คิด แล้วลงมือทำ จากการที่รู้จักตัวเองตั้งแต่เรียนมัธยมว่าอยากเป็นศิลปิน เมื่อเข้าศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตามสิ่งที่รู้ตัวมาโดยตลอดว่า “ชอบการนำสิ่งที่เหลือใช้ หรือขยะมาสร้างงานศิลปะ” ส่วนหนึ่งเพราะต้องการให้ขยะหายไป และเอ๋จะเป็นคนทำให้หายไป ซึ่งจากการเริ่มงานในยุคแรกๆประมาณ 5 ปีที่แล้วในวัย 21-22 ปี ลักษณะงานขยะสร้างศิลปะจัดวาง (Installation Art) จะมีขนาดเพียง 1 เมตรกว่าๆ ไม่เกิน 2 เมตร แต่ปัจจุบันขนาดของงานใหญ่กว่า 2 เมตร สร้างสรรค์ผลงานให้แบรนด์แฟชั่น และห้างสรรพสินค้าชื่อดังโดยมีเอกลักษณ์เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น กระบวนการมีส่วนร่วม แม้ว่าการทำงานดังกล่าวจะอยู่ท่ามกลางเสียงที่บอกว่า เป็นศิลปินจะต้องตกงาน ศิลปินมีอีโก้สูง จึงบอกกับตัวเองว่า เมื่อจบออกมาจะต้องอยู่ให้ได้กับอาชีพนี้ เพราะมองว่าเป็นธุรกิจส่วนตัว ไม่มีอีโก้สูง จะทำอย่างไรไม่ให้ธุรกิจตัวเองเจ๊ง จึงมองโครงการ พอแล้วดี เพราะต้องการเข้ามาเรียนรู้หลักธุรกิจ “หลังจากที่เรียนจบมาแล้วก็เริ่มรู้จักคำว่า SDGs และได้รู้ว่าสิ่งที่กำลังช่วยสิ่งแวดล้อมในโลกของเราได้ และก็พยายามทำงานให้เข้ากับ SDGs มาโดยตลอด นอกจากนี้เรื่องขยะ เมื่อทำไประยะหนึ่งเอ๋เห็นว่าไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ในการจะเปลี่ยนแปลง เรามีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักคนต่างๆ ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เพื่อการรวมพลังร่วมกัน จึงสมัครเข้าโครงการพอแล้วแล้วดี ” […]
Category Archives: รุ่นที่ ๔
คิด แล้วลงมือทำ เป็นความตั้งใจที่จะต้องกลับบ้านเกิดอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และเมื่อเข้าสู่วัย 30 ปี ก็ได้เวลากลับบ้านพร้อมองค์ความรู้บางส่วนเกี่ยวกับเรื่องผ้าย้อมธรรมชาติตั้งแต่ปี 2557 และคิดว่าน่าจะอยู่บ้านได้ด้วยอาชีพเกี่ยวกับผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ซึ่งมีเสน่ห์ และคนใช้ผ้าจำนวนหนึ่งน่าจะชอบผ้าประเภทนี้ จึงปักหลักที่บ้านเกิดตั้งแต่ปี 2559 “เนื่องจากพื้นฐานของเหมี่ยวไม่ใช่คนค้าขายมาก่อน เพราะฉะนั้นการทำผ้าภูครามเหมี่ยวไม่ได้ศึกษาตลาด หรือพฤติกรรมผู้บริโภคเลย และที่สกลนครเองเหมี่ยวก็ไม่ได้รู้จักใครเลย จะมารู้จักมากขึ้นเมื่อออกบูธงานแสดงสินค้า แต่ก็เป็นความตั้งใจที่จะนำเรื่อง มองโลกให้สมดุลย์ และถ่ายทอดสิ่งนี้ลงในผ้าภูคราม” กระบวนการมีส่วนร่วม ภูคราม เป็นเหมือนงานวิจัยต้องมีการลองผิดลองถูก และต้องมีเรื่องการสร้างคนของภูคราม เราต้องสร้าง “คน” ที่รู้สึกเหมือนกับเราให้ได้มากที่สุด ภูครามจึงจะอยู่ได้ ไม่ใช่การขายสินค้าเท่านั้น การทำงานของภูครามคือการดึงศักยภาพของคนออกมาแบบปรุงแต่งน้อยที่สุด ทำให้สินค้าที่ทำงานกับชุมชนมีความ Unique ชัดเจนทั้งชุมชนและตัวเหมี่ยวเอง “สินค้าภูครามมีพลังของชุมชน มีแรงบันดาลใจจากภูพานและมีมุมมองของของเหมี่ยวที่เพียงแค่คอยนำทาง ผสมผสานกันอยู่ เพราะฉะนั้นจึงมีมากกว่า 1 ส่วนในเสื้อ 1 ตัว รวมถึงมีสัญชาตญาณข้างในไม่ปรุงแต่งของคนทำอยู่ด้วย ซึ่งในงาน 1 ชิ้นของภูครามจะมี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือหนึ่งเทือกเขาภูพานเป็นพลังสร้างแรงบันดาลใจ เพราะเราอยูที่นี่ เราอยากจะอนุรักษ์ที่นี่ทั้งสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม นอกจากนี้เราใช้คนภูพาน คนภูครามที่เราขัดเกลา ไม่ให้ลอกงาน […]
คิด แล้วลงมือทำ ต้นทางของกาแฟสำหรับแอ้ อาจจะมาเริ่มต้นเมื่อมีครอบครัว เพราะพื้นฐานฝ่ายชายเป็นชาวอาข่า บนดอยช้าง เชียงราย ดังนั้นวิถีที่เกี่ยวเนื่องกับกาแฟจึงแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นโนฮาวใหม่ๆ หรือภูมิปัญญาจากปราชญ์กาแฟก็มีมากมาย มีอัตตลักษณ์กาแฟในเรื่อง Full Body และ Fruity ที่อยากส่งต่อจากองค์ความรู้ของครอบครัวมีอยู่แล้ว น่าจะขยายไปพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียง ให้กาแฟไทยมีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ที่ชัดเจนในเวทีโลก กระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนปลูกกาแฟเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Me Thai Coffee ขณะนี้กำลังทำงานร่วมกับดร.สุทัศน์ รงรอง โดยจะต้องเก็บข้อมูลในพื้นที่ของเกษตรกรไร่กาแฟ ดิน เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลส่งดร.สุทัศน์ทำคิวอาร์โค้ด เพื่อจะได้ทราบว่ากาแฟมาจากที่ไหน เกษตรกรเป็นใคร สิ่งที่เราทำเป็นการร่วมมือทำงานกับเกษตรกรให้เขาทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งกาแฟที่ขายขายภายใต้แบรนด์ Me Thai Coffee เป็นความร่วมมือที่นำองค์ความรู้ และ Process ไปช่วยเกษตรกร แทนที่จะไปซื้อสินค้าอย่างเดียว คิดถึงแบรนด์ Me Thai Coffee อัตลักษณ์พิเศษของ Me Thai Coffee จะมีมากกว่าการคั่ว ซึ่งปกติขั้นตอนนี้ก็ถือว่าเป็นที่สุดของกาแฟ แต่ […]
คิด แล้วลงมือทำ หลังทำงานโฆษณาอย่างหนักจนถึงอายุ 30 ปี ได้หยุด เดินทางท่องเที่ยวพร้อมคิดอยากจะทำอะไรดี และมีโอกาสลงไปพังงา พบว่ามีตึกของตัวเองที่เคยให้อาสาสมัครสึนามิอยู่ และเมื่อเขากลับไปหมดแล้วตึกว่าง น่าจะทำอะไรได้บ้าง ก็เกิดเป็น Bread & Breakfast 11 ห้อง เมื่อ 9 ปีที่แล้ว จากนั้นเมื่อปี 2014 ก็เกิด Nautical Home ก็กลายเจ้าของธุรกิจที่พักมาโดยตลอด ซึ่งเป็นที่พักที่รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้แขกไปเก็บขยะโดยพนักงานเป็นคนขับรถพาไป “แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจอยู่แล้ว รู้สึกว่าทำดีอยู่แล้ว แต่พอนึกถึงในหลวงรัชกาลทรงสอนว่าการทำความดีนั้นยาก แต่สิ่งที่เราทำนั้นง่ายมากเลย แสดงว่าไม่ใช่แล้ว ต้องทำได้มากกว่านี้ ก็เข้าสู่โครงการ พอ แล้ว ดี เพราะอยากนำสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สอนมาประยุกต์ใช้ แล้วเรื่องที่พักที่ยากกว่าก็เกิดขึ้น เมื่อเล่าให้พี่หนุ่ยฟังถึงบ้านพักที่น่าน ที่เป็นบ้านพ่อแม่ตั้งใจซื้อที่ดินเล็ก ๆ เกือบ 2 ไร่ และสร้างไว้เพราะอยากอยู่ที่น่าน อยากมาเป็นคนที่นี่ ซึ่งสร้างตามที่คิดแล้วกลายเป็นบ้านหลังใหญ่เกินไป จึงมีความคิดว่าจะทำอะไรให้คนในพื้นที่น่านได้บ้าง นอกเหนือจากการที่เป็นคนกรุงเทพฯ มาซื้อที่ดินและสร้างบ้านที่น่าน […]
คิด แล้วลงมือทำ จากคนที่เรียนเรื่องการโรงแรมและทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาโดยตลอด โดยธนาวุฒิทำงานโรงแรม ภรรยาทำงานทัวร์ เมื่อถึงวัย 30 ปีก็เห็นว่า ประสบการณ์ และวัยที่สมควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจบริษัทท่องเที่ยวเล็กๆ ได้ แต่ต้องแตกต่างจากบริษัททัวร์เดิมๆ และอาจจะไม่ใช่จุดหมายปลายทางเดิมๆ ที่ลูกค้าต่างประเทศพูดติดปากคือ เที่ยวกรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ นั่นหมายถึงการท่องเที่ยวชุมชนใหม่ๆ ผู้คนในท้องถิ่น นอนโฮมสเตย์ จึงเกิด Siam Rise Travel ขึ้นมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นยุคแรกๆ ที่เกิดการท่องเที่ยวชุมชน ส่งผลให้ปัจจุบันการท่องเที่ยวแนวนี้ตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวในวงกว้าง และชุมชนเองก็พัฒนา เติบโตพร้อมกับการท่องเที่ยวแนวนี้ “เราทำงาน 2 แบบคือ ทัวร์แบบมีเส้นทางให้แล้ว กับท่องเที่ยวชุมชนที่เราจะต้องร่วมพัฒนากับชุมชน เลยมีคำถามว่าอยู่กลุ่มไหนแน่ Tech StartUp หรือไม่ Social Enterprise หรือไม่ บริษัททัวร์หรือไม่ นั่นคือคำถามแรก อีกคำถามหลังทำท่องเที่ยวชุมชนมา 3-4 ปีพบว่า มีชุมชนที่มีการพัฒนายั่งยืนจริงๆ ที่มองภาพรวมจะก้าวไปพร้อมกันน้อยมากคือไม่ถึง 5% เพราะอะไร ดังนั้น หากมาเรียนรู้เรื่องศาสตร์พระราชาจะเข้าใจตรงนี้ได้มากกว่า […]
คิดแล้วลงมือทำ จากวิชาความรู้ร่ำเรียนมาทางกายภาพบำบัด ทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน ประจำในห้องไอซียู ซึ่งคนไข้ที่อยู่ในห้องนี้หลายคนเหมือนคนนอนหลับ นักกายภาพฯจะรู้ว่า คนไข้จะต้องถูกจัดท่านอนให้เพื่อป้องกันการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หรือป้องกันแผลกดทับ ซึ่งหลังจากทำงานที่โรงพยาบาลก็ออกมาทำงานเองโดยทำหน้าที่เดิมในบ้านคนป่วย ซึ่งการจัดท่านอนแบบที่นักกายภาพทำจะต้องมีคนช่วย ซึ่งผู้นอนไม่สามารถจัดท่านอนด้วยตัวเองเพราะต้องใช้หมอนหลายใบ และก็เป็นที่ให้ชวกิจทำหมอนขึ้นมา 1 ใบ เรียกว่า “หมอนหมายเลข 9” “หมอนหมายเลข 9” จะช่วยให้ผู้นอนจัดท่านอนตัวเองได้ตามหลักขอตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาจัดให้ ก็สามารถจัดท่านอนของตัวเองได้ด้วยตัวเอง เลยเป็นที่มาของธุรกิจ Mr.Big เมื่อ 7 ปีที่แล้ว กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเริ่มเป็นธุรกิจก็พบว่ามีคนต้องการใช้นักกายภาพฯมากมาย ทั้งที่มาจากเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการรักษาสุขภาพท่านอนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาในโรงพยาบาลทำงานกับคนไข้ 8 คน/วัน แต่เมื่อออกมาทำหมอนขายในฐานะนักกายภาพฯ เจอคนนับ 20-30 คน ถ้าออกงานแสดงสินค้าเจอคนเป็นร้อย จึงคิดคิดว่าบทบาทนักกายภาพบำบัดควรมีกระการมีส่วนร่วม มีคนทำเยอะขึ้น เพราะคนไข้เราอยู่นอกโรงพยาบาลเต็มไปหมด เพราะเวลาเจอคนต่างๆ ก็จะบอกว่า ปวดตรงนั้น ปวดตรงนี้ ต้องนอนท่าไหน ซึ่งทุกคนกล้าคุยเพราะเราบอกว่า เป็นนักกายภาพบำบัด และแนะว่าควรจะทำอย่างไร ถึงตรงนี้คิดว่าเราไม่ได้รักษาปลายทาง แต่ได้ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้คนทั่วไป คิดถึงแบรนด์ Mr.Big เครื่องนอนที่เหมาะกับสรีระของผู้ใช้รวมถึงท่านอนที่จะช่วยนอนสบาย โดยจะแนะนำให้เลือกด้วย […]
คิด แล้วลงมือทำ หลังจากยุติการเป็นพนักงานประจำก็กลับมาอยู่บ้านเพราะพ่อแม่มีอายุมากขึ้นแล้ว เห็นที่นาของพ่อแม่ 4 ไร่ ก็คิดแบบคนโลกสวย อยากทำเกษตรกรรมแต่คงไม่ใช่การปลูกข้าวเพราะราคาตก มองหาพืชอื่น ๆซึ่งก็รู้ตัวว่าเป็นชอบกินเมลล่อน ซึ่งราคาแพง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการปลูกเมลล่อนจึงเริ่มต้นจากความชอบของนาเดียเองและหาประสบการณ์เรื่องการปลูกเมลล่อนด้วยการไปเป็นเกษตรกรสวนเมลล่อนอื่น ๆ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเป็นการลองผิดลองถูกในเรื่องเมลล่อน “การปลูกเมลล่อน เป็นพืชเชิงเดี่ยวมีข้อเสียมากมายในการปลูกพืชประเภทนี้ซ้ำ ๆ เกิดโรค และผลผลิตแย่ลงเกือบจะขายที่ทิ้งไปแล้ว แต่มาเจอ โครงการ พอ แล้ว ดีก่อน ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราคิดว่ารู้ดีมากแล้ว ไม่ใช่ เราไม่มีการประมาณตนเราไม่รู้เลยว่าพืชเชิงเดี่ยวมีความเสียหายอย่างไรจากการเรียนแล้วทำให้รู้ว่าเราต้องมีพืชหลายอย่างตามที่ตลาดต้องการกลายเป็น Northern Fruit Hub เพิ่ม ลำใย กระท้อนผลไม้เมืองเหนือครบวงจรและปรับเปลี่ยนเป็นผลไม้อินทรีย์ ตามมาตรฐาน” กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเปลี่ยนแนวทางเป็นผลไม้เมืองเหนือครบวงจรนาเดียไม่สามารถเดินไปคนเดียวได้ จะต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อน ๆ หลายคน ที่มีสินค้าและจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่มีความมุ่งมั่นเดียวกันก็จะสามารถมารวมกลุ่ม เพื่อตัดระบบคนกลางออกไปและขายในแบรนด์กลางของเราได้ การสื่อสารของเดียในกลุ่มชุมชน ในกลุ่ม Young Smart Famer เดียร์สามารถนำความเข้าใจไปเผยแพร่ให้ง่ายขึ้นมีตัวอย่างธุรกิจของเดียว่าเมื่อเราทำแบบนี้จะเป็นอย่างไรน่าจะช่วยให้คนอื่น ๆ เข้าใจ เข้าถึงได้มากขึ้น ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมตรงนี้มีมากขึ้น […]
คิด แล้วลงมือทำ หลังจากตัดสินใจนับ 1 ใหม่ในชีวิตเมื่อปี 2548 ในวัย 30 ปีกว่าๆพร้อมกับการกลับบ้านเกิดเชียงใหม่ ก็เป็นเวลาที่เก่งค้นหา“ความสุขที่ยาวนานของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน” แล้วพบ “ตัวตน”ซึ่งเสมือนคุณค่าของตัวเอง มีความสุขในการทำงานที่ตัวเองชอบได้อยู่กับครอบครัวและการทำงานกับชุมชนใช้ความสุขสบายใจของทุกคนเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้ YANOเดินหน้ามาถึงวันนี้เป็นปีที่ 14 กระบวนการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกับชาวบ้าน จากการร่วมงานกับชาวบ้านเพียง 10 คนในฐานะที่เก่งเป็น OTOP มาก่อน และส่งงานประกวดทุกเวทีสามารถกู้ความเชื่อมั่นได้มากทีเดียวอีกทั้งเป็นการเรียนรู้ในการทำงานกับชาวบ้านนอกจากนี้ความโชคดีของเก่งคือคนที่ร่วมทำงานด้วยเป็นเสมือนญาติพี่น้องในหมู่บ้านดังนั้นเก่งไม่ได้ดูแลในฐานะนายจ้างลูกจ้างเพราะคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านเก่งให้ความเคารพในฐานะที่เป็นพี่น้องปู่ย่าตายายหมดเลย จากเริ่มต้น 10 คน ปัจจุบันกระจายไปยัง 4หมู่บ้านมีชาวบ้านกว่า 30 คนร่วมทำงานและเข้าสู่เรือนจำให้นักโทษได้ทำงาน ปัจจุบันผู้ร่วมทำงานกับ YANOมีมากถึง 300-400 คน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี “จากการทำงานร่วมกันเช่นนี้ พร้อมกระจายงานได้มากขึ้น เก่งพบว่าทุกคนมองหาคุณค่าตัวเอง เช่นเดียวกับเก่งที่มองหาคุณค่าตัวเองจากแบรนด์ YANO เช่นกัน” คิดถึงแบรนด์ Yano YANO Handicraft มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมด 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ของตกแต่งบ้านเคหะสิ่งทอ และของที่ระลึกในชุมชนที่เก่งอยู่ และรอบ ๆ […]
คิดแล้วลงมือทำ เมื่อเพื่อนเป็นเอ็นจีโอและทำงานกับชุมชนที่จังหวัดเลย มีโอกาสชวนแก้วไปพื้นที่ซึ่งทำผ้าฝ้ายขายอยู่แล้วในรูปแบบทอเป็นเมตรส่งขาย รายได้ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น แล้วชาวบ้านไม่รู้เลยว่าต้องขายใคร เพราะส่งโรงงานอย่างเดียว อีกทั้งไม่เคยเห็นเสื้อผ้าที่ตัดเสร็จแล้วจะออกมาเป็นอย่างไร โดยผ้าที่ขายในชุมชนขายไม่ถึง 200 บาทต่อเมตร แต่ถ้าผ้าแบบนี้มาขายกรุงเทพฯ เมตรละ 500 บาท คนทำผ้าก็น้อยงเรื่อย ๆ เพราะรายได้ไม่มาก และทำยาก จึงเข้าไปช่วยคิดราคาให้ใหม่ ราคาเพิ่มประมาณ 30% Folkcharm จึงเกิดขึ้นมา โดยที่ลูกแก้วเป็นคนกรุงเทพฯโดกำเนิด กระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อเข้าไปในพื้นที่ ให้ความรู้เรื่องดีไซน์ต่าง ๆ ทำงานกับชุมชนสร้างรายได้มากขึ้นให้คนทำและทอผ้า ก็มีการขยายกลุ่มไปที่หมู่บ้านอื่น รวมทั้งหมด 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ ทุกปีที่เราตัดเป็นคอลเลคชั่นใหม่ก็จะส่งไปให้ชาวบ้านเจ้าของผ้าลองใส่ เขาจะตื่นเต้นว่าขายเป็นพันเลยเหรอ เป็นการเสริมพลังให้ชาวบ้านแล้วดึงคนต่างชาติ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีไปเรียนรู้กับชาวบ้าน ซึ่งก็ทำให้ช่วยมีรายได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้ชาวบ้านเห็นว่า การทอผ้าฝ้ายมีคุณค่า ไม่ใช่เพียงการมีรายได้อย่างเดียว Folkcharm ได้เชื่อมโยงกับคนกรุงด้วยว่า ทำไมจะต้องซื้อผ้าฝ้ายทอมือด้วยราคาที่เหมาะสม โดยเราต้องเล่าถึงคุณภาพและเรื่องราว เพื่อให้เห็นคุณค่าการใช้ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของชุมชน คิดถึงแบรนด์ Folkcharm Folkcharm เป็น […]