คิด แล้วลงมือทำ
หลังจากตัดสินใจนับ 1 ใหม่ในชีวิตเมื่อปี 2548 ในวัย 30 ปีกว่าๆพร้อมกับการกลับบ้านเกิดเชียงใหม่ ก็เป็นเวลาที่เก่งค้นหา“ความสุขที่ยาวนานของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน” แล้วพบ “ตัวตน”ซึ่งเสมือนคุณค่าของตัวเอง มีความสุขในการทำงานที่ตัวเองชอบได้อยู่กับครอบครัวและการทำงานกับชุมชนใช้ความสุขสบายใจของทุกคนเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้ YANOเดินหน้ามาถึงวันนี้เป็นปีที่ 14

กระบวนการมีส่วนร่วม
การทำงานร่วมกับชาวบ้าน จากการร่วมงานกับชาวบ้านเพียง 10 คนในฐานะที่เก่งเป็น OTOP มาก่อน และส่งงานประกวดทุกเวทีสามารถกู้ความเชื่อมั่นได้มากทีเดียวอีกทั้งเป็นการเรียนรู้ในการทำงานกับชาวบ้านนอกจากนี้ความโชคดีของเก่งคือคนที่ร่วมทำงานด้วยเป็นเสมือนญาติพี่น้องในหมู่บ้านดังนั้นเก่งไม่ได้ดูแลในฐานะนายจ้างลูกจ้างเพราะคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านเก่งให้ความเคารพในฐานะที่เป็นพี่น้องปู่ย่าตายายหมดเลย จากเริ่มต้น 10 คน ปัจจุบันกระจายไปยัง 4หมู่บ้านมีชาวบ้านกว่า 30 คนร่วมทำงานและเข้าสู่เรือนจำให้นักโทษได้ทำงาน ปัจจุบันผู้ร่วมทำงานกับ YANOมีมากถึง 300-400 คน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี
“จากการทำงานร่วมกันเช่นนี้ พร้อมกระจายงานได้มากขึ้น เก่งพบว่าทุกคนมองหาคุณค่าตัวเอง เช่นเดียวกับเก่งที่มองหาคุณค่าตัวเองจากแบรนด์ YANO เช่นกัน”

คิดถึงแบรนด์ Yano
YANO Handicraft มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมด 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ของตกแต่งบ้านเคหะสิ่งทอ และของที่ระลึกในชุมชนที่เก่งอยู่ และรอบ ๆ พื้นที่ชุมชน

คำสอนในหลวง ร.9 ที่พึงระลึกเสมอ
ให้ยอมรับเรื่องร้ายที่เราเป็น เพราะเมื่อยอมรับแล้วเราจะสามารถหาหนทางแก้ไขได้ นอกจากนี้มีเรื่องที่ทรงสอนว่าการเลี่ยงปัญหาไม่ใช่หนทางแก้ไขที่ดีเลย ซึ่งหากก่อนปี 2548 เก่งถอดใจไม่ยอมรับเรื่องร้าย เลี่ยงปัญหา คงจะไม่มีเก่งในวันนี้ไม่มีโอกาสได้แบ่งปันให้คนอื่น ๆ มีความสุขแบบที่เก่งมีตอนนี้ได้ด้วย โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้เครื่องมือไว้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและธุรกิจ

ในฐานะพอแล้วดีรุ่น 4
ก่อนที่เก่งจะมาร่วมโครงการ พอแล้วดี เขาอบรมทุกเวทีที่เปิดเพื่อสร้างสรรค์แบรนด์ YANO จนกระทั่งเริ่มนำตัวเองไปเรียนปรัชญาเศรษฐกิพอเพียง 2-3 ปีที่แล้วทำ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขและเดินตามสิ่งที่คิดไว้เอง โดยไม่มีเชิงธุรกิจไม่มีการใช้การแบรนด์ดิ้งแบบพอแล้วดีจนกระทั่งได้เข้าโครงการพอแล้วดี ตามคำแนะนำคนที่เคยทำแบรนด์YANO เมื่อตอนเริ่มต้น
“เมื่อเข้าโครงการ พบว่าโครงการเข้าใจในสิ่งที่เราอยากเป็นเรานำสิ่งที่พอแล้วดีสอนมาศึกษา พบว่าการทำงานของเก่งกับทุกคนในชุมชนที่ร่วมกันทำ YANO คือคนที่มองว่าเป็นเครื่องมือสร้างคุณค่าให้ตัวเองเหมือนกัน ได้การจัดการเรื่องแบรนด์อย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
พอแล้วดี สำหรับเก่ง เป็นความสุข ความสงบอย่างยั่งยืน