คิดแล้วลงมือทำ จากวิชาความรู้ร่ำเรียนมาทางกายภาพบำบัด ทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน ประจำในห้องไอซียู ซึ่งคนไข้ที่อยู่ในห้องนี้หลายคนเหมือนคนนอนหลับ นักกายภาพฯจะรู้ว่า คนไข้จะต้องถูกจัดท่านอนให้เพื่อป้องกันการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หรือป้องกันแผลกดทับ ซึ่งหลังจากทำงานที่โรงพยาบาลก็ออกมาทำงานเองโดยทำหน้าที่เดิมในบ้านคนป่วย ซึ่งการจัดท่านอนแบบที่นักกายภาพทำจะต้องมีคนช่วย ซึ่งผู้นอนไม่สามารถจัดท่านอนด้วยตัวเองเพราะต้องใช้หมอนหลายใบ และก็เป็นที่ให้ชวกิจทำหมอนขึ้นมา 1 ใบ เรียกว่า “หมอนหมายเลข 9” “หมอนหมายเลข 9” จะช่วยให้ผู้นอนจัดท่านอนตัวเองได้ตามหลักขอตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาจัดให้ ก็สามารถจัดท่านอนของตัวเองได้ด้วยตัวเอง เลยเป็นที่มาของธุรกิจ Mr.Big เมื่อ 7 ปีที่แล้ว กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเริ่มเป็นธุรกิจก็พบว่ามีคนต้องการใช้นักกายภาพฯมากมาย ทั้งที่มาจากเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการรักษาสุขภาพท่านอนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาในโรงพยาบาลทำงานกับคนไข้ 8 คน/วัน แต่เมื่อออกมาทำหมอนขายในฐานะนักกายภาพฯ เจอคนนับ 20-30 คน ถ้าออกงานแสดงสินค้าเจอคนเป็นร้อย จึงคิดคิดว่าบทบาทนักกายภาพบำบัดควรมีกระการมีส่วนร่วม มีคนทำเยอะขึ้น เพราะคนไข้เราอยู่นอกโรงพยาบาลเต็มไปหมด เพราะเวลาเจอคนต่างๆ ก็จะบอกว่า ปวดตรงนั้น ปวดตรงนี้ ต้องนอนท่าไหน ซึ่งทุกคนกล้าคุยเพราะเราบอกว่า เป็นนักกายภาพบำบัด และแนะว่าควรจะทำอย่างไร ถึงตรงนี้คิดว่าเราไม่ได้รักษาปลายทาง แต่ได้ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้คนทั่วไป คิดถึงแบรนด์ Mr.Big เครื่องนอนที่เหมาะกับสรีระของผู้ใช้รวมถึงท่านอนที่จะช่วยนอนสบาย โดยจะแนะนำให้เลือกด้วย […]
Category Archives: ธุรกิจสินค้าอุปโภคและบริโภค
“คุณค่าของการทำสมุนไพรคุณยายปลั่ง คือการได้ช่วยให้ผู้อื่นมีสุขภาพที่ดีขึ้น” ผลิตภัณฑ์ Personal Care คือสิ่งที่เราใช้ในชีวิตเป็นประจำทุกวัน การเลือกใช้กลิ่นหอมที่มาจากพืชสมุนไพร หรือที่เรียกว่าน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) มาประยุกต์แทนการใช้กลิ่นสังเคราะห์ (Synthetic Fragrance Oil) ย่อมส่งผลให้เกิดความสดชื่น ผ่อนคลาย และดีต่อสุขภาพของผู้ใช้มากกว่า คนในสมัยโบราณจึงนิยมใช้กลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร ในการดูแลรักษาสุขภาพ หรือที่เราเรียกศาสตร์นี้ว่า “Aromatherapy” ซึ่งสมุนไพรคุณยายปลั่ง ได้เล็งเห็นคุณค่าของศาสตร์นี้ จึงได้เลือกนำกลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร มาประยุกต์ใช้ใส่ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม Personal Care โดยยึดหลักการเลือกกลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร ให้สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นศาสตร์โบราณอีกแขนงหนึ่ง ทั้งนี้มีการมุ่งเน้นให้เกิดความสดชื่น ผ่อนคลาย ต่อสุขภาพ ของผู้ใช้ และถือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาของคนโบราณ ให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป เพราะนุชเชื่อว่าความสุขสดชื่นของสุขภาพกายใจ จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิตอย่างยั่งยืน ชื่อ : วรนุช ภาคานาม (นุช) ธุรกิจ : คุณยายปลั่ง จังหวัด : อยุธยา ความสุขของการได้อยู่กับกลิ่นสมุนไพร จากการใช้วิถีชีวิตในวัยเยาว์อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ วัฒนธรรมของคนไทยในสังคมชนบท และเติบโตขึ้นมาด้วยความรัก ความดูแลเอาใจใส่จากคนครอบครัวคนไทยโบราณ ที่มีคุณยายปลั่งเป็นบรรพบุรุษ […]
“สุขภาพดีเริ่มต้นที่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน” จากความสนใจในการดูแลสุขภาพ และด้วยแนวคิดที่ว่า สุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากสิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คุณน้ำผึ้งจึงอยากส่งต่อสิ่งดี ๆ ผ่าน Hug ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้าและผิวกายที่สกัดจากธรรมชาติ ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดีในประเทศ ได้แก่ ข้าวหอมนิลพันธุ์ดี โดยคัดเลือกข้าวส่วนที่ไม่สมบูรณ์จากการเก็บเกี่ยวมาใช้ในการผลิต เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังเป็นการช่วยยกระดับข้าวไทยด้วยการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าอีกด้วย ชื่อ : ภมรรัตน์ พรรณรัตนพงศ์ (น้ำผึ้ง) ธุรกิจ : Hug จังหวัด : กรุงเทพมหานคร พลังของอ้อมกอดจากธรรมชาติสู่สุขภาพที่ดีในทุกวัน Hug เกิดจากความรักและใส่ใจในสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง บวกกับในทุกวันนี้ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ Personal Care ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้าและผิวกาย ก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่เราควรให้ความสำคัญ โดย Hug หรือ ฮัก นั้น นอกจากจะหมายถึง อ้อมกอด แล้ว ยังมาจากคำว่า รัก ในภาษาเหนือ Hug จึงหมายถึงการส่งต่อความรักและความปรารถนาดีผ่านผลิตภัณฑ์เหล่านี้ […]
“ประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากพลังธรรมชาติโดย EM Technology” Phu Sompor หรือ ภูซอมพอ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ที่ใช้ในครัวเรือน เป็นการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย เข้ากับเทคโนโลยีทางชีวภาพ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยพลมีแนวคิดในการทำธุรกิจอย่างพอเพียง เพราะเชื่อว่าเมื่อรู้จักพอ รู้จักให้ และแบ่งปันแล้ว จะทำให้พบกับความสุขที่แท้จริง ชื่อ : หฤษฎ์ ขาวสุทธิ์ (พล) ธุรกิจ : Phu Sompor จังหวัด : เชียงใหม่ เทคโนโลยีจากน้ำหมักที่ถูกมองข้าม สิ่งใกล้ตัวที่ได้จากธรรมชาติ หากนำมาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ก็ย่อมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับการที่พล เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นถิ่นของไทย และ EM Technology เทคโนโลยีทางชีวภาพ ที่เกิดจากการหมักจุลินทรีย์ จนมีความคิดในการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ใช้ในครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางชีวภาพและภูมิปัญญาพื้นถิ่น ภูซอมพอ มีเทคโนโลยีการผลิต โดยการสกัดสารจากธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ทดแทนสารเคมี ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น และห้องน้ำ […]
แทบทุกธุรกิจ เริ่มต้นนับหนึ่งด้วยความหวัง แต่สำหรับบ้านหมากม่วงของแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ ลูกสาวเจ้าของสวนมะม่วงแห่งเมืองปากช่อง เธอบอกกับเราว่า บ้านหมากม่วง เริ่มต้นจากความหมดหวัง “วันที่สอบเข้ามหาวิทยาลัย เรามีทุกอย่างได้ด้วยอาชีพเกษตรกรของพ่อแม่ แต่วันที่เราจะกลับมาทำงาน เรากลับเห็นความหมดหวังในท้องถิ่น เกษตรกรบ้านเราเริ่มทยอยขายที่ทางตรงเขาใหญ่ที่ได้ราคาดี เพราะทำมาหากินไม่ได้ แม้แต่พ่อเราเองก็เคยเป็นหนึ่งในคนที่เคยคิดแบบนั้น ทั้งที่เขารักในอาชีพนี้มาก เพราะเกษตรกรเป็นอาชีพที่ไม่มีหวัง เราไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ไม่ได้มีตลาดรองรับมากมาย ไม่ได้มีความรู้เรื่องธุรกิจมาต่อยอด ลูกหลานก็ไม่ได้มีโอกาสกลับไปสานต่อ เพราะทุกคนก็มีฝันของตัวเอง” แต่บนความหมดหวัง ลูกสาวเกษตรกรคนนี้เชื่อว่าเธอสามารถคืน ‘ความหวัง’ ให้ผืนดินปากช่องได้ หลังปลุกปั้นแบรนด์บ้านหมากม่วง จำหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากสวนของชุมชน และใช้เวลาพักใหญ่ลองผิดลองถูกในโลกธุรกิจที่ไม่ถนัดมือ ล่าสุด หญิงสาวพบ เส้นทางที่จะนำพาธุรกิจของเธอจากโครงการ ‘พอแล้วดี The Creator’ มาตอบสิ่งที่เธอขาดและเกิน แล้วยังทำให้เธอค้นเจอคุณค่าที่จะทำให้ผืนดินนี้กลับมาเป็นความหวังได้อีกครั้ง ความหวัง ที่อยู่ในทุกบรรทัดถัดจากนี้, เริ่มต้นด้วยตั้งใจ แต่ยังไปไม่ถึง “เราอยากเห็นการเกษตรของที่บ้านได้รับการพัฒนา เราเห็นที่ใกล้ๆ บ้านเราอย่างฟาร์มโชคชัยหรือไร่กำนันจุล รวมถึงตัวอย่างของเมืองนอกแล้วรู้สึกว่าเกษตรกรรมมีหนทางพัฒนาสร้างมูลค่า ไม่ใช่แค่ขายผลผลิตอย่างเดียวอีกต่อไป การขายมะม่วงและผลผลิตเกษตรอื่นๆ เราสู้กับกลไกตลาดแต่หลงลืมเรื่องคุณภาพที่เราสร้างได้ เราเลยไปเรียนด้านทรัพยากรการเกษตร ตั้งใจว่าจะกลับมาทำอะไรสักอย่าง” แนนย้อนเล่าเมื่อเราถามหาเหตุผลที่หญิงสาวตัวเล็กๆ หนึ่งคนอยากกลับมาทำอาชีพที่เธอเรียกว่า ‘ลูกสาวเกษตรกร’ “ที่จริงเราต้องสู้กับที่บ้านเหมือนกัน เพราะเขาไม่อยากให้เรากลับมาลำบาก […]
“อยากให้คนกรุงเทพฯ ได้ทานผักดี ๆ แบบนี้บ้าง” จากคำพูดของเกษตรกรวังน้ำเขียวที่ว่า“อยากให้คนกรุงเทพฯ ได้ทานผักดี ๆ แบบนี้บ้าง” คุณโตสจึงมีความคิดที่จะเริ่มต้นธุรกิจคัดสรรผักออร์แกนิกคุณภาพดี ส่งตรงถึงมือคนเมืองผู้รักสุขภาพ ด้วยแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนค้นพบความสมดุลในธุรกิจ และพร้อมที่จะส่งต่อความยั่งยืนให้กับชุมชน ชื่อ : ตรีชิต เมธารัตนโชติ (โตส) ธุรกิจ : Veget Deli ผักออร์แกนิก เดลิเวอรี่ จังหวัด : กรุงเทพมหานคร จากคำพูดของเกษตรกรสู่ธุรกิจจัดส่งผักออร์แกนิก ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่โตสเป็นอาจารย์ ได้พาลูกศิษย์ไปเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ของนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา และได้มีโอกาสทานผักออร์แกนิกที่สดและรสชาติดี จึงได้ขอเรียนรู้วิธีการปลูกจากเกษตรกร ขณะนั้นเองเกษตรกรท่านหนึ่งได้กล่าวว่า “อยากให้คนกรุงเทพฯ ได้ทานผักดี ๆ แบบนี้บ้าง”เมื่อโตสได้ยินดังนั้น จึงเป็นแรงจูงใจให้เกิด Veget Deli ธุรกิจจัดส่งผักเดลิเวอรี่ขึ้น ผักออร์แกนิกคุณภาพดีจากวังน้ำเขียว ส่งตรงถึงมือผู้รับ โตสมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องธุรกิจเดลิเวอรี่อยู่แล้ว จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดส่งผักสด ให้ยังคงความสดจนถึงปลายทาง โดยได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้บรรจุในถุงซิปล๊อกเพื่อถนอมความสดของผัก นำใส่กล่องกระดาษแล้วส่งตรงถึงมือผู้รับ ซึ่งทาง Veget Deli จะคัดเลือกผักออร์แกนิกที่ได้จากวังน้ำเขียวครั้งละ […]
“เพราะเราคือเพื่อนที่เข้าใจผู้แพ้อาหาร” อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ มีขั้นตอนการผลิตและการปรุงแต่งที่ใช้สารเคมีมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาหารโดยไม่รู้ตัว และนับวันผู้แพ้อาหาร หรือภูมิแพ้อาหารแฝงเหล่านี้ก็เพิ่มจำนวนสูงขึ้น กิน-ได้-ดี ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้คิดค้นอาหารสูตรพิเศษสำหรับผู้แพ้อาหาร โดยหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้หลัก ๆ 5 ชนิด ได้แก่ กลูเตน นม ไข่ ถั่วเหลือง และถั่วเปลือกแข็ง ทดแทนด้วยวัตถุดิบของไทยที่มีรสชาติใกล้เคียง มาประยุกต์เกิดเป็นสูตรของอาหารที่สร้างสรรค์และอร่อยถูกปาก รวมถึงการคัดสรรวัตถุดิบที่มีความปลอดภัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เพราะวีเชื่อว่า สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากอาหารที่ดี และต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันสิ่งดี ๆ นี้สู่สังคม ชื่อ : กวี สุดจิตต์ (วี) ธุรกิจ : กิน-ได้-ดี Allergy friendly Recipes จังหวัด : กรุงเทพมหานคร ผู้แพ้อาหารต้อง กิน-ได้-ดี การแพ้อาหาร หรือ Food Allergy เป็นความผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งวีเป็นหนึ่งในผู้มีอาการของภูมิแพ้อาหาร และได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้แพ้อาหารสามารถ กิน-ได้-ดี อาหารสำหรับผู้แพ้ที่ไม่ยอมแพ้ […]
ชื่อ: ชัยนันท์ หาญยุทธ บริษัท: บริษัท ฟูด เมกเกอร์ จำกัด หจก.ธัญชนกพืชผล ประเภทธุรกิจ: ธุรกิจแปรรูปสินค้าทางการเกษตร (ลำไยและข้าวโพด) จังหวัด: น่าน Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: บริษัทมีกิจการจำหน่ายสินค้าทางเคมีภัณฑ์ ที่มียอดขายที่ดีมาก ๆ แต่ตัวกระผมมีแนวคิดว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเคมีไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงของการทำเกษตรแบบยังยืน จึงได้ตัดสินใจเลิกกิจการในส่วนของการจำหน่ายสินค้าเคมีภัณฑ์ และได้นำเอาหลักปรัชชาพอเพียงมาปรับใช้ในธุรกิจ โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับเกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ในรูปแบบที่ทางบริษัทเป็นผู้ให้ความรู้ ร่วมกับทางบริษัทพันธมิตร เพื่อสร้างเกษตรกรสมัยใหม่ Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: -การส่งเสริมและให้ความรู้กับเกษตรกรช่วยพัฒนาและต่อยอดธุรกิจในด้านคุณภาพและความสามารถในการเผชิญกับปัญญาที่เกษตรกรพบเจอได้เป็นอย่างดี เกษตรกรมีความเข้าใจในเกษตรเพิ่มขึ้นและตระหนักถึงโทษของสารเคมีและสามารถพัฒนาทักษะในการทำเกษตรแบบยั่งยืน สามารถเพิ่มผลผลิต และสามารถคัดสรรคุณภาพสินค้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ -มุ่งเป้าหมายที่คุณภาพ ไม่เพิ่มอุปสงค์โดยการลดราคา -ประสานหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานที่มีอยู่ในเมือง และสร้างประโยชน์ร่วมกันผ่านความคิดริเริ่มของภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: บริษัทนำกำไรที่ได้รับจากการทำธุรกิจช่วยเหลือและให้โอกาสในการสอนงานคนพิการให้มีอาชีพสามารถดูแลตัวเองได้ ในการสอนถักไม้กวาดดอกหญ้า […]
“ProEngy พลังงานจากผลิตผลทางการเกษตรชั้นดีของไทย” ProEngy อาหารธัญพืชแบบแท่งสำหรับนักกีฬา หรือ Energy Bar ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรคุณภาพดี โดยมีส่วนผสมหลักจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ขึ้นชื่อของสุรินทร์ และผลไม้ไทยที่ให้พลังงานสูงจากหลากหลายจังหวัดทั่วประเทศ ProEngy จึงเป็นหนึ่งของความภูมิใจในการต่อยอดเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทย สู่การสร้างพลังงานให้กับนักกีฬา และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรในหลายภูมิภาคของไทย ชื่อ : ไกรยุทธ แสวงสุข (เบนซิน) ธุรกิจ : ProEngy จังหวัด : สุรินทร์ จุดเริ่มต้นจากข้าวหอมมะลิ ในช่วงที่ผ่านมาข้าวหอมมะลิมีราคาตกต่ำลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของทางบ้าน และธุรกิจเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิในจังหวัดสุรินทร์ เบนซินจึงคิดหาวิธีในการต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี โดยเริ่มจากตนเองเป็นนักกีฬารักบี้ที่บริโภค Energy Bar หรือธัญพืชแบบแท่งสำหรับนักกีฬาก่อนออกกำลังกายเป็นประจำ จึงเกิดแนวความคิดในการผลิต Energy Bar ที่มีส่วนผสมผลักจากข้าวหอมมะลิ และผลไม้ที่มีมากมายในประเทศไทย จากนั้นจึงได้มีการหาความรู้ในการแปรรูปข้าวหอมมะลิในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเป็นอาหารธัญพืชแบบแท่งสำหรับนักกีฬาที่ให้พลังงานสูง พลังงานจากผลไม้เมืองร้อนสู่พลังงานของนักกีฬา ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ Energy Bar ที่นำเข้าจากต่างประเทศมากมาย ซึ่งประเทศไทยก็อุดมไปด้วยผลไม้เมืองร้อนที่ให้พลังงานสูงที่สามารถนำมาผลิตเป็นส่วนผสมของ Energy Bar ได้ ด้วยเหตุนี้เบนซินจึงได้นำผลไม้อื่น ๆ ที่ให้พลังงานสูงจากทั่วประเทศ เช่น […]
“เติมพลังข้าวอินทรีย์ ด้วยความสุนทรีย์ของชาวนา” ข้าวเพลงรัก ข้าวอินทรีย์ที่เกิดจากความสุนทรีย์ของชาวนา จากการปลูกข้าวด้วยความรักผ่านเสียงเพลง และให้ต้นข้าวได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ นอกจากนี้เบนซ์ยังมีการวางแผนการทำนาในแต่ละปี เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด และมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชาวนาไทยให้เป็นอาชีพที่มีศักดิ์ศรีอย่างสมเกียรติ ชื่อ : เกริกกฤษณ์ กมลวิมุตศานต์ (เบนซ์) ธุรกิจ : ข้าวเพลงรัก จังหวัด : กรุงเทพมหานคร จุดเริ่มต้นจากปัญหาของชาวนาไทย ในปี พ.ศ. 2556 เป็นช่วงที่ชาวนาไทยประสบปัญหาอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาข้าว หรือเรื่องหนี้สินที่เกิดขึ้น เบนซ์เกิดความสงสัยว่าทำไมชาวนาไทยถึงต้องเผชิญกับความลำบากดังกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงตัดสินใจค้นหาคำตอบด้วยการไปเรียนปลูกข้าวอินทรีย์ที่มูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อเรียนจบ จึงได้ลงมือทำนาด้วยตนเอง และได้พบว่าปัญหาหลักของชาวนาไทยคือ การใช้สารเคมี ส่งผลให้ข้าวมีต้นทุนสูง อีกทั้งชาวนาอำนาจต่อรองน้อยกว่าพ่อค้าคนกลาง จึงมีราคาขายที่ต่ำ ความรักที่ถ่ายทอดสู่ต้นข้าวและชาวนา ในช่วงที่ทำนานั้น เบนซ์ได้เปิดเพลงฟังไปด้วยเพื่อความเพลิดเพลิน จึงเกิดความคิดในการเปิดเพลงให้ข้าวฟัง และได้ทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบทเพลงและการสื่อสารในเชิงบวกกับการเจริญเติบโตของพืช จึงได้ค้นพบงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว อีกทั้งได้ทำการทดลองด้วยตนเอง และพบว่าได้ผลที่สอดคล้องกัน จึงได้นำเพลงรักของคุณบอย โกสิยพงษ์ มาเปิดให้ต้นข้าวในนาฟัง ควบคู่ไปกับการดูแลเอาใจใส่นาข้าวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากเบนซ์จะมอบความรักให้กับต้นข้าวแล้ว ยังได้มอบความรักให้กับชาวนา โดยการสร้างเครือข่ายชาวนาที่มีการทำนาแบบอินทรีย์ และให้สิทธิ์ชาวนาในการกำหนดราคาข้าวเปลือกได้ เพื่อให้ชาวนาในเครือข่ายได้รับผลตอบแทนอย่างสมเกียรติ […]
- 1
- 2