Category Archives: ธุรกิจเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม

คุณธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์

คิด แล้วลงมือทำ จากคนที่เรียนเรื่องการโรงแรมและทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาโดยตลอด โดยธนาวุฒิทำงานโรงแรม ภรรยาทำงานทัวร์ เมื่อถึงวัย 30 ปีก็เห็นว่า ประสบการณ์ และวัยที่สมควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจบริษัทท่องเที่ยวเล็กๆ ได้ แต่ต้องแตกต่างจากบริษัททัวร์เดิมๆ และอาจจะไม่ใช่จุดหมายปลายทางเดิมๆ ที่ลูกค้าต่างประเทศพูดติดปากคือ เที่ยวกรุงเทพฯ ภูเก็ต  เชียงใหม่ นั่นหมายถึงการท่องเที่ยวชุมชนใหม่ๆ ผู้คนในท้องถิ่น  นอนโฮมสเตย์  จึงเกิด Siam Rise Travel ขึ้นมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว  ซึ่งเป็นยุคแรกๆ ที่เกิดการท่องเที่ยวชุมชน ส่งผลให้ปัจจุบันการท่องเที่ยวแนวนี้ตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวในวงกว้าง และชุมชนเองก็พัฒนา เติบโตพร้อมกับการท่องเที่ยวแนวนี้ “เราทำงาน 2 แบบคือ ทัวร์แบบมีเส้นทางให้แล้ว กับท่องเที่ยวชุมชนที่เราจะต้องร่วมพัฒนากับชุมชน เลยมีคำถามว่าอยู่กลุ่มไหนแน่ Tech StartUp หรือไม่ Social Enterprise หรือไม่ บริษัททัวร์หรือไม่  นั่นคือคำถามแรก อีกคำถามหลังทำท่องเที่ยวชุมชนมา 3-4 ปีพบว่า มีชุมชนที่มีการพัฒนายั่งยืนจริงๆ ที่มองภาพรวมจะก้าวไปพร้อมกันน้อยมากคือไม่ถึง 5% เพราะอะไร ดังนั้น หากมาเรียนรู้เรื่องศาสตร์พระราชาจะเข้าใจตรงนี้ได้มากกว่า […]

คุณณัฐนิช กิตยานุรักษ์

คิด แล้วลงมือทำ หลังจากยุติการเป็นพนักงานประจำก็กลับมาอยู่บ้านเพราะพ่อแม่มีอายุมากขึ้นแล้ว เห็นที่นาของพ่อแม่ 4 ไร่ ก็คิดแบบคนโลกสวย อยากทำเกษตรกรรมแต่คงไม่ใช่การปลูกข้าวเพราะราคาตก มองหาพืชอื่น ๆซึ่งก็รู้ตัวว่าเป็นชอบกินเมลล่อน ซึ่งราคาแพง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการปลูกเมลล่อนจึงเริ่มต้นจากความชอบของนาเดียเองและหาประสบการณ์เรื่องการปลูกเมลล่อนด้วยการไปเป็นเกษตรกรสวนเมลล่อนอื่น ๆ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเป็นการลองผิดลองถูกในเรื่องเมลล่อน “การปลูกเมลล่อน เป็นพืชเชิงเดี่ยวมีข้อเสียมากมายในการปลูกพืชประเภทนี้ซ้ำ ๆ เกิดโรค และผลผลิตแย่ลงเกือบจะขายที่ทิ้งไปแล้ว แต่มาเจอ โครงการ พอ แล้ว ดีก่อน ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราคิดว่ารู้ดีมากแล้ว ไม่ใช่ เราไม่มีการประมาณตนเราไม่รู้เลยว่าพืชเชิงเดี่ยวมีความเสียหายอย่างไรจากการเรียนแล้วทำให้รู้ว่าเราต้องมีพืชหลายอย่างตามที่ตลาดต้องการกลายเป็น Northern Fruit Hub เพิ่ม ลำใย กระท้อนผลไม้เมืองเหนือครบวงจรและปรับเปลี่ยนเป็นผลไม้อินทรีย์ ตามมาตรฐาน” กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเปลี่ยนแนวทางเป็นผลไม้เมืองเหนือครบวงจรนาเดียไม่สามารถเดินไปคนเดียวได้ จะต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อน ๆ หลายคน ที่มีสินค้าและจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่มีความมุ่งมั่นเดียวกันก็จะสามารถมารวมกลุ่ม เพื่อตัดระบบคนกลางออกไปและขายในแบรนด์กลางของเราได้ การสื่อสารของเดียในกลุ่มชุมชน ในกลุ่ม Young Smart Famer เดียร์สามารถนำความเข้าใจไปเผยแพร่ให้ง่ายขึ้นมีตัวอย่างธุรกิจของเดียว่าเมื่อเราทำแบบนี้จะเป็นอย่างไรน่าจะช่วยให้คนอื่น ๆ เข้าใจ เข้าถึงได้มากขึ้น ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมตรงนี้มีมากขึ้น […]

คุณธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์

ชื่อ: ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์ กำลังจะเปลี่ยนนามสกุลเป็น (เทพหัสดิน ณ อยุธยา) บริษัท: สวนบ้านแม่ ประเภทธุรกิจ: ร้านอาหาร(ธุรกิจเดิมพี่สาว) ร้านกาแฟ(กำลังปรับเปลี่ยนห้องครัวเดิม) ที่พัก(กำลังก่อสร้างปรับจากบ้านเดิม) และกำลังเปิดให้คนเข้าชมสวน จังหวัด: พังงา Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ก่อนทำธุรกิจ ให้ถามหาความสุขก่อนว่าสุขอยู่ตรงไหน (ความสุขที่ได้ในเริ่มต้น ) จากนั้นก็เริ่มมองหาสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข(ในการดำรงชีวิต)แบบพอมี พอกิน พออยู่และพอเอิ้อเฟื้อ หลังจากเรามีความสุขพื้นฐานแล้ว แฝงธุรกิจที่สร้างรายได้ลงในชีวิตประจำวัน ดำเนินชีวิตไป เราก็จะไม่รู้สึกว่ามันคืองานหรือ มันคือธุรกิจ แต่มันเป็นแค่ชิวิตประจำวัน ที่มีความสุข แล้วก็ค่อยๆต่อยอดไปเรื่อยๆ ด้วยวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: ใช้วิถี และวิธี ของภูมิปัญญาชาวบ้าน ท้องถิ่น มาออกแบบให้อยู่ร่วมกับ สมัยใหม่ สร้างตราสัญลักษณ์ […]

คุณอาทิตย์ จันทร์นนทชัย

เรื่องราวของหนุ่มเมืองกรุงที่มีใจรักการเกษตร เลยหันมาทำธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกผัก อาจเป็นเรื่องที่ไม่ใหม่ และได้ยินกันจนชินชา แต่ความน่าสนใจในเรื่องราวของ โต-อาทิตย์ จันทร์นนทชัย หนุ่มครีเอทีฟเมืองกรุงที่ลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจชื่อ FARMTO (ฟาร์ม-โตะ) ร่วมกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ไม่ได้อยู่ที่แพสชั่น แรงบันดาลใจ หรือไฟฝันใดๆ แต่มันคือแนวคิดที่ช่วยประคองเกษตรกรอีกมากมายให้เติบโตไปด้วยกันผ่านแพลตฟอร์มที่อยากสร้างโอกาสและอนาคตให้กับเกษตรกร รวมไปถึงการสร้างชุมชนเกษตรอินทรีย์ให้มีตลาดรองรับที่แน่นอน ผ่านเทคโนโลยีที่ช่วยให้การส่งต่อ แบ่งปัน และเกื้อกูลกันและกันไม่ยากเย็นจนเกินไปนัก ระหว่างทางที่เต็มไปด้วยเสียงตอบรับ คำชื่นชม แรงเชียร์ และรางวัลที่ผลักให้เขาก้าวกระโดดไปได้ไกล แต่ในขณะเดียวกัน ความเหนื่อยหนักและภาระที่ไม่อาจผลักไสก็ทำให้พวกเขาสะดุดล้มหรือเดินเฉไปในทางอื่นบ้าง แต่สิ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพตั้งใจดีกลุ่มนี้ พบวิธีที่จะเดินตรงบนเส้นทางนี้ต่อไป คือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักที่ทำให้ความตั้งใจดี พอดิบพอดีกับวิถีที่ควรจะเป็น    ฝันโต ๆ ของโต ความฝันของโตเริ่มต้นจากซื้อที่ดินเล็กๆ เพื่อทำเกษตรอินทรีย์แถวย่านรังสิต ปลูกจนแล้วจนรอดมีผลผลิตขึ้นมาได้ เหลือกินเหลือใช้ในครอบครัวก็อยากแบ่งปันให้คนอื่น เลยไปเข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรของตำบล แล้วก็ได้เรียนรู้ความเจ็บปวดของเกษตรกรที่การขายผลผลิตอินทรีย์ เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย “ถ้าหากเราคิดโมเดลหรือวิธีการอะไรสักอย่างที่ผู้บริโภคมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเพาะปลูก เพื่อที่เขาจะได้ผลผลิตกลับไป แบบนี้จะดีไหม เป็นลักษณะคล้ายๆ กับสังคมแบ่งปันที่เราอยากให้เป็น ผ่านการร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตทางการเกษตร” โมเดลแรกของโตเริ่มด้วยการทำเพจเฟซบุ๊ก ปรากฏว่ามีเพื่อนอีกสองคนที่สนใจอยากทำสตาร์ตอัพด้านการเกษตร ทั้งสามเลยมาร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ ด้วยกันภายใต้ชื่อแบรนด์ฟาร์มโตะ เป้าหมายของแบรนด์คือการทำแพลตฟอร์มจับคู่เกษตรกรและผู้บริโภค แม้เอาเรื่องราวไปเล่าให้ใครฟังจะเจอคำตอบกลับมาว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ หรือ […]

คุณชารี บุญญวินิจ

ภาพของเกษตรกรในเมืองเปลี่ยนที่ดินไม่กี่ตารางวาให้กลายเป็นฟาร์มสุดเท่ หน้าตาของแบรนด์ที่มีลูกเล่นเกี่ยวกับไส้เดือนชวนให้จดจำ ความถี่ในการออกสื่อซ้ำๆ ตลอดหลายปี บวกรวมกับกระแสออร์แกนิกที่ช่วยต่อยอดให้แบรนด์ได้ทำอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา นั่นอาจทำให้ใครๆ มองว่า ฟาร์มลุงรีย์ คือโมเดลที่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ และลุงรีย์-ชารีย์ บุญญวินิจ ชายหนุ่มผู้ปลุกปั้นฟาร์มแห่งนี้ สมควรเป็นเจ้าของรอยยิ้มที่ภูมิใจในความเก่งกาจของตัวเอง ใช่, จนกระทั่งเขาถูกถามว่า “คุณเคยนึกถึงไส้เดือนของคุณไหม” “ผมหากินกับไส้เดือน พูดได้ว่าไส้เดือนส่งเรียนปริญญาโท ไส้เดือนให้ทุนมาปรับปรุงฟาร์ม แต่ผมก็ลืมไส้เดือน ลืมเพราะคิดว่าตัวเราเก่งไง ลืมเพราะคิดว่าเราทำอะไรได้อีกตั้งเยอะ ลืมจนกว่าจะมีใครมาสะกิด” เขายอมรับว่า แม้จะทำฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนมากว่า 5 ปี แต่กลับรู้สึกเคอะเขินทุกครั้งที่บอกใครๆ ว่าเขาเป็นนักเลี้ยงไส้เดือน แต่หลังจากคำถามข้อนั้นที่เปิดให้เขา ‘เห็นแจ้ง’ ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ วันนี้ เขาสามารถตอบทุกคนอย่างภาคภูมิใจ ว่าไส้เดือนคือเครื่องจักรชีวภาพที่สร้างคุณค่าให้ผืนแผ่นดิน และเขาจะเป็นคนที่จะพาไส้เดือนไปสร้างคุณค่าให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่คือเรื่องราวก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของเขา คำถามบนความไม่พอ ปี 2013 ชารีย์เริ่มต้นสร้างฟาร์มลุงรีย์เมื่ออายุ 25 ปี และจัดหมวดฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนในที่จอดรถไว้ในฐานะงานอดิเรกที่เขาได้สนุกไปกับการทดลองใช้ไส้เดือนมาทำขยะให้กลายเป็นปุ๋ย แต่ด้วยความที่จบด้านการออกแบบ เปิดโรงเรียนสอนศิลปะ เขาจึงหยิบทักษะด้านดีไซน์มาเล่าเรื่องไส้เดือนที่คนส่วนใหญ่เกลียดกลัวให้ดูเป็นมิตรมากขึ้น ไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนภาพเกษตรกรในเสื้อม่อฮ่อม ให้กลายเป็นเด็กหนุ่มนุ่งยีนส์ลุคเท่ เขาบอกว่าเป้าหมายในตอนนั้น คือทำเกษตรให้มีดีไซน์ หมัดแรกที่ปล่อยออกไปได้ผลไม่น้อย […]

คุณชัยนันท์ หาญยุทธ

ชื่อ: ชัยนันท์ หาญยุทธ บริษัท: บริษัท ฟูด เมกเกอร์ จำกัด หจก.ธัญชนกพืชผล ประเภทธุรกิจ: ธุรกิจแปรรูปสินค้าทางการเกษตร (ลำไยและข้าวโพด) จังหวัด: น่าน Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: บริษัทมีกิจการจำหน่ายสินค้าทางเคมีภัณฑ์ ที่มียอดขายที่ดีมาก ๆ แต่ตัวกระผมมีแนวคิดว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเคมีไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงของการทำเกษตรแบบยังยืน จึงได้ตัดสินใจเลิกกิจการในส่วนของการจำหน่ายสินค้าเคมีภัณฑ์ และได้นำเอาหลักปรัชชาพอเพียงมาปรับใช้ในธุรกิจ โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับเกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ในรูปแบบที่ทางบริษัทเป็นผู้ให้ความรู้ ร่วมกับทางบริษัทพันธมิตร เพื่อสร้างเกษตรกรสมัยใหม่ Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: -การส่งเสริมและให้ความรู้กับเกษตรกรช่วยพัฒนาและต่อยอดธุรกิจในด้านคุณภาพและความสามารถในการเผชิญกับปัญญาที่เกษตรกรพบเจอได้เป็นอย่างดี เกษตรกรมีความเข้าใจในเกษตรเพิ่มขึ้นและตระหนักถึงโทษของสารเคมีและสามารถพัฒนาทักษะในการทำเกษตรแบบยั่งยืน สามารถเพิ่มผลผลิต และสามารถคัดสรรคุณภาพสินค้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ -มุ่งเป้าหมายที่คุณภาพ ไม่เพิ่มอุปสงค์โดยการลดราคา -ประสานหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานที่มีอยู่ในเมือง และสร้างประโยชน์ร่วมกันผ่านความคิดริเริ่มของภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร A: บริษัทนำกำไรที่ได้รับจากการทำธุรกิจช่วยเหลือและให้โอกาสในการสอนงานคนพิการให้มีอาชีพสามารถดูแลตัวเองได้ ในการสอนถักไม้กวาดดอกหญ้า […]

คุณอภิวรรษ สุขพ่วง

ชื่อ: นายอภิวรรษ สุขพ่วง บริษัท: ไร่สุขพ่วง ประเภทธุรกิจ: ศูนย์การเรียนรู้เกษตรตามแนวพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด: ราชบุรี Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ไร่สุขพ่วง (RAISUKPHOANG) ศูนย์การเรียนรู้ “อินทรีย์วิถีไทย (EarthSafe)” Mr.Aphiwat Sukphoang(Pott) เกษตรกรไทยรุ่นใหม่วัย 27 ปี แห่งไร่สุขพ่วง ไร่เกษตรอินทรีย์ตัวอย่างที่ตั้งอยู่ใน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ทางภาคตะวันตกของประเทศไทยและห่างจากกรุงเทพเพียง 2 ชม.เท่านั้น การเดินทางตามหาความสุขในชีวิตเด็กหนุ่มคนนี้ เริ่มขึ้นเมื่อPottเกิดในของครอบครัวชาวไร่ที่ยึดถือกันมาหลายรุ่น ก่อนที่จะหยุดการทำไร่ในรุ่นพ่อแม่ของPott แม้ว่าพ่อและแม่จะทำงานรับราชการ แต่ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้Pottเกิดความคิดที่จะผันตัวเองกลับคืนสู่สิ่งที่ปู่ย่าตายายได้เคยทำไว้ ไร่สุขพ่วงจึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำให้ชาวไร่รุ่นใหม่ได้ค้นพบความสุขของตัวเอง และพร้อมที่จะแบ่งปันความสุขนั้นไปยังผู้อื่น ปัจจุบัน ไร่สุขพ่วง ยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ “อินทรีย์วิถีไทย” ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ หรือ EarthSafe ซึ่งดำเนินการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐพอเพียง (Sufficiency Economy […]

คุณชญาน์วัต สว่างแจ้ง

“ ‘บุญ’ คือเหตุที่ทำไว้ในนาทีที่แล้ว และจะส่งผลในนาทีถัดไป หากเราสร้างเหตุที่ดี ผลที่ดีก็จะตามมา” วัต-ชญาน์วัต สว่างแจ้ง เจ้าของฟาร์มแพะนม บุญบูรณ์ฟาร์ม จากจังหวัดลำปาง บอกเล่าถึงที่มาของคำว่าบุญที่ ‘สมบูรณ์’ อยู่ในฟาร์มแห่งนี้ เพราะอดีตสถาปนิกหนุ่มที่หนีเมืองมาก่อร่างสร้างฟาร์มปศุสัตว์และหวังสร้างสมดุลให้ชีวิตเชื่ออย่างหนักแน่นว่า หากเขาสร้างเหตุปัจจัยที่ดี ชีวิตของเขา ฟาร์มเล็กๆ ที่เลี้ยงดูแพะอย่างดีตามศาสตร์พระราชา ธุรกิจผลิตภัณฑ์นมที่ปลุกปั้น และชุมชนรอบข้าง จะเติบโตร่วมกันไปได้อย่างยั่งยืน ทว่าการสร้างบุญเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ว่าไม่ใช่เพียงการสักแต่ว่าลงมือทำ หลังจากลองผิดลองถูกอยู่พักใหญ่ เจ้าของฟาร์มคนนี้พบว่าเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนล้วนถูกอธิบายไว้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการที่ทำให้เขาใช้เหตุและผลเป็น เห็นตัวเองชัด และรู้จักสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อผลที่ยั่งยืน บุญที่มากพอจะส่งผลให้เกิดผลที่ดี อยู่ในบรรทัดถัดจากนี้แล้ว จากชีวิตที่สมดุล สู่แนวคิดที่อยากให้ชุมชนสมบูรณ์ อีกสถาปนิกหนุ่มในเมืองที่อิ่มตัวทางอาชีพหลังมีปัญหาสุขภาพจากการทำงานหนัก วัตจึงตั้งโจทย์ให้อนาคตมองหาวิธีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ที่สามารถดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้นได้ไปพร้อมๆ กับการทำงาน มีความมั่นคงทางอาหาร และความเป็นอยู่ที่มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งคำตอบที่วัตเลือก คือวิถีเกษตรที่เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตสมดุลขึ้น “ในภาคเกษตรไม่ได้มีแค่ข้าวหรือผัก และเรามองว่า พืชพันธุ์ธัญญาหารมีคนทำมากแล้ว ในขณะที่ภาคปศุสัตว์กับภาคประมงยังมีน้อย คิดว่าตรงนี้เป็นช่องทางที่ทำให้เราอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องไปแข่งขันกับคนอื่นๆ มากนัก เราก็เลือกที่จะทำปศุสัตว์คือการเลี้ยงแพะ” หลังปักหมุดเริ่มต้นที่จังหวัดลำปาง วัตนับหนึ่งจากการเลี้ยงไก่เพื่อกินไข่ แต่การขายไข่ในท้องถิ่นที่ทุกบ้านเลี้ยงไก่เองไม่ใช่สิ่งที่คุ้มค่า เขาจึงเริ่มมองหาว่าชุมชนรอบๆ ต้องการอะไร และพบว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่แพ้นมวัวและผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการขาดที่ส่งผลให้ซูบผอมและไม่มีแรง เขาจึงตั้งเป้าที่ผลิตโปรตีนและแคลเซียมทางเลือกให้ชุมชน และแพะก็คือคำตอบที่เข้ามา “นมเป็นสิ่งที่ยังไม่ค่อยมีคนทำในเมืองไทย […]

คุณศิริวิมล กิตะพาณิชย์

ชื่อ: คุณศิริวิมล กิตะพาณิชย์ บริษัท: บริษัท เซฟ ไลฟ์ จำกัด (ไร่รื่นรมย์) ประเภทธุรกิจ: ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่พัก ไร่เกษตรอินทรีย์ จังหวัด: เชียงราย Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ได้นำหลักของการปลูกพืชและทำไร่ผสมผสานอินทรีย์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยการให้พืชแต่ละเกื้อกูลกันไม่ทำพืชเชิงเดี่ยวตัวใดตัวหนึ่งและเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ชาวบ้านได้เข้ามาศึกษาพูดคุยไม่ปิดกั้นไม่มีค่าเข้าชมที่ไร่ไม่มีรั้วเพราะต้องการให้ชาวบ้านกล้าที่จะเข้ามาอดทนและขยันในการทำงานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: -เราได้นำการสร้างเรื่องราว story telling และการให้กำลังใจในการเล่าเรื่อง เกี่ยวกับพวกเรามาเป็นการแสดงเพื่อทำให้คนทั่วไปหรือลูกค้ามีความสนใจเกี่ยวกับเรามากขึ้น-การนำดีไซน์มาประยุกต์ใช้กับรูปหลักของไร่และตัวสินค้า เพื่อทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันมากขึ้นและเพื่อทำให้เป็นที่จดจำสำหรับลูกค้าอีกด้วย-การแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นสินค้าที่แปลกใหม่และสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพอีกทั้งยังมีการร่วมวิจัยกับสถาบันหรือกับหน่วยงานต่างๆ-การใช้สื่อออนไลน์ในการแสดงไร่และสินค้าของไร่เช่น Facebook Instagram เว็บไซต์ lnwshop และอื่นๆ-การสร้างคาแรกเตอร์หรืออัตลักษณ์ให้กับไร่รื่นรมย์-เป็นธุรกิจที่ทำแบบผสมผสานคือ ecotourism (การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ) ไร่เกษตรอินทรีย์ คาเฟ่ โฮมสเตย์ ศูนย์เรียนรู้ Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ […]

คุณสุธีร์ – ศิริพรรณ ปรีชาวุฒิ

ชื่อ: สุธีร์   ปรีชาวุฒิ บริษัท: สุธีร์ ออแกนิค ฟาร์ม ประเภทธุรกิจ: กลุ่มเกษตรกร จังหวัด: จันทบุรี Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: ปัจจุบันสถานะของเราตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีภูมิคุ้มกันในระดับปัจจัย 4 ที่พร้อมแล้วในระดับหนึ่งแต่ความรู้ของเราอาจจะยังไม่ลงลึกไปถึงระดับเป็นหมอหรือครูสอนทุกๆคนได้ ดังนั้นในปัจจุบันการที่เราจะทำการใดๆเราจะแบ่งการลงมือทำเป็น 3 ขั้นตอนเสมอคือมีขั้นเรียนรู้/ทดลอง ขยายผลไปสู่รอบข้าง สุดท้ายมั่นใจจึงลงทุนเพิ่ม   ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้เรามองว่าเป็นไปตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ในเงื่อนไขของด้านการสะสมความรู้ในการทำงานและใช้ชีวิต และเงื่อนไขด้านคุณธรรมที่เราจะไม่เอาเปรียบผู้บริโภคและเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และการทำงานทั้ง 3 ขั้นตอนของเราที่ค่อยๆเดินไปโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: เราไม่กล้าตัดสินว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือไม่ เพราะว่าสิ่งที่เราทำอยู่ล้วนมีมุมมองจากคนสองด้าน เราเพียงแต่นำเอาความรู้เก่ากลับมาใช้ในการทำมาหากินและการประกอบอาชีพ คนรุ่นเก่าอาจจะมองว่าอาชีพของเราธรรมดาแต่คนทำการตลาดอาจจะมองว่าเราทำอาชีพด้วยวิธีการสร้างสรรค์ก็มี แต่สิ่งที่ เราทำอยู่คือเราจะหากลยุทธ์ต่างๆมาสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสังคมเมืองและสังคมเกษตรกรรม เช่นการสร้างพื้นที่อาหารที่ดีและมีพื้นที่ให้คนได้เรียนรู้และมาทำความเข้าใจในธรรมชาติแบบของเรา สร้างวิธีการเรียนรู้เฉพาะตัว/เฉพาะถิ่นของเราเอง โดยร่วมมือกันกับคนภายนอกที่มองคนละมุมกับเรามาช่วยกันสร้างและบอกกล่าวให้คนอื่นๆได้รับรู้ไปด้วยกัน […]