้ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้คนทั่วไป คิดถึงแบรนด์ Mr.Big เครื่องนอนที่เหมาะกับสรีระของผู้ใช้รวมถึงท่านอนที่จะช่วยนอนสบาย  โดยจะแนะนำให้เลือกด้วย […]

คุณณัฐนิช กิตยานุรักษ์

คิด แล้วลงมือทำ หลังจากยุติการเป็นพนักงานประจำก็กลับมาอยู่บ้านเพราะพ่อแม่มีอายุมากขึ้นแล้ว เห็นที่นาของพ่อแม่ 4 ไร่ ก็คิดแบบคนโลกสวย อยากทำเกษตรกรรมแต่คงไม่ใช่การปลูกข้าวเพราะราคาตก มองหาพืชอื่น ๆซึ่งก็รู้ตัวว่าเป็นชอบกินเมลล่อน ซึ่งราคาแพง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการปลูกเมลล่อนจึงเริ่มต้นจากความชอบของนาเดียเองและหาประสบการณ์เรื่องการปลูกเมลล่อนด้วยการไปเป็นเกษตรกรสวนเมลล่อนอื่น ๆ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเป็นการลองผิดลองถูกในเรื่องเมลล่อน “การปลูกเมลล่อน เป็นพืชเชิงเดี่ยวมีข้อเสียมากมายในการปลูกพืชประเภทนี้ซ้ำ ๆ เกิดโรค และผลผลิตแย่ลงเกือบจะขายที่ทิ้งไปแล้ว แต่มาเจอ โครงการ พอ แล้ว ดีก่อน ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราคิดว่ารู้ดีมากแล้ว ไม่ใช่ เราไม่มีการประมาณตนเราไม่รู้เลยว่าพืชเชิงเดี่ยวมีความเสียหายอย่างไรจากการเรียนแล้วทำให้รู้ว่าเราต้องมีพืชหลายอย่างตามที่ตลาดต้องการกลายเป็น Northern Fruit Hub เพิ่ม ลำใย กระท้อนผลไม้เมืองเหนือครบวงจรและปรับเปลี่ยนเป็นผลไม้อินทรีย์ ตามมาตรฐาน” กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเปลี่ยนแนวทางเป็นผลไม้เมืองเหนือครบวงจรนาเดียไม่สามารถเดินไปคนเดียวได้ จะต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อน ๆ หลายคน ที่มีสินค้าและจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่มีความมุ่งมั่นเดียวกันก็จะสามารถมารวมกลุ่ม เพื่อตัดระบบคนกลางออกไปและขายในแบรนด์กลางของเราได้ การสื่อสารของเดียในกลุ่มชุมชน ในกลุ่ม Young Smart Famer เดียร์สามารถนำความเข้าใจไปเผยแพร่ให้ง่ายขึ้นมีตัวอย่างธุรกิจของเดียว่าเมื่อเราทำแบบนี้จะเป็นอย่างไรน่าจะช่วยให้คนอื่น ๆ เข้าใจ เข้าถึงได้มากขึ้น ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมตรงนี้มีมากขึ้น […]

คุณนครินทร์ ยาโน

คิด แล้วลงมือทำ หลังจากตัดสินใจนับ 1 ใหม่ในชีวิตเมื่อปี 2548 ในวัย 30 ปีกว่าๆพร้อมกับการกลับบ้านเกิดเชียงใหม่ ก็เป็นเวลาที่เก่งค้นหา“ความสุขที่ยาวนานของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน” แล้วพบ “ตัวตน”ซึ่งเสมือนคุณค่าของตัวเอง มีความสุขในการทำงานที่ตัวเองชอบได้อยู่กับครอบครัวและการทำงานกับชุมชนใช้ความสุขสบายใจของทุกคนเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้ YANOเดินหน้ามาถึงวันนี้เป็นปีที่ 14 กระบวนการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกับชาวบ้าน จากการร่วมงานกับชาวบ้านเพียง 10 คนในฐานะที่เก่งเป็น OTOP มาก่อน และส่งงานประกวดทุกเวทีสามารถกู้ความเชื่อมั่นได้มากทีเดียวอีกทั้งเป็นการเรียนรู้ในการทำงานกับชาวบ้านนอกจากนี้ความโชคดีของเก่งคือคนที่ร่วมทำงานด้วยเป็นเสมือนญาติพี่น้องในหมู่บ้านดังนั้นเก่งไม่ได้ดูแลในฐานะนายจ้างลูกจ้างเพราะคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านเก่งให้ความเคารพในฐานะที่เป็นพี่น้องปู่ย่าตายายหมดเลย จากเริ่มต้น 10 คน ปัจจุบันกระจายไปยัง 4หมู่บ้านมีชาวบ้านกว่า 30 คนร่วมทำงานและเข้าสู่เรือนจำให้นักโทษได้ทำงาน ปัจจุบันผู้ร่วมทำงานกับ YANOมีมากถึง 300-400 คน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี “จากการทำงานร่วมกันเช่นนี้ พร้อมกระจายงานได้มากขึ้น เก่งพบว่าทุกคนมองหาคุณค่าตัวเอง เช่นเดียวกับเก่งที่มองหาคุณค่าตัวเองจากแบรนด์ YANO เช่นกัน” คิดถึงแบรนด์ Yano  YANO Handicraft มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมด 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ของตกแต่งบ้านเคหะสิ่งทอ และของที่ระลึกในชุมชนที่เก่งอยู่ และรอบ ๆ […]

คุณธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์

ชื่อ: ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์ กำลังจะเปลี่ยนนามสกุลเป็น (เทพหัสดิน ณ อยุธยา) บริษัท: สวนบ้านแม่ ประเภทธุรกิจ: ร้านอาหาร(ธุรกิจเดิมพี่สาว) ร้านกาแฟ(กำลังปรับเปลี่ยนห้องครัวเดิม) ที่พัก(กำลังก่อสร้างปรับจากบ้านเดิม) และกำลังเปิดให้คนเข้าชมสวน จังหวัด: พังงา Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ก่อนทำธุรกิจ ให้ถามหาความสุขก่อนว่าสุขอยู่ตรงไหน (ความสุขที่ได้ในเริ่มต้น ) จากนั้นก็เริ่มมองหาสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข(ในการดำรงชีวิต)แบบพอมี พอกิน พออยู่และพอเอิ้อเฟื้อ หลังจากเรามีความสุขพื้นฐานแล้ว แฝงธุรกิจที่สร้างรายได้ลงในชีวิตประจำวัน ดำเนินชีวิตไป เราก็จะไม่รู้สึกว่ามันคืองานหรือ มันคือธุรกิจ แต่มันเป็นแค่ชิวิตประจำวัน ที่มีความสุข แล้วก็ค่อยๆต่อยอดไปเรื่อยๆ ด้วยวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ใช้วิถี และวิธี ของภูมิปัญญาชาวบ้าน ท้องถิ่น มาออกแบบให้อยู่ร่วมกับ สมัยใหม่ สร้างตราสัญลักษณ์ […]

คุณวรนุช ภาคานาม

“คุณค่าของการทำสมุนไพรคุณยายปลั่ง  คือการได้ช่วยให้ผู้อื่นมีสุขภาพที่ดีขึ้น” ผลิตภัณฑ์ Personal Care คือสิ่งที่เราใช้ในชีวิตเป็นประจำทุกวัน การเลือกใช้กลิ่นหอมที่มาจากพืชสมุนไพร หรือที่เรียกว่าน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) มาประยุกต์แทนการใช้กลิ่นสังเคราะห์ (Synthetic Fragrance Oil) ย่อมส่งผลให้เกิดความสดชื่น ผ่อนคลาย และดีต่อสุขภาพของผู้ใช้มากกว่า คนในสมัยโบราณจึงนิยมใช้กลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร ในการดูแลรักษาสุขภาพ หรือที่เราเรียกศาสตร์นี้ว่า “Aromatherapy” ซึ่งสมุนไพรคุณยายปลั่ง ได้เล็งเห็นคุณค่าของศาสตร์นี้ จึงได้เลือกนำกลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร มาประยุกต์ใช้ใส่ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม Personal Care โดยยึดหลักการเลือกกลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร ให้สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นศาสตร์โบราณอีกแขนงหนึ่ง ทั้งนี้มีการมุ่งเน้นให้เกิดความสดชื่น ผ่อนคลาย ต่อสุขภาพ ของผู้ใช้ และถือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาของคนโบราณ ให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป เพราะนุชเชื่อว่าความสุขสดชื่นของสุขภาพกายใจ จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิตอย่างยั่งยืน ชื่อ : วรนุช ภาคานาม (นุช) ธุรกิจ : คุณยายปลั่ง จังหวัด : อยุธยา ความสุขของการได้อยู่กับกลิ่นสมุนไพร จากการใช้วิถีชีวิตในวัยเยาว์อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ วัฒนธรรมของคนไทยในสังคมชนบท และเติบโตขึ้นมาด้วยความรัก ความดูแลเอาใจใส่จากคนครอบครัวคนไทยโบราณ ที่มีคุณยายปลั่งเป็นบรรพบุรุษ […]