“จากเศษเหล็กที่ดูเหมือนไม่มีมูลค่า สู่ “เศษวิเศษ” ที่เป็นศิลปะอันทรงคุณค่า” ปิ่น เจ้าของแบรนด์ PiN ธุรกิจผลิตงานศิลปะประดับตกแต่งที่ทำจากโลหะเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม มีแนวคิดในการชุบชีวิตใหม่ให้เศษโลหะอย่างสร้างสรรค์ จากการสร้างสมดุลระหว่างกิจการโรงงานผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของครอบครัว กับความหลงใหลในการทำงานออกแบบของปิ่นเอง จนเกิดเป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้อย่างสูงสุด อีกทั้งมีการแบ่งปันสิ่งดี ๆ สู่สังคม ทั้งในด้านการกระจายรายได้และการยกระดับจิตใจของคนในชุมชน ชื่อ : ศรุตา เกียรติภาคภูมิ (ปิ่น) ธุรกิจ : PiN จังหวัด : กรุงเทพมหานคร ที่มาของการสร้างสรรค์งานศิลปะจากเศษเหล็ก เนื่องจากที่บ้านทำธุรกิจโรงงานผลิตอุปกรณ์จากเหล็ก ทั้งลูกล้อ บานเลื่อน บานสวิง และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ทำให้เกิดเศษเหล็กเหลือใช้ทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในด้านศิลปะ และได้เรียนวิชา Art Environmental ซึ่งต้องทำงานศิลปะที่สื่อถึงมลภาวะรอบตัว จึงได้เลือกปัญหาเสียงจากเครื่องจักรในโรงงานที่ตัวเองเกลียดจนฝังใจมาตั้งแต่เด็ก ถ่ายทอดผ่านชิ้นงานโดยใช้เศษเหล็กจากในโรงงานมาประกอบเป็นบ้านที่มีตุ๊กตา 3 ตัว ซึ่งสื่อถึงตัวเองและพี่น้องกำลังร้องไห้อยู่ในนั้น จนมาถึงวิทยานิพนธ์ก็ได้เลือกทำชิ้นงานที่ถ่ายทอดถึงชีวิตคนงานในโรงงาน ประกอบกับการได้ฟังคำสอนของคุณพ่อที่ว่า หากไม่มีเขาก็ไม่มีเรา และการได้เห็นภาพคนงานที่กำลังทำงานในโรงงานเพื่อเลี้ยงชีวิต ตั้งแต่นั้นมา เสียงของเครื่องจักรที่โรงงานในมุมมองของปิ่นก็ไพเราะขึ้นกว่าเดิม เพราะเสียงเหล่านั้นเปรียบเสมือนลมหายใจของคนงาน ที่คอยหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิตอยู่ได้ จุดเริ่มต้นของการเห็น “คุณค่า” […]
Category Archives: ธุรกิจออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
ชื่อ: นส. แพรวพร สุขัษเฐียร บริษัท: บริษัท ใจบ้านสตูดิโอ จำกัด ประเภทธุรกิจ: บริษัทออกแบบ จังหวัด: เชียงใหม่ Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร A: การดำเนินชีวิต เริ่มต้นง่ายๆด้วยการใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ได้แก่ การวางแผนการใช้ชีวิตในทุกๆวัน การเดินทางไปทำงานด้วยมอเตอร์ไซค์ ถ้าบางวันจำเป็นจริงๆถึงจะใช้รถยนต์ การบริโภคที่ไม่ฟุ่มเฟือย พยายามซื้อของหรือจับจ่ายเท่าที่จำเป็น แบ่งปันให้เพื่อนหรือมิตรสหายตามโอกาสที่ทำได้ พยายามทำรากฐานของวันนี้ให้มั่นคงทั้งในแง่ความมั่นคงทางจิตใจและการวางแผนชีวิต เริ่มต้นจากตัวเอง การดำเนินธุรกิจ ตั้งใจให้เกิดผลตั้งแต่ตัวเราเอง การทำงานให้เต็มที่และคุ้มค่า การตั้งมั่นในการใช้ทรัพยากรที่จะเกิดขึ้นในโครงการ ผลที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม เพื่อให้โครงการที่เกิดขึ้นนั้นมีความมั่นคงและยั่งยืน Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร A: การทำงานของเรานั้น จะเน้นไปในเรื่องของผู้คน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) จึงจะเกิดขึ้นให้สอดคล้องตามหลักแนวคิดนี้ ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร พลังงานต่างๆให้คุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย […]
“แก้ปัญหาสังคมด้วยความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการทำธุรกิจ เพื่อสร้างการตระหนักรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม” สื่อที่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ด้วยการนำเสนอและรับผลิตเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ ที่มีส่วนช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้นได้ CreativeTONE จึงต้องการเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเนื้อหา ด้วยมุมมองและทัศนคติที่ดี บวกกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบข้อมูลที่เข้าถึงยากให้เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดีขึ้น โดยเนื้อหาที่นำเสนอนั้น ส่วนหนึ่งได้มีการตีพิมพ์เป็นเล่มเพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสได้นำไปจำหน่าย เป็นการดึงศักยภาพ สร้างอาชีพที่สุจริต และทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีคุณค่าในสังคม ชื่อ : กิตติพจน์ อรรถวิเชียร (โทน) ธุรกิจ : CreativeTONE Content & Design for Social Change จังหวัด : กรุงเทพมหานคร เนื้อหาและการออกแบบมุมมองใหม่ในการเปลี่ยนแปลงสังคมและสิ่งแวดล้อม ในยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์ต่างมุ่งเสนอเนื้อหาไลฟ์สไตล์ ในขณะที่ประเด็นเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมถูกมองข้าม CreativeTONE ได้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว และมีความคิดในการยกระดับให้เรื่องราวเหล่านั้นเป็นจุดสนใจ เพื่อช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้น ในมุมมองการนำเสนอที่แตกต่างและน่าติดตาม เนื้อหาที่ผ่านความคิดสร้างสรรค์ที่ดีจะช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้น การนำเสนอในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยมุมมองและทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งที่โทน ตั้งใจให้ CreativeTONE ยึดถือเป็นหัวใจในทุก ๆ การทำเนื้อหา บวกกับความคิดสร้างสรรค์ โดยอาศัยหลักการออกแบบและแสดงข้อมูลที่เข้าถึงยากให้เข้าใจได้ง่าย ในการแปลงข้อมูลจำนวนมากเป็นภาพกราฟิกที่น่าสนใจและมีเนื้อหาที่ชวนติดตาม ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างการตระหนักรู้ และนำไปสู่แรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น สร้างความเท่าเทียมให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม […]
“งานออกแบบโครงสร้างกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ในยุคที่ธุรกิจเกี่ยวกับกระดาษมีการแข่งขันสูงและต่อสู้กันด้วยราคา ต่ายเลือกที่จะสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับ Bangkokpack ด้วยการออกแบบโครงสร้างพิเศษ เพื่อเนรมิตจากกระดาษธรรมดา สู่งานกระดาษ 3 มิติที่มีความน่าสนใจ โดยคำนึงถึงทั้งในด้านการผลิต การวางแผนให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า การขนส่งอย่างประหยัดพื้นที่ การออกแบบที่สวยงามและคำนึงถึงการใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดและนำไปใช้ใหม่อย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชื่อ : ภัทรา คุณวัฒน์ (ต่าย) ธุรกิจ : Bangkokpack จังหวัด : กรุงเทพมหานคร จากกระดาษแผ่นเรียบสู่งานโครงสร้าง 3 มิติ ในธุรกิจกระดาษที่มีการต่อสู้กันด้วยราคาในทุกวันนี้ Bangkokpack เลือกที่จะแตกต่างจากอุตสาหกรรมการพิมพ์บรรจุภัณฑ์กระดาษทั่วไป ด้วยประสบการณ์ยาวนานในวงการการพิมพ์และการสร้างสรรค์งานกระดาษ ต่ายจึงมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบโครงสร้างงานกระดาษ 3 มิติ ออกมาเป็นการผลิตสื่อและบรรจุภัณฑ์กระดาษในการจัดแสดงสินค้าในนิทรรศการมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าอีกด้วย เบื้องหลังโครงสร้างที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ ในการออกแบบงานทุกชิ้นจะมีการวางแผนการผลิตให้ใช้กระดาษอย่างมีประสิทธิภาพ มีการควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ โดยเน้นโครงสร้างที่เมื่อพับแล้วจะใช้พื้นที่น้อยที่สุด เพื่อประหยัดพื้นที่ในการขนส่ง ในขณะที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี และยังมีการออกแบบที่สวยงาม ตอบสนองการใช้งาน ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าผ่านความคิดสร้างสรรค์ในทุกขั้นตอนของการออกแบบ งานกระดาษที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ในการผลิตได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ และการกำจัดทิ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมลภาวะให้น้อยที่สุด และเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ […]
ในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงสถาปัตยกรรมสีเขียวหรือการออกแบบอาคารบ้านเรือนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราอาจจะพอนึกภาพได้ แต่ในวันที่ แก้ว-คำรน สุทธิ ก่อตั้งบริษัท Eco Architect นั้น เเนวคิดของสถาปัตยกรรมรักษ์โลกยังไม่ได้เป็นที่นิยมในเมืองไทยเท่าไหร่นัก “เราอยากทำงานในสิ่งที่เรารัก ไม่อยากทำงานตามกระแสสังคม ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยว่าในไทยมีบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับ Green Architecture บ้างไหม เลยตัดสินใจเปิดบริษัทของตัวเอง เริ่มจากที่เราค่อยๆ ทำทีละนิด ตอนแรกก็ทำไปคนเดียว พอมีงานมากขึ้นเราก็เริ่มหาน้องๆ มาช่วยทำงาน” จากการเติบโตทีละเล็กทีละน้อยจากผลงานที่ได้รับการชื่นชมและบอกต่อกันไปปากต่อปาก ทำให้ Eco Architect มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น บริษัทขยายมากขึ้น ภาระหน้าที่มากขึ้น จนกระทั่งมัน ‘มากจนเกินไป’ “เรารู้จักคำว่าพอเพียงอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันสามารถนำมาใช้กับเรื่องอื่นนอกจากเกษตรกรรมได้” สถาปนิกหนุ่มยอมรับว่าเขามีความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแค่ในแง่มุมนั้น จนกระทั่งสิ่งนี้แก้ไขความมากเกินและล้นไปในธุรกิจของเขาได้จริง จากที่สงสัยและตั้งคำถาม แนวคิดแบบพอแล้วดีทำให้แก้วมีเวลาทบทวนตัวเอง กล้าแสดงตัวตนของเขาให้ผู้คนรอบข้างได้เข้าใจ และเปลี่ยนวิธีที่สามารถส่งต่อคุณค่าของตัวเองออกไป ได้อย่างเป็นรูปธรรม ความสุข ความสบาย จากบ้านในฝัน “การที่เราจะมีบ้านสักหลังมันยากมากสำหรับสังคมไทย เขาต้องทำงานอย่างหนัก ต้องเก็บเงินอย่างหนักเพื่อที่จะมาสร้างบ้านซักหลัง” แก้วเล่าย้อนกลับไปถึงช่วงที่เขาเป็นเด็กหนุ่มสถาปนิกจบใหม่ ตอนที่มีโอกาสได้ออกแบบบ้านหลังแรกๆ ให้ลูกค้า แก้วเลือกออกแบบให้เป็นบ้านกล่องๆ ตามความชอบของตัวเอง โดยไม่มีความรู้เลยว่าบ้านลักษณะนี้อาจจะไม่เหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเรา “หลังจากสร้างเสร็จเราไปเยี่ยมเขา […]
“อยากให้แฟชั่นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม” คงจะเป็นเรื่องที่ดี หากผู้พิการทางสายตาสามารถสนุกกับการแต่งตัวได้ในทุกวัน ด้วยเหตุนี้เอง จุ้ยจึงได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็นสามารถเลือกสีเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคนิคการสกรีนตัวอักษรเบรลล์แบบพิเศษของ .ONCE ในการช่วยสร้างความสุขและสีสันให้กับชีวิตของผู้พิการทางสายตา โดยผลิตภัณฑ์ของ .ONCE ที่จำหน่ายไปในแต่ละชิ้น จะนำรายได้บางส่วนไปสร้างโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพผู้พิการทางสายตาของ .ONCE อย่างยั่งยืน เพราะความสุขของคุณจุ้ยคือการแบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ชื่อ : จิระ ชนะบริบูรณ์ชัย (จุ้ย) ธุรกิจ : .ONCE จังหวัด : กรุงเทพมหานคร นวัตกรรมทางแฟชั่นเพื่อการแบ่งปัน การเติบโตมาในครอบครัวที่คุณลุงและคุณป้าเป็นผู้พิการทางสายตา เป็นแรงผลักดันให้จุ้ยสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาดีขึ้น ผ่านทางแฟชั่นซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสนใจและถนัด ผนวกกับความรู้ด้านธุรกิจที่ได้เรียนมา จนเกิดเป็นแนวความคิดของ .ONCE ธุรกิจแฟชั่นเพื่อการแบ่งปันกับผู้พิการทางสายตา โดยการนำอักษรเบรลล์มาผสมผสานกับการออกแบบเสื้อผ้า ด้วยเทคนิคการสกรีนที่ทำให้อักษรเบรลล์นูนขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกสีและไซส์เสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง เป็นการสร้างความสุขและสีสันให้กับชีวิตของผู้พิการทางสายตา “ให้ด้วยกัน” ปันน้ำใจสู่ผู้พิการทางสายตา โครงการแรกที่ .ONCE ทำเพื่อผู้พิการทางสายตา ในทุกการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของ .ONCE เท่ากับการได้ให้ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นแก่ผู้พิการทางสายตา ผ่านโครงการ “ให้ด้วยกัน” ซึ่งมีการจัดกิจกรรมขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแบ่งปันความสุขและสร้างรอยยิ้มให้กับผู้พิการทางสายตา เพราะความสุขที่มากกว่าเงินที่ได้ คือการได้เห็นรอยยิ้มของผู้พิการทางสายตา และการสร้างเรื่องราวดี ๆ […]
“แก่นของแฟชั่นคือการสะท้อนตัวตนที่มีคุณค่า ไม่ใช่การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง” ธุรกิจเครื่องหนังของครอบครัวที่สืบทอดมากว่า 60 ปี สู่แบรนด์แฟชั่นคุณภาพที่มีชื่อเสียงในระดับสากล คุณเก๋มีแนวคิดในการดึงจุดเด่นจากทักษะงานฝีมืออันประณีต ผสมผสานกับงานออกแบบที่ทันสมัย และเป็นเอกลักษณ์ พร้อมจะแบ่งปันชิ้นงานที่เต็มไปด้วยคุณค่า และความสร้างสรรค์ให้กับสังคม เพราะสำหรับคุณเก๋ เมื่อรู้จักคำว่า “พอ” ก็พบว่าความสุขเกิดขึ้นได้จากการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ชื่อ : บุณยนุช วิทยสัมฤทธิ์ (เก๋) ธุรกิจ : 31 THANWA จังหวัด : กรุงเทพมหานคร จากธุรกิจรองเท้าของครอบครัว สู่ธุรกิจกระเป๋า 31 THANWA เริ่มต้นจากธุรกิจรองเท้าหนังของครอบครัวที่มีประวัติความเป็นมากว่า 60 ปี เก๋เลือกที่จะสานต่อภูมิปัญญาช่างฝีมือเครื่องหนัง โดยปรับเข้ากับความชอบและความถนัดของตนเองในด้านงานกระเป๋า ซึ่งได้มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน อีกทั้งมีการผสมผสานระหว่างเทคนิคการทำรองเท้ามาประยุกต์เข้ากับการทำกระเป๋า จนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ 31 THANWA ที่มีความพิถีพิถันและความแข็งแรงคงทนกว่ากระเป๋าทั่ว ๆ ไป 31 THANWA จุดเริ่มต้นของสิ่งใหม่ ๆ แค่ใบเดียวก็เพียงพอ แบรนด์ 31 THANWA มีที่มาจากวันที่ 31 ธันวาคม […]