
ชื่อ: นส. แพรวพร สุขัษเฐียร
บริษัท: บริษัท ใจบ้านสตูดิโอ จำกัด
ประเภทธุรกิจ: บริษัทออกแบบ
จังหวัด: เชียงใหม่
Q: คุณได้น้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) มาใช้ใน การดำเนินชีวิต/ดำเนินธุรกิจอย่างไร
A: การดำเนินชีวิต เริ่มต้นง่ายๆด้วยการใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ได้แก่ การวางแผนการใช้ชีวิตในทุกๆวัน การเดินทางไปทำงานด้วยมอเตอร์ไซค์ ถ้าบางวันจำเป็นจริงๆถึงจะใช้รถยนต์ การบริโภคที่ไม่ฟุ่มเฟือย พยายามซื้อของหรือจับจ่ายเท่าที่จำเป็น แบ่งปันให้เพื่อนหรือมิตรสหายตามโอกาสที่ทำได้ พยายามทำรากฐานของวันนี้ให้มั่นคงทั้งในแง่ความมั่นคงทางจิตใจและการวางแผนชีวิต เริ่มต้นจากตัวเอง
การดำเนินธุรกิจ ตั้งใจให้เกิดผลตั้งแต่ตัวเราเอง การทำงานให้เต็มที่และคุ้มค่า การตั้งมั่นในการใช้ทรัพยากรที่จะเกิดขึ้นในโครงการ ผลที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม เพื่อให้โครงการที่เกิดขึ้นนั้นมีความมั่นคงและยั่งยืน
Q: คุณได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาปรับใช้เพื่อพัฒนา/ต่อยอด ธุรกิจที่ทำอยู่อย่างไร
A: การทำงานของเรานั้น จะเน้นไปในเรื่องของผู้คน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) จึงจะเกิดขึ้นให้สอดคล้องตามหลักแนวคิดนี้ ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร พลังงานต่างๆให้คุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดผลที่ดีกับคน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม


Q: ธุรกิจของคุณ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวก/มีส่วนช่วยสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนที่คุณ อยู่อย่างไร
A: เนื่องงานที่เราทำมี 4 กลุ่มงานหลัก ได้แก่
1.งานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น งานออกแบบผังตำบลเพื่อการเกษตรกรรม เพื่อร่วมวางแนวคิดการใช้พื้นที่ในการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชุมชนให้ยั่งยืน
2.งานอนุรักษ์ในเมืองเชียงใหม่ มีส่วนช่วยหนุนเสริม ต้นทุนทั้งคนและวัฒนธรรมในเชียงใหม่ เพื่อให้สิ่งดีงามเหล่านั้นยังคงอยู่
3.งานออกแบบอาคารที่มองภาพองค์รวม วัฒนธรรมการอยู่แบบยั่งยืน เพื่อให้แต่ละโครงการสามารถสร้างความยั่งยืนได้ด้วยตนเอง จากขั้นพื้นฐานและค่อยๆขยายไปส่วนอื่นๆในชุมชน
4.งานสื่อสาร ประมวลองค์ความรู้ทั้งเชิงประวิติศาสตร์ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม หรือ ในประเด็นอื่นๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารสู่สาธารณะได้อย่างเข้าใจ

จาก 100 คะแนนเต็ม คุณให้สัดส่วนคะแนนธุรกิจ/แบรนด์ของคุณ เท่าใด? | |
Sufficiency Economy (เศรษฐกิจพอเพียง) | Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์) |
80 | 80 |