คุณณัฐนิช กิตยานุรักษ์

คิด แล้วลงมือทำ

หลังจากยุติการเป็นพนักงานประจำก็กลับมาอยู่บ้านเพราะพ่อแม่มีอายุมากขึ้นแล้ว เห็นที่นาของพ่อแม่ 4 ไร่ ก็คิดแบบคนโลกสวย อยากทำเกษตรกรรมแต่คงไม่ใช่การปลูกข้าวเพราะราคาตก มองหาพืชอื่น ๆซึ่งก็รู้ตัวว่าเป็นชอบกินเมลล่อน ซึ่งราคาแพง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการปลูกเมลล่อนจึงเริ่มต้นจากความชอบของนาเดียเองและหาประสบการณ์เรื่องการปลูกเมลล่อนด้วยการไปเป็นเกษตรกรสวนเมลล่อนอื่น ๆ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเป็นการลองผิดลองถูกในเรื่องเมลล่อน

“การปลูกเมลล่อน เป็นพืชเชิงเดี่ยวมีข้อเสียมากมายในการปลูกพืชประเภทนี้ซ้ำ ๆ เกิดโรค และผลผลิตแย่ลงเกือบจะขายที่ทิ้งไปแล้ว แต่มาเจอ โครงการ พอ แล้ว ดีก่อน ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราคิดว่ารู้ดีมากแล้ว ไม่ใช่ เราไม่มีการประมาณตนเราไม่รู้เลยว่าพืชเชิงเดี่ยวมีความเสียหายอย่างไรจากการเรียนแล้วทำให้รู้ว่าเราต้องมีพืชหลายอย่างตามที่ตลาดต้องการกลายเป็น Northern Fruit Hub เพิ่ม ลำใย กระท้อนผลไม้เมืองเหนือครบวงจรและปรับเปลี่ยนเป็นผลไม้อินทรีย์ ตามมาตรฐาน”

กระบวนการมีส่วนร่วม

เมื่อเปลี่ยนแนวทางเป็นผลไม้เมืองเหนือครบวงจรนาเดียไม่สามารถเดินไปคนเดียวได้ จะต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อน ๆ หลายคน ที่มีสินค้าและจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่มีความมุ่งมั่นเดียวกันก็จะสามารถมารวมกลุ่ม เพื่อตัดระบบคนกลางออกไปและขายในแบรนด์กลางของเราได้ การสื่อสารของเดียในกลุ่มชุมชน ในกลุ่ม Young Smart Famer เดียร์สามารถนำความเข้าใจไปเผยแพร่ให้ง่ายขึ้นมีตัวอย่างธุรกิจของเดียว่าเมื่อเราทำแบบนี้จะเป็นอย่างไรน่าจะช่วยให้คนอื่น ๆ เข้าใจ เข้าถึงได้มากขึ้น

ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมตรงนี้มีมากขึ้น หลังจากอยู่ในโครงการ พอ แล้ว ดี…จากแรกสุดไม่รู้จัก พอ แล้ว ดี ไม่รู้จัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขศาสตร์พระราชารู้ว่าสอนให้พอเพียง แล้วอย่างไร? ไม่ได้ลงลึกแต่เมื่อเห็นพี่หนุ่ย รู้สึกชอบบุคลิก และแนวคิดเมื่อได้เข้ามาก็คิดว่าคงนั่งฟังอบรมธรรมดา แต่ไม่ใช่โครงการสามารถพลิกชีวิตนาเดีย เพราะคิดเสมอว่าการทำเกษตรกรรมพื้นที่เล็ก ๆ 4 ไร่จะไปเปลี่ยนอะไรได้สังคมจะได้อะไรจากเรา เราเป็นเพียงวิสาหกิจชุมชนช่วยจ้างงานแม่บ้านชุมชนได้ทำงานเสริมรายได้หลักของเขา ช่วยสามีเขา

“แต่เมื่อได้เรียนรู้ รู้ว่าเรามีเพื่อนหลากหลาย มีคอนเนคชั่นสามารถนำชุมชนของตัวเองที่รู้จักนาเดียว่าปลูกเมลล่อนประสบความสำเร็จอย่างไร แบรนด์โมเดลคืออะไรเรียนแล้วนาเดียอยากจะสื่อสารให้คนรู้ว่า ศาสตร์พระราชาเข้าถึงได้ง่ายอยู่ในชีวิตประจำวัน และดีต่อธุรกิจเราอย่างไร ตอนนี้เรามีจุดหมายที่จะเดินไปถึงตรงนั้น”

การสื่อสารของเดียในกลุ่มชุมชน ในกลุ่ม Young Smart Famer เดียร์สามารถนำความเข้าใจไปเผยแพร่ให้ง่ายขึ้นมีตัวอย่างธุรกิจของเดียว่าเมื่อเราทำแบบนี้จะเป็นอย่างไรน่าจะช่วยให้คนอื่น ๆ เข้าใจ เข้าถึงได้มากขึ้น

คิดถึงแบรนด์ ไร่ชรินทร์พรรณ

การที่จบด้านการออกแบบ ทำให้นาเดียนำความรู้ด้านนี้มาใส่ในเมลล่อนใช้การสื่อสารผ่านโซเชียลมีดีย ซึ่งชื่อแบรนด์เป็นชื่อของพ่อและแม่เมื่อแปลรวมกันแปลว่า พืชพันธุ์อันเป็นที่รัก ซึ่งจะหมายถึง เมลล่อนสายพันธุ์ฝรั่งเศส ที่ไร่เราเลือกมีสารต้านนอนุมูลอิสสระมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ 8 เท่าและไร่เราใช้น้ำจากอุทยานแห่งชาติดอยออบขาน อำเภอหางดง เป็นพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์คัดเลือกต้นกล้า กระบวนการปลูก เมื่อต้นกล้าแข็งแรงจะทนต่อโรคเราไม่ต้องใช้สารเคมีปัจจุบันเราใช้สารชีวพันธุ์ที่ไปเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

“โครงการ พอ แล้ว ดี ช่วยตอกย้ำ Brand Value ให้กับ เมลล่อน ไร่ชรินทร์พรรณ”

คำสอนในหลวง ร.9 ที่พึงระลึกเสมอ

เดียนำมาใช้ตลอดคือ เรื่องความดี ทำได้ยาก เห็นผลช้า แต่เราต้องทำ เช่น เรื่องการทำเกษตรกรรม ทุกคนต้องกินต้องใช้ซึ่งหากผู้ปลิตไม่ใส่ใจในคุณภาพทำอย่างไรก็ได้ให้ผลผลิตออกมาจำนวนมาก ทั้งในและนอกฤดูกาลตามใจตลาด มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และจะมีผลต่อห่วงโซ่อาหารเพราะฉะนั้นเราต้องคิดดี ทำดีอย่าให้เงินมาเป็นตัวตั้งให้เรามีโอกาสทำไม่ดี

ในฐานะพอแล้วดีรุ่น4

ในฐานะที่เดียเป็นเกษตรต้นน้ำ และเป็นเกษตรกรพอ แล้ว ดีจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ผลิต และต่อผู้บริโภค ซึ่งโครงการ พอแล้ว ดี สอนให้รู้จักประมาณตน ทำได้ไม่เกินตัวและมีคุณภาพในการดำเนินชีวิต พร้อมที่จะส่งมอบสู่คนอื่นๆ ต่อไป