คิด แล้วลงมือทำ จากการที่รู้จักตัวเองตั้งแต่เรียนมัธยมว่าอยากเป็นศิลปิน เมื่อเข้าศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตามสิ่งที่รู้ตัวมาโดยตลอดว่า “ชอบการนำสิ่งที่เหลือใช้ หรือขยะมาสร้างงานศิลปะ” ส่วนหนึ่งเพราะต้องการให้ขยะหายไป และเอ๋จะเป็นคนทำให้หายไป ซึ่งจากการเริ่มงานในยุคแรกๆประมาณ 5 ปีที่แล้วในวัย 21-22 ปี ลักษณะงานขยะสร้างศิลปะจัดวาง (Installation Art) จะมีขนาดเพียง 1 เมตรกว่าๆ ไม่เกิน 2 เมตร แต่ปัจจุบันขนาดของงานใหญ่กว่า 2 เมตร สร้างสรรค์ผลงานให้แบรนด์แฟชั่น และห้างสรรพสินค้าชื่อดังโดยมีเอกลักษณ์เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น กระบวนการมีส่วนร่วม แม้ว่าการทำงานดังกล่าวจะอยู่ท่ามกลางเสียงที่บอกว่า เป็นศิลปินจะต้องตกงาน ศิลปินมีอีโก้สูง จึงบอกกับตัวเองว่า เมื่อจบออกมาจะต้องอยู่ให้ได้กับอาชีพนี้ เพราะมองว่าเป็นธุรกิจส่วนตัว ไม่มีอีโก้สูง จะทำอย่างไรไม่ให้ธุรกิจตัวเองเจ๊ง จึงมองโครงการ พอแล้วดี เพราะต้องการเข้ามาเรียนรู้หลักธุรกิจ “หลังจากที่เรียนจบมาแล้วก็เริ่มรู้จักคำว่า SDGs และได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังช่วยสิ่งแวดล้อมในโลกของเราได้ และก็พยายามทำงานให้เข้ากับ SDGs มาโดยตลอด นอกจากนี้เรื่องขยะ เมื่อทำไประยะหนึ่งเอ๋เห็นว่าไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ในการจะเปลี่ยนแปลง เรามีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักคนต่างๆ ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เพื่อการรวมพลังร่วมกัน จึงสมัครเข้าโครงการพอแล้วแล้วดี ” […]
Category Archives: ธุรกิจศิลปะและงานฝีมือ
คิด แล้วลงมือทำ เป็นความตั้งใจที่จะต้องกลับบ้านเกิดอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และเมื่อเข้าสู่วัย 30 ปี ก็ได้เวลากลับบ้านพร้อมองค์ความรู้บางส่วนเกี่ยวกับเรื่องผ้าย้อมธรรมชาติตั้งแต่ปี 2557 และคิดว่าน่าจะอยู่บ้านได้ด้วยอาชีพเกี่ยวกับผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ซึ่งมีเสน่ห์ และคนใช้ผ้าจำนวนหนึ่งน่าจะชอบผ้าประเภทนี้ จึงปักหลักที่บ้านเกิดตั้งแต่ปี 2559 “เนื่องจากพื้นฐานของเหมี่ยวไม่ใช่คนค้าขายมาก่อน เพราะฉะนั้นการทำผ้าภูครามเหมี่ยวไม่ได้ศึกษาตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภคเลย และที่สกลนครเองเหมี่ยวก็ไม่ได้รู้จักใครเลย จะมารู้จักมากขึ้นเมื่อออกบูธงานแสดงสินค้า แต่ก็เป็นความตั้งใจที่จะนำเรื่อง มองโลกให้สมดุลย์ และถ่ายทอดสิ่งนี้ลงในผ้าภูคราม” กระบวนการมีส่วนร่วม ภูคราม เป็นเหมือนงานวิจัยต้องมีการลองผิดลองถูก และต้องมีเรื่องการสร้างคนของภูคราม เราต้องสร้าง “คน” ที่รู้สึกเหมือนกับเราให้ได้มากที่สุด ภูครามจึงจะอยู่ได้ ไม่ใช่การขายสินค้าเท่านั้น การทำงานของภูครามคือการดึงศักยภาพของคนออกมาแบบปรุงแต่งน้อยที่สุด ทำให้สินค้าที่ทำงานกับชุมชนมีความ Unique ชัดเจนทั้งชุมชนและตัวเหมี่ยวเอง “สินค้าภูครามมีพลังของชุมชน มีแรงบันดาลใจจากภูพานและมีมุมมองของของเหมี่ยวที่เพียงแค่คอยนำทาง ผสมผสานกันอยู่ เพราะฉะนั้นจึงมีมากกว่า 1 ส่วนในเสื้อ 1 ตัว รวมถึงมีสัญชาตญาณข้างในไม่ปรุงแต่งของคนทำอยู่ด้วย ซึ่งในงาน 1 ชิ้นของภูครามจะมี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือหนึ่งเทือกเขาภูพานเป็นพลังสร้างแรงบันดาลใจ เพราะเราอยูที่นี่ เราอยากจะอนุรักษ์ที่นี่ทั้งสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม นอกจากนี้เราใช้คนภูพาน คนภูครามที่เราขัดเกลา ไม่ให้ลอกงาน […]
คิด แล้วลงมือทำ หลังจากตัดสินใจนับ 1 ใหม่ในชีวิตเมื่อปี 2548 ในวัย 30 ปีกว่าๆพร้อมกับการกลับบ้านเกิดเชียงใหม่ ก็เป็นเวลาที่เก่งค้นหา“ความสุขที่ยาวนานของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน” แล้วพบ “ตัวตน”ซึ่งเสมือนคุณค่าของตัวเอง มีความสุขในการทำงานที่ตัวเองชอบได้อยู่กับครอบครัวและการทำงานกับชุมชนใช้ความสุขสบายใจของทุกคนเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้ YANOเดินหน้ามาถึงวันนี้เป็นปีที่ 14 กระบวนการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกับชาวบ้าน จากการร่วมงานกับชาวบ้านเพียง 10 คนในฐานะที่เก่งเป็น OTOP มาก่อน และส่งงานประกวดทุกเวทีสามารถกู้ความเชื่อมั่นได้มากทีเดียวอีกทั้งเป็นการเรียนรู้ในการทำงานกับชาวบ้านนอกจากนี้ความโชคดีของเก่งคือคนที่ร่วมทำงานด้วยเป็นเสมือนญาติพี่น้องในหมู่บ้านดังนั้นเก่งไม่ได้ดูแลในฐานะนายจ้างลูกจ้างเพราะคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านเก่งให้ความเคารพในฐานะที่เป็นพี่น้องปู่ย่าตายายหมดเลย จากเริ่มต้น 10 คน ปัจจุบันกระจายไปยัง 4หมู่บ้านมีชาวบ้านกว่า 30 คนร่วมทำงานและเข้าสู่เรือนจำให้นักโทษได้ทำงาน ปัจจุบันผู้ร่วมทำงานกับ YANOมีมากถึง 300-400 คน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี “จากการทำงานร่วมกันเช่นนี้ พร้อมกระจายงานได้มากขึ้น เก่งพบว่าทุกคนมองหาคุณค่าตัวเอง เช่นเดียวกับเก่งที่มองหาคุณค่าตัวเองจากแบรนด์ YANO เช่นกัน” คิดถึงแบรนด์ Yano YANO Handicraft มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมด 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ของตกแต่งบ้านเคหะสิ่งทอ และของที่ระลึกในชุมชนที่เก่งอยู่ และรอบ ๆ […]
เมื่อนึกถึงกิจกรรมเพื่อสังคม เรามักจะมองเห็นภาพกลุ่มคนหรือองค์กรที่มีกำลังคนและกำลังเงินมากพอที่จะต่อยอดไปทำธุรกิจเพื่อสังคมได้ แต่กับ HEARTIST ธุรกิจเพื่อสังคมที่ส่งมอบผลงานอันเต็มไปด้วยหัวใจจากเหล่าศิลปินคนพิเศษ กลับถูกปลุกปั้นมาโดย โปสเตอร์-วริศรุตา ไม้สังข์ เด็กสาววัย 26 ปีคนหนึ่งที่หวังจะต่อยอดสิ่งที่เธอชอบไปสู่ชุมชนเท่านั้น ภาพเบื้องหน้าของ HEARTIST คือแบรนด์กระเป๋าผ้าแนวคิดดีที่มาเพิ่มคุณค่าและความหมายให้เหล่าเด็กพิเศษ นำเสนอผ่านการถักทอผ้าแต่ละผืนที่ประกอบขึ้นมาเป็นกระเป๋าแต่ละใบ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบื้องหลังการทำงานนั้น โปสเตอร์ต้องลงแรงลงใจไปเท่าไหร่ควบคู่ไปกับงานประจำ แม้ว่าจะเต็มไปด้วยความสุขใจ แต่ในวันหนึ่งเธอก็รู้ว่าร่างกายของเธอเริ่มประท้วงว่าอาจจะไม่ไหว “เราเป็นผู้ประกอบการที่ล้มเหลว” โปสเตอร์ให้คำนิยามการทำธุรกิจของตัวเองตลอด 2 ปีที่ผ่านมา “เราจะช่วยคนอื่นได้ยังไง ถ้าตัวเองยังแย่ลงทุกวัน มันเลยทำให้เราตามหาเส้นทางใหม่ของตนเองและของ HEARTIST ว่าควรจะเดินไปอย่างไร” ในวันที่โลกธุรกิจบอกเธอว่าแค่ความชอบและความสุขที่จะให้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ HEARTIST ยืนอยู่อย่างแข็งแกร่งได้ เธอตัดสินใจเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี เพื่อเรียนรู้และควานหาวิธีการที่ทำให้ HEARTIST อยู่ได้อย่างยั่งยืน งานที่เติมเต็มหัวใจตัวเอง “เรารู้สึกว่าตัวเองแตกต่าง ตั้งแต่เด็กเราเป็นคนอ่อนแอและขี้โรคมากๆ การทำงานอาสา มันช่วยให้เราได้เติมเต็มความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่นมาตลอด” นอกจากจะสุขใจที่ได้แบ่งปันให้กับสังคมรอบข้าง มันอย่างเป็นการเติมเต็มความรู้สึกของเธอด้วย จนวันหนึ่งเธอมีโอกาสได้เข้าร่วมทอผ้าบำบัดกับเด็กพิเศษของโครงการอรุโณทัย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของแม่ๆ ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ ซึ่งจะจัดกิจกรรมในการบำบัดโดยหนึ่งกิจกรรมสำคัญคือ การทอผ้า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้เธอมองเห็นความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าให้ผลงานของเด็กๆ เหล่านี้ “เราเข้าใจว่าเงินสำคัญ เลยคิดว่าจะช่วยทำให้มันได้เงิน ให้มันเป็นโมเดลให้ยั่งยืน ให้เขาเห็นว่าการทอผ้าบำบัด สามารถทำรายได้แล้วคืนสู่สังคมได้จริง ไม่เป็นแค่เรื่องในอุดมคติที่สุดท้ายแล้วก็ต้องแล้วรอคนมาบริจาคอีกที เราเลยเข้าไปคุยกับแม่ของเด็กๆ […]
ไม่มีใครรู้จักเราดีเท่าตัวเราเอง และใครที่ไหนจะมาเข้าใจธุรกิจของเรา ได้มากไปกว่าเราผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ ว่ากันตามเหตุผล มันก็ควรจะต้องเป็นอย่างนั้น แต่เชื่อไหมว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมาก และธุรกิจอีกไม่รู้เท่าไหร่ที่ไม่รู้จักแม้กระทั่งตัวเอง wear me natural แบรนด์เสื้อผ้าย้อมสีธรรมชาติของเปิ้ล พภัสสรณ์ จิรวราพันธ์ ก็เคยเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น เจ้าของแบรนด์สาวบอกว่าเธอผ่านการอบรมเชิงธุรกิจมามากมาย ทุกคอร์สบอกตรงกันว่าแบรนด์ของเธอไม่มี DNA ไร้อัตลักษณ์ และไม่มีอะไรต่างไปจากคู่แข่ง ช่วงเวลากว่า 4 ปีในธุรกิจนี้จึงเป็นการเดินไปอย่างไม่มีทิศทาง เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาอย่างไร้แผนที่ จนกระทั่งได้พบกับคำตอบที่อยู่กับเธอมาตลอดตั้งแต่วันแรกก้าว คำตอบที่ว่า คือธรรมชาติของความพอและความดี คำตอบที่รอการระเบิดข้างใน ชีวิตของพภัสสรณ์ในหนึ่งย่อหน้า, เธอคืออดีตแอร์โฮสเตสสาวที่เจ็บป่วยจากชีวิตการทำงาน แต่พอหนีมาเป็นมนุษย์เงินเดือนก็ยังถูกออฟฟิศซินโดรมเล่นงานอย่างต่อเนื่อง เธอจึงเบนเข็มไปตามหาชีวิตที่ดีกว่า ผ่านการศึกษาแนวคิดและลงมือทำตามวิถีธรรมชาติบำบัด ปลูกข้าวปลูกผักกินเอง หลีกเลี่ยงเคมีในชีวิตประจำวัน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกินอยู่ จนเมื่อได้รู้จักกับกลุ่มแม่บ้านย้อมผ้าสีธรรมชาติแห่งเมืองเชียงใหม่แล้วเกิดสนใจ จึงขอไปเรียนรู้และจับมือสัญญาใจให้เหล่าแม่ๆ ย้อมผ้าให้ พร้อมเริ่มต้นปลุกปั้นแบรนด์เสื้อผ้าย้อมสีธรรมชาติ ออกแบบเอง คิดเอง ขายเอง บางเดือนขายดิบขายดี บางทีก็ไม่ได้ยอดตามหวัง ยิ่งหลายปีผ่าน คำถามก็ยิ่งพอกพูนในใจ เมื่อได้ยินว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้ เธอย่อมไม่รีรอที่จะเข้ามาหาคำตอบ แต่แค่บทเรียนแรกของการทำความเข้าใจ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เธอก็ได้พบกับคำถามเดิมๆ ที่ไม่เคยตอบได้ […]
ชื่อ: นาย ปราชญ์ นิยมค้า บริษัท: Mann Craft ประเภทธุรกิจ: .ร้านจําหน่ายสินค้าหัตถกรรม ประเภทผ้าทอมือสีธรรมชาติ จังหวัด: สกลนคร Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ได้เริ่มต้นที่ตัวตนเองก่อนว่าชอบอะไรอยากทำอะไรเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง และเป็นอาชีพที่มีความหมาย มีคุณค่าอาจไม่ใช่ธุรกิจที่ทำรายได้ ทำกำไรมากมาย แต่ต้องเป็นธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุข ส่วนงานที่มีคุณค่า มีความหมาย คือการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนชนบทหลังจากเขาว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา อีกทั้งคงไว้ซึ่งทักษะฝีมืองานหัตถกรรมทอผ้า มัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติที่นับวันจะหายไปตามกาลเวลา ทั้งนี้คำนึงถึงตารางวิถีชุมชนเป็นหลัก คือ งานบุญประเพณีงานเกษตร ไม่เร่งรัดเวลา ให้ช่างทอทำงานอย่างมีความสุขสบายๆ (ว่างก็ทอ พอก็หยุด) Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ในวงการแฟชั่นสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย สินค้าlifestyle รวมถึงงานหัตถกรรมที่ผู้ประกอบการต้องการสร้างแบรนด์ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่หรือจุดเด่นของตนเองเพื่อให้ลูกค้าจดจำหรือสนใจในตัวสินค้าการทำงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้าทอมือ ต้องต่อยอดสร้างคาแรกเตอร์สินค้าให้เหมาะกับลูกค้าที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ให้หลากหลายขึ้นเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้และเพิ่มกลุ่มลูกค้ามากขึ้น Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน […]
ดอกไม้แต่ละชนิดจะเบ่งบานตามฤดูกาล เช่นเดียวกับธุรกิจของหนุ่มอีสานที่ชื่อ เล็ก-พงศ์พัฒน์ บรรณารักษ์ ที่ผ่านกาลเวลา ร่วงโรย เรียนรู้ เพื่อที่ผลิบานอีกครั้ง เล็กเป็นหนุ่มหนองคายที่ร่ำเรียนมาในสายอาชีวะ สาขาคหกรรม คลุกคลีกับงานจัดดอกไม้จนแทบเป็นส่วนเดียวกับชีวิต ความทะเยอะทะยานหลังเริ่มชีวิตวัยทำงานไม่นาน เล็กเลือกลาออกจากงานประจำไปเปิดร้านดอกไม้กับเพื่อนที่ฝั่งลาว สามปีหลังจากนั้น ธุรกิจของเล็กและเพื่อนจบลงด้วยปัญหาเชิงผลประโยชน์ ชีวิตในฐานะเจ้าของธุรกิจที่เวียงจันทน์กลายเป็นเพียงอดีตในชั่วข้ามคืน กลับมาไทยแบบเกือบมือเปล่า ชีวิตหนุ่มวัย 27 เคว้งคว้าง ออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อตามหาแรงบันดาลใจเท่าไหร่ก็ไม่เจอ จนกระทั่งกลับมาใช้ชีวิตเชื่องช้าอยู่ที่บ้านของตัวเอง จังหวัดหนองคาย มองเห็นกรอบรูปที่ติดบนฝาบ้าน ดอกไม้บนกำแพงบ้าน “พระบรมฉายาลักษณ์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโน้มตัวรับดอกบัวเหี่ยวๆ จากมือคุณยาย รูปนั้นเหมือนเปลี่ยนชีวิตผมทั้งชีวิตเลย ความรู้สึกวันนั้นคือ สิ่งที่เราวิ่งตามหาอยู่ จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด แต่เคยนึกว่ามันต้องยิ่งใหญ่ ต้องโต ต้องอลังการ ดอกไม้ต้องดูแพง ต้องแฟชั่น ต้องล้ำหน้า ต้องก้าวข้ามคนอื่น พอวันหนึ่งทุกอย่างมันสลายหายไป เหมือนก่อปราสาททรายแล้วคลื่นซัดต่อหน้าต่อตา พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านเหมือนเป็นแสงสว่าง ว่าชีวิตที่มีคุณค่า มันไม่ต้องใหญ่เลย” ภาพถ่ายภาพเดียว เป็นแสงนำทางชีวิตให้หนุ่มหนองคายคิดทำธุรกิจดอกไม้ที่บ้านเกิด แต่โจทย์ของธุรกิจไม่เคยง่าย ร้านดอกไม้ตามสมัยนิยมของเขาจึงไม่มีทั้งแผน ทั้งแนวทาง ไม่มีหลักการ ถือเป็นธุรกิจที่นำทางด้วยความปรารถนา แต่ปราศจากเกราะกำบังตน จนกระทั่งมีเพื่อนฝูงแนะนำให้รู้จักกับโครงการพอแล้วดี […]
บางคนมีทุกข์จากการทำงานที่ไม่ได้รัก ขณะที่บางคนทำงานที่รัก แต่เหตุใดกลับยังมีทุกข์… เรื่องราวการเติบโตของแบรนด์ต้นไม้จิ๋วนี้ น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี เช่นเดียวกับธุรกิจจำนวนมากที่กำเนิดด้วยความรัก miNATURE_c เริ่มต้นเรียบง่ายจากความหลงใหลในต้นไม้ของชายหนุ่ม บอส-ชัยพร เวชไพรัตน์ จากแค่ลงมือทำกระถาง เพาะกระบองเพชร สู่การเลี้ยงบอนไซจิ๋ว ลามไปถึงต้นไม้จิ๋วอื่นๆ บอสสะสมความรู้เรื่องการเลี้ยงต้นไม้ด้วยตัวเองเป็นเวลากว่าสามปีจนเริ่มเชี่ยวชาญ จังหวะนั้น ธุรกิจที่ตนรักก็นำพาเขามาเจอกับหญิงสาว เฟรม-รัตมา เกล้านพรัตน์ สองปีจากนั้น บอสจึงได้เฟรมเข้ามาช่วยเป็นทั้งลูกมือในการปลูก เป็นช่างภาพ และยังเติมเต็มในฐานะผู้ดูแลหน้าร้านออนไลน์ คอยสื่อสารและติดต่อกับลูกค้า ขณะที่ธุรกิจต้นไม้จิ๋วอายุห้าปีกว่าๆ กำลังโตไปได้สวยในแง่รายได้ บอสและเฟรมควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่ว่าใครต้องอิจฉา แต่ในเวลานั้น ทั้งคู่กลับเกิดคำถาม ทำไมทำสิ่งที่ชอบแล้วไม่มีความสุข? “เราทำเยอะไปรึเปล่า ทำไมยังเหนื่อยเท่าเดิม แต่ไม่มีอะไรที่เป็นระบบ ไม่มีอะไรรูปเป็นร่างชัดเจนสักที” บอสกับเฟรมช่วยกันบรรยายความทุกข์ที่จู่โจมพวกเขาตอนธุรกิจก้าวเข้าสู่ปีที่ห้า คำถามซึ่งย้อนแย้งกับช่วงเวลาขาขึ้นของการทำงาน “จริงๆ ปีที่แล้วไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ มันเป็นปีที่ดีมาก ออกสื่อเยอะมาก ตัวเงินก็ดีมาก แต่ว่าชีวิตก็รุงรังมาก และสิ่งที่คาดหวังกันไว้ว่าจะทำ กลับไม่ได้มีเวลาแบ่งปันไปทำเลย ทะเลาะกันบ้าง เพราะช่วงเวลาผ่อนคลายแทบไม่มี ตอนนั้นเรากลับมาถามตัวเองว่า ทำไมเราทำสิ่งที่เรารัก แต่กลายเป็นว่าเราหาความสุขกันไม่ได้เลย” พูดจบ หญิงสาวส่งต่อให้ชายหนุ่มผู้ริเริ่มแบรนด์เล่าต่อ “จะบอกว่าบ้างานก็ได้ คือผมรู้สึกว่าเราก็ทำของเราไป พัฒนาตัวเองไป จนลืมมองตัวเองว่าเฮ้ย […]
คิดแล้วลงมือทำ เมื่อเพื่อนเป็นเอ็นจีโอและทำงานกับชุมชนที่จังหวัดเลย มีโอกาสชวนแก้วไปพื้นที่ซึ่งทำผ้าฝ้ายขายอยู่แล้วในรูปแบบทอเป็นเมตรส่งขาย รายได้ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น แล้วชาวบ้านไม่รู้เลยว่าต้องขายใคร เพราะส่งโรงงานอย่างเดียว อีกทั้งไม่เคยเห็นเสื้อผ้าที่ตัดเสร็จแล้วจะออกมาเป็นอย่างไร โดยผ้าที่ขายในชุมชนขายไม่ถึง 200 บาทต่อเมตร แต่ถ้าผ้าแบบนี้มาขายกรุงเทพฯ เมตรละ 500 บาท คนทำผ้าก็น้อยงเรื่อย ๆ เพราะรายได้ไม่มาก และทำยาก จึงเข้าไปช่วยคิดราคาให้ใหม่ ราคาเพิ่มประมาณ 30% Folkcharm จึงเกิดขึ้นมา โดยที่ลูกแก้วเป็นคนกรุงเทพฯโดกำเนิด กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเข้าไปในพื้นที่ ให้ความรู้เรื่องดีไซน์ต่าง ๆ ทำงานกับชุมชนสร้างรายได้มากขึ้นให้คนทำและทอผ้า ก็มีการขยายกลุ่มไปที่หมู่บ้านอื่น รวมทั้งหมด 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ ทุกปีที่เราตัดเป็นคอลเลคชั่นใหม่ก็จะส่งไปให้ชาวบ้านเจ้าของผ้าลองใส่ เขาจะตื่นเต้นว่าขายเป็นพันเลยเหรอ เป็นการเสริมพลังให้ชาวบ้านแล้วดึงคนต่างชาติ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีไปเรียนรู้กับชาวบ้าน ซึ่งก็ทำให้ช่วยมีรายได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้ชาวบ้านเห็นว่า การทอผ้าฝ้ายมีคุณค่า ไม่ใช่เพียงการมีรายได้อย่างเดียว Folkcharm ได้เชื่อมโยงกับคนกรุงด้วยว่า ทำไมจะต้องซื้อผ้าฝ้ายทอมือด้วยราคาที่เหมาะสม โดยเราต้องเล่าถึงคุณภาพและเรื่องราว เพื่อให้เห็นคุณค่าการใช้ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของชุมชน คิดถึงแบรนด์ Folkcharm Folkcharm เป็น […]