Category Archives: รุ่นที่ ๓

คุณวราภรณ์ มงคลแพทย์

แทบทุกธุรกิจ เริ่มต้นนับหนึ่งด้วยความหวัง แต่สำหรับบ้านหมากม่วงของแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ ลูกสาวเจ้าของสวนมะม่วงแห่งเมืองปากช่อง เธอบอกกับเราว่า บ้านหมากม่วง เริ่มต้นจากความหมดหวัง “วันที่สอบเข้ามหาวิทยาลัย เรามีทุกอย่างได้ด้วยอาชีพเกษตรกรของพ่อแม่ แต่วันที่เราจะกลับมาทำงาน เรากลับเห็นความหมดหวังในท้องถิ่น เกษตรกรบ้านเราเริ่มทยอยขายที่ทางตรงเขาใหญ่ที่ได้ราคาดี เพราะทำมาหากินไม่ได้ แม้แต่พ่อเราเองก็เคยเป็นหนึ่งในคนที่เคยคิดแบบนั้น ทั้งที่เขารักในอาชีพนี้มาก เพราะเกษตรกรเป็นอาชีพที่ไม่มีหวัง เราไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ไม่ได้มีตลาดรองรับมากมาย ไม่ได้มีความรู้เรื่องธุรกิจมาต่อยอด ลูกหลานก็ไม่ได้มีโอกาสกลับไปสานต่อ เพราะทุกคนก็มีฝันของตัวเอง” แต่บนความหมดหวัง ลูกสาวเกษตรกรคนนี้เชื่อว่าเธอสามารถคืน ‘ความหวัง’ ให้ผืนดินปากช่องได้ หลังปลุกปั้นแบรนด์บ้านหมากม่วง จำหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากสวนของชุมชน และใช้เวลาพักใหญ่ลองผิดลองถูกในโลกธุรกิจที่ไม่ถนัดมือ ล่าสุด หญิงสาวพบ เส้นทางที่จะนำพาธุรกิจของเธอจากโครงการ ‘พอแล้วดี The Creator’ มาตอบสิ่งที่เธอขาดและเกิน แล้วยังทำให้เธอค้นเจอคุณค่าที่จะทำให้ผืนดินนี้กลับมาเป็นความหวังได้อีกครั้ง ความหวัง ที่อยู่ในทุกบรรทัดถัดจากนี้, เริ่มต้นด้วยตั้งใจ แต่ยังไปไม่ถึง “เราอยากเห็นการเกษตรของที่บ้านได้รับการพัฒนา เราเห็นที่ใกล้ๆ บ้านเราอย่างฟาร์มโชคชัยหรือไร่กำนันจุล รวมถึงตัวอย่างของเมืองนอกแล้วรู้สึกว่าเกษตรกรรมมีหนทางพัฒนาสร้างมูลค่า ไม่ใช่แค่ขายผลผลิตอย่างเดียวอีกต่อไป การขายมะม่วงและผลผลิตเกษตรอื่นๆ เราสู้กับกลไกตลาดแต่หลงลืมเรื่องคุณภาพที่เราสร้างได้ เราเลยไปเรียนด้านทรัพยากรการเกษตร ตั้งใจว่าจะกลับมาทำอะไรสักอย่าง” แนนย้อนเล่าเมื่อเราถามหาเหตุผลที่หญิงสาวตัวเล็กๆ หนึ่งคนอยากกลับมาทำอาชีพที่เธอเรียกว่า ‘ลูกสาวเกษตรกร’ “ที่จริงเราต้องสู้กับที่บ้านเหมือนกัน เพราะเขาไม่อยากให้เรากลับมาลำบาก […]

คุณอาทิตย์ จันทร์นนทชัย

เรื่องราวของหนุ่มเมืองกรุงที่มีใจรักการเกษตร เลยหันมาทำธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกผัก อาจเป็นเรื่องที่ไม่ใหม่ และได้ยินกันจนชินชา แต่ความน่าสนใจในเรื่องราวของ โต-อาทิตย์ จันทร์นนทชัย หนุ่มครีเอทีฟเมืองกรุงที่ลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจชื่อ FARMTO (ฟาร์ม-โตะ) ร่วมกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ไม่ได้อยู่ที่แพสชั่น แรงบันดาลใจ หรือไฟฝันใดๆ แต่มันคือแนวคิดที่ช่วยประคองเกษตรกรอีกมากมายให้เติบโตไปด้วยกันผ่านแพลตฟอร์มที่อยากสร้างโอกาสและอนาคตให้กับเกษตรกร รวมไปถึงการสร้างชุมชนเกษตรอินทรีย์ให้มีตลาดรองรับที่แน่นอน ผ่านเทคโนโลยีที่ช่วยให้การส่งต่อ แบ่งปัน และเกื้อกูลกันและกันไม่ยากเย็นจนเกินไปนัก ระหว่างทางที่เต็มไปด้วยเสียงตอบรับ คำชื่นชม แรงเชียร์ และรางวัลที่ผลักให้เขาก้าวกระโดดไปได้ไกล แต่ในขณะเดียวกัน ความเหนื่อยหนักและภาระที่ไม่อาจผลักไสก็ทำให้พวกเขาสะดุดล้มหรือเดินเฉไปในทางอื่นบ้าง แต่สิ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพตั้งใจดีกลุ่มนี้ พบวิธีที่จะเดินตรงบนเส้นทางนี้ต่อไป คือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักที่ทำให้ความตั้งใจดี พอดิบพอดีกับวิถีที่ควรจะเป็น    ฝันโต ๆ ของโต ความฝันของโตเริ่มต้นจากซื้อที่ดินเล็กๆ เพื่อทำเกษตรอินทรีย์แถวย่านรังสิต ปลูกจนแล้วจนรอดมีผลผลิตขึ้นมาได้ เหลือกินเหลือใช้ในครอบครัวก็อยากแบ่งปันให้คนอื่น เลยไปเข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรของตำบล แล้วก็ได้เรียนรู้ความเจ็บปวดของเกษตรกรที่การขายผลผลิตอินทรีย์ เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย “ถ้าหากเราคิดโมเดลหรือวิธีการอะไรสักอย่างที่ผู้บริโภคมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเพาะปลูก เพื่อที่เขาจะได้ผลผลิตกลับไป แบบนี้จะดีไหม เป็นลักษณะคล้ายๆ กับสังคมแบ่งปันที่เราอยากให้เป็น ผ่านการร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตทางการเกษตร” โมเดลแรกของโตเริ่มด้วยการทำเพจเฟซบุ๊ก ปรากฏว่ามีเพื่อนอีกสองคนที่สนใจอยากทำสตาร์ตอัพด้านการเกษตร ทั้งสามเลยมาร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ ด้วยกันภายใต้ชื่อแบรนด์ฟาร์มโตะ เป้าหมายของแบรนด์คือการทำแพลตฟอร์มจับคู่เกษตรกรและผู้บริโภค แม้เอาเรื่องราวไปเล่าให้ใครฟังจะเจอคำตอบกลับมาว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ หรือ […]

คุณวริศรุตา ไม้สังข์

เมื่อนึกถึงกิจกรรมเพื่อสังคม เรามักจะมองเห็นภาพกลุ่มคนหรือองค์กรที่มีกำลังคนและกำลังเงินมากพอที่จะต่อยอดไปทำธุรกิจเพื่อสังคมได้ แต่กับ HEARTIST ธุรกิจเพื่อสังคมที่ส่งมอบผลงานอันเต็มไปด้วยหัวใจจากเหล่าศิลปินคนพิเศษ กลับถูกปลุกปั้นมาโดย โปสเตอร์-วริศรุตา ไม้สังข์ เด็กสาววัย 26 ปีคนหนึ่งที่หวังจะต่อยอดสิ่งที่เธอชอบไปสู่ชุมชนเท่านั้น ภาพเบื้องหน้าของ HEARTIST คือแบรนด์กระเป๋าผ้าแนวคิดดีที่มาเพิ่มคุณค่าและความหมายให้เหล่าเด็กพิเศษ นำเสนอผ่านการถักทอผ้าแต่ละผืนที่ประกอบขึ้นมาเป็นกระเป๋าแต่ละใบ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบื้องหลังการทำงานนั้น โปสเตอร์ต้องลงแรงลงใจไปเท่าไหร่ควบคู่ไปกับงานประจำ แม้ว่าจะเต็มไปด้วยความสุขใจ แต่ในวันหนึ่งเธอก็รู้ว่าร่างกายของเธอเริ่มประท้วงว่าอาจจะไม่ไหว “เราเป็นผู้ประกอบการที่ล้มเหลว” โปสเตอร์ให้คำนิยามการทำธุรกิจของตัวเองตลอด 2 ปีที่ผ่านมา “เราจะช่วยคนอื่นได้ยังไง ถ้าตัวเองยังแย่ลงทุกวัน มันเลยทำให้เราตามหาเส้นทางใหม่ของตนเองและของ HEARTIST ว่าควรจะเดินไปอย่างไร” ในวันที่โลกธุรกิจบอกเธอว่าแค่ความชอบและความสุขที่จะให้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ HEARTIST ยืนอยู่อย่างแข็งแกร่งได้ เธอตัดสินใจเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี เพื่อเรียนรู้และควานหาวิธีการที่ทำให้ HEARTIST อยู่ได้อย่างยั่งยืน งานที่เติมเต็มหัวใจตัวเอง “เรารู้สึกว่าตัวเองแตกต่าง ตั้งแต่เด็กเราเป็นคนอ่อนแอและขี้โรคมากๆ การทำงานอาสา มันช่วยให้เราได้เติมเต็มความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่นมาตลอด” นอกจากจะสุขใจที่ได้แบ่งปันให้กับสังคมรอบข้าง มันอย่างเป็นการเติมเต็มความรู้สึกของเธอด้วย จนวันหนึ่งเธอมีโอกาสได้เข้าร่วมทอผ้าบำบัดกับเด็กพิเศษของโครงการอรุโณทัย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของแม่ๆ ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ ซึ่งจะจัดกิจกรรมในการบำบัดโดยหนึ่งกิจกรรมสำคัญคือ การทอผ้า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้เธอมองเห็นความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าให้ผลงานของเด็กๆ เหล่านี้ “เราเข้าใจว่าเงินสำคัญ เลยคิดว่าจะช่วยทำให้มันได้เงิน ให้มันเป็นโมเดลให้ยั่งยืน ให้เขาเห็นว่าการทอผ้าบำบัด สามารถทำรายได้แล้วคืนสู่สังคมได้จริง ไม่เป็นแค่เรื่องในอุดมคติที่สุดท้ายแล้วก็ต้องแล้วรอคนมาบริจาคอีกที เราเลยเข้าไปคุยกับแม่ของเด็กๆ […]

คุณผกามาศ อินทับ

“สามีได้กินสลัดฝีมือคุณครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่” ประโยคด้านบนคือสิ่งที่เทรนเนอร์โครงการพอแล้วดี The Creator เอ่ยถามมิ้ม-ผกามาศ อินทับ เจ้าของแบรนด์ผักสลัด SALADD เป็นคำถามเรียบง่ายแต่พุ่งตรงจุดจนแม่บ้านผู้ลุกขึ้นมาสร้างธุรกิจร้านอาหารสุขภาพน้ำตาไหล เพราะมันทำให้เธอระลึกถึงความไม่พอดีที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางการทำสิ่งที่รัก “เรารู้สึกจุกมาที่อกเลยว่า เราลืมคนที่ร่วมทางกันมาไปได้ยังไง ทุกอย่างเริ่มตีกลับให้เรามาย้อนคิดว่า สรุปสิ่งที่ทำอยู่แล้วบอกว่าทำเพื่อครอบครัว ทำเพื่อลูก ที่จริงแล้วทุกคนไม่ได้ต้องการ พวกเขาต้องการเรา ต้องการเวลาจากเรา ซึ่งพอถามแฟนว่าสิ่งที่เราทำมันเกินไปมั้ย เขาก็บอกว่าถ้าอันไหนเป็นความสุขของเรา เขาก็ทำตาม แต่ว่าเราต้องโฟกัสที่ลูกด้วย ไม่อย่างนั้นลูกจะเติบโตไปอย่างไม่ได้รับการเติมเต็ม แล้วคนที่จะเสียใจที่สุดก็คือเรา” และนี่คือเรื่องราวแบรนด์ผักสลัดเล็กๆ ที่ฝ่าฟันสารพัดปัญหาเพื่อก้าวสู่จุดที่ ‘ดีพอ’ และ ‘พอดี’ สำหรับธุรกิจและทุกคนรอบตัว ตั้งใจดี แต่ยังประมาณตัวเองไม่พอดี ต้นกำเนิดของแบรนด์  SALADD มาจากจานผักสลัดที่มิ้มลงมือปรุงให้สามีกิน “พอเริ่มมีครอบครัว เราก็ฝึกทำกับข้าวจนรู้ว่าสามีชอบกินสลัดมาก เลยค้นดูว่ามันจะมีหลากหลายรสชาติให้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้มั้ย แล้วก็ทำจนมั่นใจว่าจะลองทำให้คนอื่นกินดูบ้าง เลยเกิดเป็นธุรกิจ เราตั้งใจอยากทำสลัดจากผักที่ดีสู่ผู้บริโภคเพราะเราทำสลัดให้คนในครอบครัวทาน ถ้าทำเป็นธุรกิจ ก็ต้องทำให้ดีเพราะมองว่าผู้บริโภคก็คือคนในครอบครัว” แต่เพราะมุ่งมั่นทุ่มเททำสิ่งที่รัก นานวันเข้า ธุรกิจเปี่ยมความตั้งใจดีนี้กลับพาให้มิ้มห่างจากความสมดุลในหลายด้านของชีวิต “เราเดินเยอะเพราะเป็นการทำร้านอาหารและอยากทำเองทุกอย่างเพราะคิดว่าตัวเองทำได้ดี เรามีปัญหาที่ข้อเท้า มันทำให้สุขภาพแย่ลง ส่วนเรื่องการพักผ่อน เราก็นอนหลับยาก กรดไหลย้อน มันสะท้อนกลับมาที่ร่างกายเราหมดว่าเธอทำเยอะไปแล้ว ร่างกายจะไม่ไหวแล้ว […]

คุณพภัสสรณ์ จิรวราพันธ์

ไม่มีใครรู้จักเราดีเท่าตัวเราเอง และใครที่ไหนจะมาเข้าใจธุรกิจของเรา ได้มากไปกว่าเราผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ ว่ากันตามเหตุผล มันก็ควรจะต้องเป็นอย่างนั้น แต่เชื่อไหมว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมาก และธุรกิจอีกไม่รู้เท่าไหร่ที่ไม่รู้จักแม้กระทั่งตัวเอง wear me natural แบรนด์เสื้อผ้าย้อมสีธรรมชาติของเปิ้ล พภัสสรณ์ จิรวราพันธ์ ก็เคยเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น เจ้าของแบรนด์สาวบอกว่าเธอผ่านการอบรมเชิงธุรกิจมามากมาย ทุกคอร์สบอกตรงกันว่าแบรนด์ของเธอไม่มี DNA ไร้อัตลักษณ์ และไม่มีอะไรต่างไปจากคู่แข่ง ช่วงเวลากว่า 4 ปีในธุรกิจนี้จึงเป็นการเดินไปอย่างไม่มีทิศทาง เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาอย่างไร้แผนที่ จนกระทั่งได้พบกับคำตอบที่อยู่กับเธอมาตลอดตั้งแต่วันแรกก้าว คำตอบที่ว่า คือธรรมชาติของความพอและความดี คำตอบที่รอการระเบิดข้างใน ชีวิตของพภัสสรณ์ในหนึ่งย่อหน้า, เธอคืออดีตแอร์โฮสเตสสาวที่เจ็บป่วยจากชีวิตการทำงาน แต่พอหนีมาเป็นมนุษย์เงินเดือนก็ยังถูกออฟฟิศซินโดรมเล่นงานอย่างต่อเนื่อง เธอจึงเบนเข็มไปตามหาชีวิตที่ดีกว่า ผ่านการศึกษาแนวคิดและลงมือทำตามวิถีธรรมชาติบำบัด ปลูกข้าวปลูกผักกินเอง หลีกเลี่ยงเคมีในชีวิตประจำวัน    น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกินอยู่ จนเมื่อได้รู้จักกับกลุ่มแม่บ้านย้อมผ้าสีธรรมชาติแห่งเมืองเชียงใหม่แล้วเกิดสนใจ จึงขอไปเรียนรู้และจับมือสัญญาใจให้เหล่าแม่ๆ ย้อมผ้าให้ พร้อมเริ่มต้นปลุกปั้นแบรนด์เสื้อผ้าย้อมสีธรรมชาติ ออกแบบเอง คิดเอง ขายเอง บางเดือนขายดิบขายดี บางทีก็ไม่ได้ยอดตามหวัง ยิ่งหลายปีผ่าน คำถามก็ยิ่งพอกพูนในใจ เมื่อได้ยินว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้ เธอย่อมไม่รีรอที่จะเข้ามาหาคำตอบ แต่แค่บทเรียนแรกของการทำความเข้าใจ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เธอก็ได้พบกับคำถามเดิมๆ ที่ไม่เคยตอบได้ […]

คุณสมพล มีพ่วง

หลายคนอาจมองว่าธุรกิจกวดวิชาคือสิ่งที่สร้างผลกำไรได้สูง และมีศักยภาพช่วยให้เด็กมีความรู้เพื่อแข่งขันขึ้นสู่ยอดพีระมิดการศึกษา แต่ Up Skill Center ของครูเช-สมพล มีพ่วง กลับต่างออกไป เพราะก่อตั้งขึ้นโดยมีหัวใจหลักคือการแบ่งปัน ทั้งในแง่ของการไม่หวังเพียงทำกำไรสูงสุด และในแง่ความตั้งใจที่อยากให้เด็กๆ ได้ส่งต่อความรู้เพื่อสร้างคุณค่าของตัวเอง อย่างไรก็ตาม การมุ่งมั่นทำธุรกิจโดยใช้เพียงความตั้งใจนำทางกลับทำให้เขาห่างไกลจากจุดสมดุล และหลายครั้งมีคำว่า ‘ขาดทุน’ เป็นบทสรุปการกระทำ “วิธีคิดของผมก่อนหน้านี้ที่เราคิดว่ามันถูกต้อง คือเราบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องรวย เราต้องช่วยคน เราต้องช่วยเด็ก จนถูกถามว่า สรุปครูเชทำธุรกิจหรือทำมูลนิธิ” การได้พบวิธีคิดแบบ ‘พอแล้วดี’ จึงเปรียบเหมือนการค้นพบเครื่องมือที่ช่วยให้ครูเชมองเห็นทางไปสู่โรงเรียนที่แบ่งปันได้อย่างยั่งยืน และด้านล่างนี้คือบันทึกการเดินทางสู่การค้นพบเครื่องมือสำคัญชิ้นดังกล่าว โรงเรียนที่ให้เกินพอดี อดีตบัณฑิตจบใหม่สายวิทยาศาสตร์ที่อกหักจากความฝันที่จะช่วยโลก เพราะการทำงานในฐานะนักวิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อมไม่มีพลังพอจะสู้กับกลุ่มทุนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ทุกวัน เขาจึงกำความฝันที่อยากทำเพื่อสังคมไปชิมลางเป็นครูติววิทยาศาสตร์ให้เด็กๆ ตามโรงเรียน ด้วยทักษะติดตัวด้านการพูดในที่สาธารณะ มีลูกเล่นและวิธีสนุกๆ ให้เด็กจดจำและเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น ทำให้เขาได้ใจเด็กๆ และถูกเรียกว่า ‘ครูเช’ ในที่สุด เมื่อผลตอบรับกลับมาค่อนข้างดี ทำให้เขาพบว่าการสอนคือการสร้างคน สร้างอนาคตของชาติ และน่าจะเป็นทางหนึ่งที่เขาสามารถจะให้สังคมได้ ครูเชจึงเริ่มต้นสร้าง Up Skill Center ในรูปของบริษัทรับติววิชาวิทยาศาสตร์ตามโรงเรียนต่างๆ รูปแบบคือการรับงานผ่านโรงเรียนและนำติวเตอร์เข้าไปสอน รวมทั้งเปิดโรงเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพฯ และอำเภอเล็กๆ ที่จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นบ้านเกิดของครูเชอีก 1 สาขา […]

คุณชารี บุญญวินิจ

ภาพของเกษตรกรในเมืองเปลี่ยนที่ดินไม่กี่ตารางวาให้กลายเป็นฟาร์มสุดเท่ หน้าตาของแบรนด์ที่มีลูกเล่นเกี่ยวกับไส้เดือนชวนให้จดจำ ความถี่ในการออกสื่อซ้ำๆ ตลอดหลายปี บวกรวมกับกระแสออร์แกนิกที่ช่วยต่อยอดให้แบรนด์ได้ทำอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา นั่นอาจทำให้ใครๆ มองว่า ฟาร์มลุงรีย์ คือโมเดลที่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ และลุงรีย์-ชารีย์ บุญญวินิจ ชายหนุ่มผู้ปลุกปั้นฟาร์มแห่งนี้ สมควรเป็นเจ้าของรอยยิ้มที่ภูมิใจในความเก่งกาจของตัวเอง ใช่, จนกระทั่งเขาถูกถามว่า “คุณเคยนึกถึงไส้เดือนของคุณไหม” “ผมหากินกับไส้เดือน พูดได้ว่าไส้เดือนส่งเรียนปริญญาโท ไส้เดือนให้ทุนมาปรับปรุงฟาร์ม แต่ผมก็ลืมไส้เดือน ลืมเพราะคิดว่าตัวเราเก่งไง ลืมเพราะคิดว่าเราทำอะไรได้อีกตั้งเยอะ ลืมจนกว่าจะมีใครมาสะกิด” เขายอมรับว่า แม้จะทำฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนมากว่า 5 ปี แต่กลับรู้สึกเคอะเขินทุกครั้งที่บอกใครๆ ว่าเขาเป็นนักเลี้ยงไส้เดือน แต่หลังจากคำถามข้อนั้นที่เปิดให้เขา ‘เห็นแจ้ง’ ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ วันนี้ เขาสามารถตอบทุกคนอย่างภาคภูมิใจ ว่าไส้เดือนคือเครื่องจักรชีวภาพที่สร้างคุณค่าให้ผืนแผ่นดิน และเขาจะเป็นคนที่จะพาไส้เดือนไปสร้างคุณค่าให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่คือเรื่องราวก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของเขา คำถามบนความไม่พอ ปี 2013 ชารีย์เริ่มต้นสร้างฟาร์มลุงรีย์เมื่ออายุ 25 ปี และจัดหมวดฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนในที่จอดรถไว้ในฐานะงานอดิเรกที่เขาได้สนุกไปกับการทดลองใช้ไส้เดือนมาทำขยะให้กลายเป็นปุ๋ย แต่ด้วยความที่จบด้านการออกแบบ เปิดโรงเรียนสอนศิลปะ เขาจึงหยิบทักษะด้านดีไซน์มาเล่าเรื่องไส้เดือนที่คนส่วนใหญ่เกลียดกลัวให้ดูเป็นมิตรมากขึ้น ไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนภาพเกษตรกรในเสื้อม่อฮ่อม ให้กลายเป็นเด็กหนุ่มนุ่งยีนส์ลุคเท่ เขาบอกว่าเป้าหมายในตอนนั้น คือทำเกษตรให้มีดีไซน์ หมัดแรกที่ปล่อยออกไปได้ผลไม่น้อย […]

คุณปริวัฒน์ วิเชียรโชติ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองคือหนึ่งในความฝันที่คนรุ่นใหม่หลายคนวาดหวังเอาไว้ แน็ก-ปริวัฒน์ วิเชียรโชติ เจ้าของ If you want hostel เองก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น เขาปลุกปั้นธุรกิจโฮสเทลแห่งนี้ขึ้นมาจากความฝันและความหวังที่จะใช้ชีวิตอย่างรื่นรมย์ในบ้านเกิดของตนเอง จากเด็กหนุ่มที่ไม่คิดว่าชีวิตจะต้องยุ่งเกี่ยวกับการตลาด แน็กได้สร้างธุรกิจของเขาจากการทดลอง ผสมกับแพสชั่นและแรงบันดาลใจของคนรอบข้าง เขาก็หอบก้อนความฝันกลับไปยังสุโขทัย ซึ่งมันก็เหมือนจะสำเร็จแบบที่คิดไว้ จากจุดเริ่มต้นอันหอมหวาน ความสำเร็จจากการสร้างโฮสเทลที่แตกต่างกลายเป็นกลับดักหลุมใหญ่ เมื่อวันหนึ่งเขาค้นพบว่าความสำเร็จในทีแรกไม่ได้ยั่งยืนอะไร แน็กตัดสินใจออกเดินทางตามหาแนวทางให้การทำให้ธุรกิจเขายังคงอยู่ได้ จนในที่สุดเขาก็มาเจอ ‘พอแล้วดี the creator’ ความรื่นรมย์อันหอมหวาน กับภูมิต้านทานที่หายไป “เมื่อก่อนผมทำรายการทีวี เปิดบริษัททำสื่อโฆษณากับเพื่อนอยู่ในกรุงเทพฯ แต่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ชีวิตที่เราต้องการ เราก็เริ่มเขยิบตัวเองให้ไปเปิดร้านกาแฟอยู่อยุธยา แล้วรับงานน้อยลงๆ เพื่อดูว่าเราจะยังอยู่ได้ไหม ซึ่งตอนนั่นเราก็อยู่ได้ ก็เริ่มกระหยิ่มยิ้มย่องในใจ เลยตัดสินใจกลับไปเปิดโฮสเทลที่บ้านเกิด” ด้วยจุดร่วมหลายๆ อย่างของสุโขทัยและอยุธยา ทั้งสองจังหวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ  ทำให้แน็กรู้สึกว่า ถ้าธุรกิจโฮสเทลในอยุธยารุ่งเรือง ที่สุโขทัยก็น่าจะมีความเป็นไปได้ “เราเอาเงินที่ได้จากร้านกาแฟ ย้ายฐานการผลิตทั้งหมดกลับไปที่บ้าน เริ่มหาตึกกันแล้วก็สร้างเป็นโฮสเทล วางแผนรายรับรายจ่าย คำนวณง่ายๆ เลยว่าพนักงานกี่คน ค่าเช่าเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ต้องได้ลูกค้า 14-15 คนต่อวันถึงจะได้กำไรแล้วอยู่รอด ถ้า 10 คนถึงจะได้ทุน […]

คุณชญาน์วัต สว่างแจ้ง

“ ‘บุญ’ คือเหตุที่ทำไว้ในนาทีที่แล้ว และจะส่งผลในนาทีถัดไป หากเราสร้างเหตุที่ดี ผลที่ดีก็จะตามมา” วัต-ชญาน์วัต สว่างแจ้ง เจ้าของฟาร์มแพะนม บุญบูรณ์ฟาร์ม จากจังหวัดลำปาง บอกเล่าถึงที่มาของคำว่าบุญที่ ‘สมบูรณ์’ อยู่ในฟาร์มแห่งนี้ เพราะอดีตสถาปนิกหนุ่มที่หนีเมืองมาก่อร่างสร้างฟาร์มปศุสัตว์และหวังสร้างสมดุลให้ชีวิตเชื่ออย่างหนักแน่นว่า หากเขาสร้างเหตุปัจจัยที่ดี ชีวิตของเขา ฟาร์มเล็กๆ ที่เลี้ยงดูแพะอย่างดีตามศาสตร์พระราชา ธุรกิจผลิตภัณฑ์นมที่ปลุกปั้น และชุมชนรอบข้าง จะเติบโตร่วมกันไปได้อย่างยั่งยืน ทว่าการสร้างบุญเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ว่าไม่ใช่เพียงการสักแต่ว่าลงมือทำ หลังจากลองผิดลองถูกอยู่พักใหญ่ เจ้าของฟาร์มคนนี้พบว่าเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนล้วนถูกอธิบายไว้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการที่ทำให้เขาใช้เหตุและผลเป็น เห็นตัวเองชัด และรู้จักสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อผลที่ยั่งยืน บุญที่มากพอจะส่งผลให้เกิดผลที่ดี อยู่ในบรรทัดถัดจากนี้แล้ว จากชีวิตที่สมดุล สู่แนวคิดที่อยากให้ชุมชนสมบูรณ์ อีกสถาปนิกหนุ่มในเมืองที่อิ่มตัวทางอาชีพหลังมีปัญหาสุขภาพจากการทำงานหนัก วัตจึงตั้งโจทย์ให้อนาคตมองหาวิธีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ที่สามารถดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้นได้ไปพร้อมๆ กับการทำงาน มีความมั่นคงทางอาหาร และความเป็นอยู่ที่มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งคำตอบที่วัตเลือก คือวิถีเกษตรที่เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตสมดุลขึ้น “ในภาคเกษตรไม่ได้มีแค่ข้าวหรือผัก และเรามองว่า พืชพันธุ์ธัญญาหารมีคนทำมากแล้ว ในขณะที่ภาคปศุสัตว์กับภาคประมงยังมีน้อย คิดว่าตรงนี้เป็นช่องทางที่ทำให้เราอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องไปแข่งขันกับคนอื่นๆ มากนัก เราก็เลือกที่จะทำปศุสัตว์คือการเลี้ยงแพะ” หลังปักหมุดเริ่มต้นที่จังหวัดลำปาง วัตนับหนึ่งจากการเลี้ยงไก่เพื่อกินไข่ แต่การขายไข่ในท้องถิ่นที่ทุกบ้านเลี้ยงไก่เองไม่ใช่สิ่งที่คุ้มค่า เขาจึงเริ่มมองหาว่าชุมชนรอบๆ ต้องการอะไร และพบว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่แพ้นมวัวและผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการขาดที่ส่งผลให้ซูบผอมและไม่มีแรง เขาจึงตั้งเป้าที่ผลิตโปรตีนและแคลเซียมทางเลือกให้ชุมชน และแพะก็คือคำตอบที่เข้ามา “นมเป็นสิ่งที่ยังไม่ค่อยมีคนทำในเมืองไทย […]

คุณพรชัย แสนชัยชนะ

เพราะสวนแห่งนี้ เกี่ยวข้องกับความรู้ และความรัก ‘สวนสามไท’ คือชื่อสวนในสุพรรณบุรีที่รับบทเป็นทั้งพื้นที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็ก ปลูก-ปั้นโดย แสน-พรชัย แสนชัยชนะ อดีตหนุ่มนักโฆษณามือรางวัลที่ผันตัวมาอยู่กับธรรมชาติเป็นงานหลัก ทดลองทำเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และชวนลูกเล่นและเรียนรู้ไปกับธรรมชาติ และเมื่อเห็นพัฒนาการของลูกๆ ที่เปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ เขาก็ริเริ่มความฝันที่จะสร้างสวนแห่งนี้เป็นที่เรียนรู้ให้กับเด็ก (ไปจนถึงผู้ใหญ่) คนอื่นๆ ด้วย แต่หลายบรรทัดก่อนหน้ายังไม่ใช่บทสรุปของสวนแห่งนี้ และการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการความฝันระหว่างทางของสวนสามไท มีหลายเรื่องที่น่าสนใจทั้งในวิธีคิดและวิธีทำ ซึ่งจะอยู่ในหลายบรรทัดถัดจากนี้ เพราะสวนแห่งนี้ เกี่ยวข้องกับความรู้ และความรัก สวนในฝันที่ยังฝันไม่สุด แสนคือหนุ่มนักโฆษณาที่มีความเชื่อส่วนตัวว่าคนเราควรทำอะไรอย่างจริงจังทีละอย่าง เขาจึงตั้งใจว่าเมื่อทุ่มเทให้งานโฆษณาถึงปีที่ 20 จะลาออกแม้ยังไม่แน่ชัดว่าจะทำอะไรต่อไป และในปีที่ 19 ของการทำงาน เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ก็ส่งคำตอบมาให้เขา “ในปีที่ 19 น้ำท่วมบ้านจนชั้นล่างหายไป เราเป็นคนกรุงเทพฯ ที่ถูกสอนมาว่าหาเงินเยอะๆ แล้วจะมั่นคง แต่เป็นครั้งแรกที่เราไปซูเปอร์มาร์เก็ตสาขาไหนก็ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีอาหาร เป็นครั้งแรกที่เราได้รู้ว่าการมีเงินก็อาจไม่มีกิน ผมเลยศึกษาใหม่ว่าความมั่นคงที่แท้จริงคืออะไร เสิร์ชไปเรื่อยๆ ก็เจอข้อความขององค์การสหประชาชาติและคำว่าความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นคำฝรั่งที่ไม่มีคำไทยแปล แต่เมื่อไล่อ่านตำราฝรั่งเสร็จ เชื่อมไปเชื่อมมา มันกลับมาที่พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9  อ้าว! พระมหากษัตริย์เราตรัสมาก่อนตั้งกี่สิบปี […]