ชื่อ: ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์ กำลังจะเปลี่ยนนามสกุลเป็น (เทพหัสดิน ณ อยุธยา) บริษัท: สวนบ้านแม่ ประเภทธุรกิจ: ร้านอาหาร(ธุรกิจเดิมพี่สาว) ร้านกาแฟ(กำลังปรับเปลี่ยนห้องครัวเดิม) ที่พัก(กำลังก่อสร้างปรับจากบ้านเดิม) และกำลังเปิดให้คนเข้าชมสวน จังหวัด: พังงา Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ก่อนทำธุรกิจ ให้ถามหาความสุขก่อนว่าสุขอยู่ตรงไหน (ความสุขที่ได้ในเริ่มต้น ) จากนั้นก็เริ่มมองหาสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข(ในการดำรงชีวิต)แบบพอมี พอกิน พออยู่และพอเอิ้อเฟื้อ หลังจากเรามีความสุขพื้นฐานแล้ว แฝงธุรกิจที่สร้างรายได้ลงในชีวิตประจำวัน ดำเนินชีวิตไป เราก็จะไม่รู้สึกว่ามันคืองานหรือ มันคือธุรกิจ แต่มันเป็นแค่ชิวิตประจำวัน ที่มีความสุข แล้วก็ค่อยๆต่อยอดไปเรื่อยๆ ด้วยวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ใช้วิถี และวิธี ของภูมิปัญญาชาวบ้าน ท้องถิ่น มาออกแบบให้อยู่ร่วมกับ สมัยใหม่ สร้างตราสัญลักษณ์ […]
Category Archives: รุ่นที่ ๑
ชื่อ: นส. แพรวพร สุขัษเฐียร บริษัท: บริษัท ใจบ้านสตูดิโอ จำกัด ประเภทธุรกิจ: บริษัทออกแบบ จังหวัด: เชียงใหม่ Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: การดำเนินชีวิต เริ่มต้นง่ายๆด้วยการใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ได้แก่ การวางแผนการใช้ชีวิตในทุกๆวัน การเดินทางไปทำงานด้วยมอเตอร์ไซค์ ถ้าบางวันจำเป็นจริงๆถึงจะใช้รถยนต์ การบริโภคที่ไม่ฟุ่มเฟือย พยายามซื้อของหรือจับจ่ายเท่าที่จำเป็น แบ่งปันให้เพื่อนหรือมิตรสหายตามโอกาสที่ทำได้ พยายามทำรากฐานของวันนี้ให้มั่นคงทั้งในแง่ความมั่นคงทางจิตใจและการวางแผนชีวิต เริ่มต้นจากตัวเอง การดำเนินธุรกิจ ตั้งใจให้เกิดผลตั้งแต่ตัวเราเอง การทำงานให้เต็มที่และคุ้มค่า การตั้งมั่นในการใช้ทรัพยากรที่จะเกิดขึ้นในโครงการ ผลที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม เพื่อให้โครงการที่เกิดขึ้นนั้นมีความมั่นคงและยั่งยืน Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: การทำงานของเรานั้น จะเน้นไปในเรื่องของผู้คน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) จึงจะเกิดขึ้นให้สอดคล้องตามหลักแนวคิดนี้ ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร พลังงานต่างๆให้คุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย […]
ชื่อ: คุณ อานุภาพ ล้อวงศ์งาม บริษัท: บริษัท บ้านริมแควแพริมน้ำ จำกัด ประเภทธุรกิจ: ที่พัก : รีสอร์ท โรงแรม จังหวัด: กาญจนบุรี Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท ได้นำหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ควบคู่กับหลักของพระพุทธศานา คือการดูแล รักษาตนเอง เทียบได้กับการที่มีภูมิคุ้มกันภายในที่ดี ควบคู่ไปกับการพิจารณาเพื่อพัฒนา อย่างมีเหตุผลโดยที่อยู่ในกรอบของความพอประมาณไม่เร่ง ไม่รีบ ไม่ก้าวกระโดดจนเกินตน พิจารณาสภาพการเศรษฐกิจให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่กู้ยืมเงินมาก่อหนี้สินจนล้นพ้นตัว เกินความสามารถตนที่ดูแลได้ ทำให้ บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทขนาด 100 ไร่ เพียงแห่งเดียวที่ไม่เคยมีทีมงานขาย (Sale Team) มาตลอด 34 ปี แต่ได้รับการพูดส่งต่อกันแบบปากต่อปาก (Words of Mouth) จากลูกค้าที่ได้รับการบริการจนรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวใหญ่ ที่ชื่อว่า […]
ชื่อ: ชัยนันท์ หาญยุทธ บริษัท: บริษัท ฟูด เมกเกอร์ จำกัด หจก.ธัญชนกพืชผล ประเภทธุรกิจ: ธุรกิจแปรรูปสินค้าทางการเกษตร (ลำไยและข้าวโพด) จังหวัด: น่าน Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: บริษัทมีกิจการจำหน่ายสินค้าทางเคมีภัณฑ์ ที่มียอดขายที่ดีมาก ๆ แต่ตัวกระผมมีแนวคิดว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเคมีไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงของการทำเกษตรแบบยังยืน จึงได้ตัดสินใจเลิกกิจการในส่วนของการจำหน่ายสินค้าเคมีภัณฑ์ และได้นำเอาหลักปรัชชาพอเพียงมาปรับใช้ในธุรกิจ โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับเกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ในรูปแบบที่ทางบริษัทเป็นผู้ให้ความรู้ ร่วมกับทางบริษัทพันธมิตร เพื่อสร้างเกษตรกรสมัยใหม่ Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: -การส่งเสริมและให้ความรู้กับเกษตรกรช่วยพัฒนาและต่อยอดธุรกิจในด้านคุณภาพและความสามารถในการเผชิญกับปัญญาที่เกษตรกรพบเจอได้เป็นอย่างดี เกษตรกรมีความเข้าใจในเกษตรเพิ่มขึ้นและตระหนักถึงโทษของสารเคมีและสามารถพัฒนาทักษะในการทำเกษตรแบบยั่งยืน สามารถเพิ่มผลผลิต และสามารถคัดสรรคุณภาพสินค้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ -มุ่งเป้าหมายที่คุณภาพ ไม่เพิ่มอุปสงค์โดยการลดราคา -ประสานหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานที่มีอยู่ในเมือง และสร้างประโยชน์ร่วมกันผ่านความคิดริเริ่มของภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: บริษัทนำกำไรที่ได้รับจากการทำธุรกิจช่วยเหลือและให้โอกาสในการสอนงานคนพิการให้มีอาชีพสามารถดูแลตัวเองได้ ในการสอนถักไม้กวาดดอกหญ้า […]
ชื่อ: นายอภิวรรษ สุขพ่วง บริษัท: ไร่สุขพ่วง ประเภทธุรกิจ: ศูนย์การเรียนรู้เกษตรตามแนวพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด: ราชบุรี Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ไร่สุขพ่วง (RAISUKPHOANG) ศูนย์การเรียนรู้ “อินทรีย์วิถีไทย (EarthSafe)” Mr.Aphiwat Sukphoang(Pott) เกษตรกรไทยรุ่นใหม่วัย 27 ปี แห่งไร่สุขพ่วง ไร่เกษตรอินทรีย์ตัวอย่างที่ตั้งอยู่ใน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ทางภาคตะวันตกของประเทศไทยและห่างจากกรุงเทพเพียง 2 ชม.เท่านั้น การเดินทางตามหาความสุขในชีวิตเด็กหนุ่มคนนี้ เริ่มขึ้นเมื่อPottเกิดในของครอบครัวชาวไร่ที่ยึดถือกันมาหลายรุ่น ก่อนที่จะหยุดการทำไร่ในรุ่นพ่อแม่ของPott แม้ว่าพ่อและแม่จะทำงานรับราชการ แต่ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้Pottเกิดความคิดที่จะผันตัวเองกลับคืนสู่สิ่งที่ปู่ย่าตายายได้เคยทำไว้ ไร่สุขพ่วงจึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำให้ชาวไร่รุ่นใหม่ได้ค้นพบความสุขของตัวเอง และพร้อมที่จะแบ่งปันความสุขนั้นไปยังผู้อื่น ปัจจุบัน ไร่สุขพ่วง ยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ “อินทรีย์วิถีไทย” ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ หรือ EarthSafe ซึ่งดำเนินการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐพอเพียง (Sufficiency Economy […]
ชื่อ: วิโรจน์ ฉิมมี บริษัท: บ้านไรไออรุณ ประเภทธุรกิจ: ที่พัก โฮมสเตย์ จังหวัด: ระนอง Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: “กลับสู่ท้องถิ่น แปรทรัพย์ในดิน พึ่งพิงตนเอง”นำความรู้ที่ร่ำเรียนมามาปรับใช้พัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นตามปรัชญาที่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะตนเอง Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: เพิ่มดีไซน์การออกแบบเข้าไปในอาชีพเกษตรกรของพ่อกับแม่ปรับใช้พัฒนาต่อยอดสร้างแบรนด์เล็กๆจากสองมือให้ค่อยๆค่อยๆเติบโตอย่างยั่งยืนในชื่อของบ้านไร่ไออรุณ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: 2 ปีที่กลับมาพัฒนาพื้นที่ตรงนี้มากกว่า ห้องนอน ห้องครัว ฯลฯ มากกว่า บ้านที่ได้มามันคือรอยยิ้มความสุขและความภาคภูมิใจของครอบครัวที่เราได้ช่วยกันสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้ดีขึ้นด้วยตัวเอง เรายังคงลงมือสร้างสรรค์ผลงานตรงนี้อยู่ทุกวันโดยความสุขมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินแต่สุขมันอยู่ที่เราได้แบ่งปันผักสดที่เรามั่นใจว่าปลอดสารพิษให้กับคนในชุมชนได้กิน หลายหลายอย่างก็คงต้องใช้เวลาโดย เชื่อมั่นสุดหัวใจว่าเราทุกคนในบ้านและในชุมชนจะต้องมีชีวิตที่ดีไปด้วยกัน จาก 100 คะแนนเต็ม คุณให้สัดส่วนคะแนนธุรกิจ/แบรนด์ของคุณ เท่าใด? Sufficiency Economy (เศรษฐกิจพอเพียง) Creative […]
ชื่อ: นาย ปราชญ์ นิยมค้า บริษัท: Mann Craft ประเภทธุรกิจ: .ร้านจําหน่ายสินค้าหัตถกรรม ประเภทผ้าทอมือสีธรรมชาติ จังหวัด: สกลนคร Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ได้เริ่มต้นที่ตัวตนเองก่อนว่าชอบอะไรอยากทำอะไรเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง และเป็นอาชีพที่มีความหมาย มีคุณค่าอาจไม่ใช่ธุรกิจที่ทำรายได้ ทำกำไรมากมาย แต่ต้องเป็นธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุข ส่วนงานที่มีคุณค่า มีความหมาย คือการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนชนบทหลังจากเขาว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา อีกทั้งคงไว้ซึ่งทักษะฝีมืองานหัตถกรรมทอผ้า มัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติที่นับวันจะหายไปตามกาลเวลา ทั้งนี้คำนึงถึงตารางวิถีชุมชนเป็นหลัก คือ งานบุญประเพณีงานเกษตร ไม่เร่งรัดเวลา ให้ช่างทอทำงานอย่างมีความสุขสบายๆ (ว่างก็ทอ พอก็หยุด) Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ในวงการแฟชั่นสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย สินค้าlifestyle รวมถึงงานหัตถกรรมที่ผู้ประกอบการต้องการสร้างแบรนด์ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่หรือจุดเด่นของตนเองเพื่อให้ลูกค้าจดจำหรือสนใจในตัวสินค้าการทำงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้าทอมือ ต้องต่อยอดสร้างคาแรกเตอร์สินค้าให้เหมาะกับลูกค้าที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ให้หลากหลายขึ้นเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้และเพิ่มกลุ่มลูกค้ามากขึ้น Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน […]
ชื่อ: คุณศิริวิมล กิตะพาณิชย์ บริษัท: บริษัท เซฟ ไลฟ์ จำกัด (ไร่รื่นรมย์) ประเภทธุรกิจ: ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่พัก ไร่เกษตรอินทรีย์ จังหวัด: เชียงราย Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ได้นำหลักของการปลูกพืชและทำไร่ผสมผสานอินทรีย์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยการให้พืชแต่ละเกื้อกูลกันไม่ทำพืชเชิงเดี่ยวตัวใดตัวหนึ่งและเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ชาวบ้านได้เข้ามาศึกษาพูดคุยไม่ปิดกั้นไม่มีค่าเข้าชมที่ไร่ไม่มีรั้วเพราะต้องการให้ชาวบ้านกล้าที่จะเข้ามาอดทนและขยันในการทำงานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: -เราได้นำการสร้างเรื่องราว story telling และการให้กำลังใจในการเล่าเรื่อง เกี่ยวกับพวกเรามาเป็นการแสดงเพื่อทำให้คนทั่วไปหรือลูกค้ามีความสนใจเกี่ยวกับเรามากขึ้น-การนำดีไซน์มาประยุกต์ใช้กับรูปหลักของไร่และตัวสินค้า เพื่อทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันมากขึ้นและเพื่อทำให้เป็นที่จดจำสำหรับลูกค้าอีกด้วย-การแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นสินค้าที่แปลกใหม่และสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพอีกทั้งยังมีการร่วมวิจัยกับสถาบันหรือกับหน่วยงานต่างๆ-การใช้สื่อออนไลน์ในการแสดงไร่และสินค้าของไร่เช่น Facebook Instagram เว็บไซต์ lnwshop และอื่นๆ-การสร้างคาแรกเตอร์หรืออัตลักษณ์ให้กับไร่รื่นรมย์-เป็นธุรกิจที่ทำแบบผสมผสานคือ ecotourism (การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ) ไร่เกษตรอินทรีย์ คาเฟ่ โฮมสเตย์ ศูนย์เรียนรู้ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ […]
ชื่อ: สุธีร์ ปรีชาวุฒิ บริษัท: สุธีร์ ออแกนิค ฟาร์ม ประเภทธุรกิจ: กลุ่มเกษตรกร จังหวัด: จันทบุรี Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ปัจจุบันสถานะของเราตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีภูมิคุ้มกันในระดับปัจจัย 4 ที่พร้อมแล้วในระดับหนึ่งแต่ความรู้ของเราอาจจะยังไม่ลงลึกไปถึงระดับเป็นหมอหรือครูสอนทุกๆคนได้ ดังนั้นในปัจจุบันการที่เราจะทำการใดๆเราจะแบ่งการลงมือทำเป็น 3 ขั้นตอนเสมอคือมีขั้นเรียนรู้/ทดลอง ขยายผลไปสู่รอบข้าง สุดท้ายมั่นใจจึงลงทุนเพิ่ม ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้เรามองว่าเป็นไปตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ในเงื่อนไขของด้านการสะสมความรู้ในการทำงานและใช้ชีวิต และเงื่อนไขด้านคุณธรรมที่เราจะไม่เอาเปรียบผู้บริโภคและเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และการทำงานทั้ง 3 ขั้นตอนของเราที่ค่อยๆเดินไปโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: เราไม่กล้าตัดสินว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือไม่ เพราะว่าสิ่งที่เราทำอยู่ล้วนมีมุมมองจากคนสองด้าน เราเพียงแต่นำเอาความรู้เก่ากลับมาใช้ในการทำมาหากินและการประกอบอาชีพ คนรุ่นเก่าอาจจะมองว่าอาชีพของเราธรรมดาแต่คนทำการตลาดอาจจะมองว่าเราทำอาชีพด้วยวิธีการสร้างสรรค์ก็มี แต่สิ่งที่ เราทำอยู่คือเราจะหากลยุทธ์ต่างๆมาสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสังคมเมืองและสังคมเกษตรกรรม เช่นการสร้างพื้นที่อาหารที่ดีและมีพื้นที่ให้คนได้เรียนรู้และมาทำความเข้าใจในธรรมชาติแบบของเรา สร้างวิธีการเรียนรู้เฉพาะตัว/เฉพาะถิ่นของเราเอง โดยร่วมมือกันกับคนภายนอกที่มองคนละมุมกับเรามาช่วยกันสร้างและบอกกล่าวให้คนอื่นๆได้รับรู้ไปด้วยกัน […]
ชื่อ: เอกกมล ธีปฏิกานนท์ และ นวลวรรณ สุพฤฒิพานิชย์ บริษัท: ร้านกาแฟละเลียด ประเภทธุรกิจ: ร้านกาแฟ จำหน่ายเมล็ดกาแฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการชงกาแฟ จังหวัด: กรุงเทพฯ Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: พวกเราปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตจากพนักงานเงินเดือนมาเริ่มธุรกิจตัวเองด้วยเหตุผลที่ว่าเราอยากมีความสุขและอิสระมากขึ้น ด้วยการเริ่มจากสิ่งที่เราถนัดและมีวัตถุดิบรวมถึงองค์ความรู้เพียงเล็กน้อยเป็นจุดเริ่มต้น เช่น เราชอบดื่มกาแฟ ได้มีโอกาสไปทำฟาร์มและชงกาแฟในคาเฟ่ที่ญี่ปุ่น และมีญาติที่ทำงานร่วมกับชาวเขาที่ปลูกกาแฟ เราเลยเริ่มต้นแบบทีละนิด ไม่เกินตัว ลงทุนเท่าที่เรามีและไม่สร้างหนี้ ลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ในช่วงแรกที่เริ่มเปิดได้คิดถึงแนวคิดเรื่องการนำเทรนด์ขอการทานกาแฟของต่างชาติสมัยใหม่ ที่กำลังนิยมทานกาแฟที่ระดับการคั่วไม่เข้ม เพื่อให้ได้รสชาติที่แท้จริงของกาแฟตามแหล่งปลูก จึงได้ลองใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการคั่วกาแฟให้ได้ตามแนวทางที่คิด และได้เริ่มออกแบบอุปกรณ์ขึ้นเองสำหรับใช้กับการชงกาแฟ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: สำหรับชุมชนที่อยู่อาศัยเราอาจไม่ได้ช่วยสนับสนุนและยกระดับแบบที่เห็นภาพชัด แต่เรามองว่าเราเหมือนคนกลางที่ช่วยทำให้คนรู้จักเมล็ดกาแฟไทยมากขึ้น ได้เห็นเรื่องราวการปลูกกาแฟของชาวบ้านทั้งชาวไทยและชาวเขา เป็นการช่วยสนับสนุนกาแฟที่ปลูกในป่าแบบไร้สารเคมีที่ชาวบ้านทำกันมากว่า […]
- 1
- 2